ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองอุตรดิตถ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
น้องท่าเหนือ (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 47:
การบรรทุกสินค้าเพื่อทำการค้าขายระหว่างท่าอิฐกับเส้นทางดังกล่าวนี้ ใช้วัวต่าง ช้างต่าง ม้าต่าง และลาต่าง การขนสินค้าของพวกค้าเรือมันมาก่อนฤดูน้ำ กับปลายฤดูน้ำแล้งเรือใหญ่เล่นไม่สะดวก ส่วนพวกพ่อค้าทางเหนือและทางตะวันออกใช้เดินทางปลายฤดูฝน จนถึงหน้าแล้ง เพราะหนทางภาคเหนือเป็นป่าเขา ลำห้วยมาก ดังนั้นในฤดูหนาวและฤดูแล้งจึงเหมาะแก่การเดินทางของพ่อค้า และลำน้ำน่านเหนือท่าอิฐขึ้นไปมีเกาะแก่งมากไม่สะดวกในการเดินทางเรือ สินค้าที่พ่อค้าทางบกรับซื้อจากพ่อค้าเรือบริเวณท่าอิฐ เช่น เกลือ ปลาทูเค็ม เชื้อเพลิง และเครื่องใช้อื่นๆ สินค้าที่พ่อค้าทางเรือรับซื้อจากพ่อค้าทางบก เช่น หนังสัตว์ งาช้าง และไหม การค้าขายสมัยทุ่งยั้งปกครองท่าอิฐนี้ มีความเจริญไม่มากนัก ส่วนมากใช้เป็นของแลกเปลี่ยน และบริเวณหาดท่าอิฐยังเป็นป่ามาก คงเป็นแต่ถือเป็นท่าเรือค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเท่านั้น และสมัยนั้นสินค้ามาจากต่างประเทศมีน้อย สินค้ามาจากต่างประเทศก็มาทางเรือสำเภา เรือใบ ดังนั้นหาดท่าอิฐ จึงเพียงแต่ปลูกเป็นเพิงพอขายกันเท่านั้น ในด้านการค้าขาย บริเวณหาดท่าอิฐในสมัยสุโขทัยมีลักษณะดังนี้
 
* สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนบาลเมือง(พ.ศ. 1800-1820) การค้าขายท่าอิฐดำเนินไปอย่างเรียบง่าย
* สมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1820-1860) การค้าที่ท่าอิฐเจริญรุ่งเรือง เพราะพ่อขุนรามคำแหงทรงทำนุบำรุงการค้า อุตสาหกรรมตลอดจนปกครองบ้านเมือง ความสงบสุข และการขยายอาณาเขต
* สมัยพระเจ้าเลอไทย (พ.ศ. 1861-1897) ปกครองสุโขทัย การค้าที่ท่าอิฐทรุดลง เพราะพระเจ้าเลอไทยอ่อนแอต่อการปกครอง ไม่บำรุงการค้าขาย อุสาหกรรมกสิกรรม ความสงบเรียบร้อยภายในอาณาจักร
* สมัยพระเจ้าลิไท (พ.ศ. 1897-1919) การค้าที่ท่าอิฐดำเนินไปเหมือนสมัยพระยาเลอไทย
* สมัยพระเจ้าไสยเลอไทย(พ.ศ. 1961) การค้าขายที่ท่าอิฐไม่เฟื่องฟูเหมือนแต่ก่อน และสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา
 
จึงเห็นได้ว่าการค้าขายที่ท่าอิฐในสมัยนี้ เป็นการค้าชนิดแลกเปลี่ยนกันระหว่างพ่อค้าทางเหนือกับพวกพ่อค้าหาสินค้า ร้านค้าสมัยนั้นก็เป็นเพิง กันแดดกันฝน ตอนเช้าเอาของจากเรือมาวางขาย ตอนเย็นก็เก็บกลับใส่เรือ
บรรทัด 57:
สมัยอยุธยา เมื่ออยุธยารวมอำนาจสุโขทัยไว้ได้แล้ว เมืองทุ่งยั้งจึงหมดความสำคัญลง ส่วนเมืองพิชัยกลับกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น ท่าอิฐจึงต้องเป็นแขวงไปขึ้นกับเมืองพิชัย การค้าของท่าอิฐในสมัยอยุธยาเรืองอำนาจมีดังนี้
 
* สมัยพระเจ้าอู่ทอง ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-1912) การค้าที่หาดท่าอิฐดำเนินไปอย่างปกติเรียบง่าย
* สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 (พ.ศ. 2034-2072) ไทยได้เริ่มติดต่อค้าขายกับพวกฝรั่งเป็นครั้งแรก นับเป็นประวัติศาสตร์ของไทย การค้าที่หาดท่าอิฐยังคงดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น พวกฝรั่งยังมาไม่ถึงท่าอิฐ
* สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2148) พระองค์ท่านได้ทรงปราบปรามศัตรูทั้งภายนอกภายในประเทศจนสงบราบคาบ การค้าที่ท่าอิฐเจริญขึ้น เนื่องจากพวกพ่อค้าปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย
* สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) เป็นสมัยที่ชาวต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส จีน เข้ามาค้าขายมาก การค้าที่ท่าอิฐเจริญขึ้นมาก มีพ่อค้าจากภาคเหนือลงมาค้าขายที่ท่าอิฐมากขึ้น และพ่อค้าทางใต้หาเรือบรรทุกขึ้นไปขายที่ท่าอิฐมากขึ้น และมีชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายด้วย
* สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ. 2301-2310) ไทยเสียกรุงครั้งที่สองแก่พม่า การค้าที่ท่าอิฐทรุดลงอีกครั้ง
 
ดังนั้นการค้าในสมัยอยุธยา จึงเป็นไปแบบลุ่มๆดอนๆ ร้านค้าท่าอิฐเป็นแต่เพียงปลูกสร้างโรงไม้ไผ่ขนสินค้าขึ้นจากเรือทำการค้าขายเหมือนเดิม สมัยพระเจ้าอู่ทอง ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-1912) การค้าที่หาดท่าอิฐดำเนินไปอย่างปกติเรียบง่าย
 
สมัยรัตนโกสินทร์