ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุลำปางหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37:
ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน ([[บ้านลำปางหลวง]]) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือ[[ดอยม่อนน้อย]] มี[[ชาวลัวะ]]คนหนึ่งชื่อ '''ลัวะอ้ายกอน''' เกิดความเลื่อมใส ได้นำ[[น้ำผึ้ง]]บรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และ[[มะตูม]]มาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า '''ลัมพกัปปะนคร''' แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็น[[พระเจดีย์]]สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มี[[กษัตริย์]][[เจ้าผู้ครองนครลำปาง]]อีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
 
ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี [[พ.ศ. 2275]] นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้น[[พม่า]]เรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครอง[[อาณาจักรล้านนา]]ไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครอง[[นครเชียงใหม่]] ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า [[ท้าวมหายศ]] [[เจ้าผู้ครองนครลำพูน]]ได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น [[หนานทิพย์ช้าง]] ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น [[พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม]] เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล [[ณ ลำปาง]] [[เชื้อเจ็ดตน]] [[ณ เชียงใหม่]] [[ณ ลำพูน]] [[ณ น่าน]]
 
== ศิลปกรรม ==