เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TTBot (คุย | ส่วนร่วม)
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 231:
 
ขอบคุณครับ
Wanmai Niyom {{ไม่ได้ลงชื่อ|WanmaiNiyom|10:03, 16 มิถุนายน 2558 (ICT)}}
Wanmai Niyom
 
== ประวัติ ==
พลเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2438 ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายพลอย และนางพุ่ม ชาตินักรบ (แต่แรกยังไม่มีนามสกุล) และสมรสกับนางจันทร์ เริ่มเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนนายสิบตั้งแต่ร.ศ.129 หรือพ.ศ.2453 ศึกษาวิชานักเรียนนายดาบในปีถัดมา จนสำเร็จการศึกษารับราชการเป็นนายดาบตั้งแต่ร.ศ.131 หรือปี 2455 จนปี 2457 ได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียนนายร้อยทหารบก แล้วสำเร็จการศึกษารับราชการทหารเป็นนายร้อยตรีเหล่าทหารราบในปีต่อมา (จึงอาจถือเป็นประวัติศาสต์ของกองทัพบกไทยที่มีนายพลผู้เริ่มต้นรับราชการจากการเป็นนักเรียนนายดาบ)</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, ไม่ระบุเลขหน้า]
 
ในปี 2464 เมื่อมียศนายร้อยโทได้เข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นเดียวกับนายร้อยโท แปลก ขิตตะสังคะ (ภายหลังคือ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]]) และนายร้อยโท พาน ชาลีจันทร์ (ภายหลังคือพันเอก หลวงชาญสงคราม-อดีตผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475) เป็นต้น ได้ศึกษาวิชาเสนาธิการจากอาจารย์สำคัญเช่นนายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) นายทหารฝ่ายเสนาธิการระดับมันสมองผู้หนึ่งของกองทัพบกในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นักเรียนนายทหารชุดนี้เรียนอยู่สองปีจึงสำเร็จการศึกษา</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 45]
 
เมื่อสำเร็จการศึกษาจึงได้รับราชการเป็นนายทหารเสนาธิการของกองทัพน้อยทหารบกที่ 2 (พิษณุโลก-อยุธยา) ซึ่งมีพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ (ภายหลังเป็นพลเอกและรับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์) เป็นแม่ทัพ ซึ่งพระองค์ได้ประทานพระเมตตาและพระกรุณาแก่นายร้อยโท ศุข ชาตินักรบเสมอมา และในระหว่างการรับราชการเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการแห่งกองทัพน้อยทหารบกที่ 2 นี้ นายร้อยโทศุขได้แสดงสมรรถภาพอย่างดีเยี่ยมในการอำนวยการซ้อมรบระดับกองทัพน้อยที่จังหวัดสุพรรณบุรี</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 7]
 
ต่อมาในปี 2470 เมื่อดำรงยศนายร้อยเอกได้ย้ายมารับราชการเป็นครูวิชาทหาร กรมยุทธศึกษาทหารบก ขณะนั้นนายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทหาร หน้าที่ของครูวิชาทหารคือเป็นครูผู้สอนนักเรียนนายร้อย ซึ่งในการรับตำแหน่งใหม่นี้ปรากฏว่านายร้อยเอก ศุข ชาตินักรบได้แสดงความสามารถในการฝึกการสอนจนไม่ต้องรับการฝึกฝนวิชาครูทหารให้เต็มตามขั้นตอน สามารถเข้าสอนนักเรียนนายร้อยได้ทันที</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๙, หน้า ๘]
 
ร้อยเอก ศุข ชาตินักรบ ได้รับราชการในกรมยุทธศึกษาทหารบกตั้งแต่ปี 2470 - 2477 นับเป็นเวลาถึง 7 ปี จนได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นนายพันโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) และได้รับเลื่อนตำแหน่งตั้งแต่ครูวิชาทหาร อาจารย์วิชาทหาร จนสุดท้ายได้เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทหาร ดังนั้นการที่นายร้อยเอก ศุข ชาตินักรบได้รับราชการในกรมยุทธศึกษาทหารบกมาเป็นเวลานานเช่นนี้ย่อมทำให้นายร้อยเอกศุข มีความรู้ในทางทหารดีเยี่ยม และมีนายทหารลูกศิษย์โดยทั่วไปในกองทัพบกและกองทัพไทย
 
ในปี 2472 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงชาตินักรบ ศักดินา 800 ปีรุ่งขึ้นได้รับเลื่อนจากครูเป็นอาจารย์วิชาทหาร และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันตรี
 
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นายพันตรี หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) อาจารย์วิชาทหารได้เข้ารายงานตัวต่อ[[นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] และ[[นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)]] ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมอันเป็นที่ตั้งกองบัญชาการคณะราษฎร แม้นายพันตรี หลวงชาตินักรบจะไม่ได้เป็นสมาชิก[[คณะราษฎร]] แต่ก็ได้รับแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารให้เป็นหัวหน้ากองบัญชาการคณะราษฎรในวันนั้น จนเหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติจึงรับราชการตามหน้าที่เดิม</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 4]
 
ในปี 2476 เกิด [[กบฏบวรเดช]] โดย[[พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชลลเป็นหัวหน้า และนายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ผู้ซึ่งเคยเป็นอาจารย์แห่งโรงเรียนเสนาธิการทหารบกของนายพันตรี หลวงชาตินักรบในอดีต เป็นเสนาธิการ ทางฝ่ายรัฐบาลได้จัดตั้งกองผสมอันประกอบด้วยกองพันทหารต่างๆ ขึ้นเพื่อปราบกบฏ มีนายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) เป็นผู้บังคับการกองผสม และนายพันตรี หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นเสนาธิการกองผสม โดยนายพันตรี หลวงชาตินักรบได้วางแผนและอำนวยการปราบกบฏจนเป็นผลสำเร็จ</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 40 - 50] และปลายปีนี้ได้รับเลื่อนเป็นหัวหน้าแผนกวิชาทหาร กรมยุทธศึกษาทหารบก</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, ไม่ระบุเลขหน้า]
 
ตั้งแต่ปี ๒๔๗๗ เป็นต้นมานายพันตรี หลวงชาตินักรบ รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท และได้ย้ายมารับราชการในทางฝ่ายเสนาธิการตามเดิม โดยได้เป็นหัวหน้าแผนกที่ ๓ กรมยุทธการทหารบก (ต่อมาคือกรมเสนาธิการทหารบก) ได้ศึกษาดูงานการทหารในประเทศทวีปยุโรปเป็นเวลาถึง ๓ ปี เมื่อกลับมาจึงได้รับพระราชทานยศนายพันเอก เป็นรองจเรทหารบก และผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายเทคนิค (หรือฝ่ายวิชาการ)</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๑๙, ไม่ระบุเลขหน้า]
 
ในปลายปี ๒๔๘๔ มีเหตุบ่งชี้ว่ากองทัพญี่ปุ่นจะได้ยาตราทัพโจมตีประเทศไทย จึงได้มีการประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพบกในการวางกำลังทหารไทยเพื่อป้องกันการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่น ในที่ประชุมส่วนมากเห็นควรให้เน้นการป้องกันด้านชายแดนอินโดจีนฝรั่งเศส แต่นายพันเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกได้เสนอให้เน้นการวางกำลังป้องกันด้านชายทะเลอ่าวไทย ตั้งแต่ปากอ่าวที่สมุทรปราการไปจนถึงชายทะเลภาคใต้ เนื่องจากการรุกยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นนั้นมีจุดประสงค์ที่จะรุกต่อไปยังพม่าและมลายู จึงจะต้องรุกประเทศไทยทางด้านปากอ่าวไทยเพื่อยึดเมืองหลวงคือพระนครอันเป็นศูนย์กลางการบริหาร การคมนาคมและสื่อสารของประเทศ และยกพลขึ้นบกตามชายทะเลภาคใต้ ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมสำคัญที่สามารถจะเคลื่อนทัพไปยังพม่าและมลายู เพื่อเข้าควบคุมประเทศไทยโดยเด็ดขาดและรวดเร็ว อันจะอำนวยสะดวกในการรุกรานดินแดนอื่นๆ ต่อไป </ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 62]
 
ดังนั้นกองทัพบกไทยจึงได้เน้นการวางกำลังป้องกันตามปากอ่าวไทย และตามจังหวัดชายทะเลภาคใต้เป็นหลัก และเมื่อถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ยุทธภูมิการรบใหญ่ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จึงอยู่ที่บริเวณจังหวัดชายทะเลอ่าวไทยเป็นหลัก ซึ่งมีผลทำให้การเคลื่อนทัพของกองทัพญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักลงชั่วเวลาหนึ่ง แม้ฝ่ายไทยจะต้องยอมยุติการสู้รบในภายหลังก็ตาม
 
หลังจากที่กองทัพญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าประเทศไทยและได้กระทำกติกาสัญญาพันธไมตรีกับรัฐบาลไทยในเดือนธันวาคม 2484 แล้ว ทางกองทัพไทยจะต้องร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นในการรุกเข้าดินแดนพม่า ในขั้นแรกจะให้กองทัพไทยจัดกำลังทหาร 1 กองพลในบังคับบัญชาของนายพันเอก หลวงชาตินักรบ รุกเข้าพม่าด้านชายแดนแม่สอด</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 65]
 
แต่ฝ่ายไทยได้เปลี่ยนไปโจมตีด้านชายแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รุกเข้ารัฐฉาน เพื่อไม่ให้กองทหารของไทยต้องไปขึ้นต่อกองทัพญี่ปุ่น รวมทั้งไม่ต้องปะทะกับกำลังรบหลักของฝ่ายสัมพันธมิตรในด้านนี้ โดยได้จัดกำลังทหารขึ้น 1 กองทัพคือกองทัพพายัพ มีนายพลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพ และนายพันเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นเสนาธิการกองทัพพายัพ ตลอดปี 2485 - 2486 กองทัพพายัพในการอำนวยการของนายพันเอก หลวงชาตินักรบ สามารถรุกคืบยึดรัฐฉานได้เกือบทั้งหมดไปจนจรดแม่น้ำสาละวินด้านตะวันตก จรดพรมแดนประเทศจีนด้านยูนนาน และด้านตะวันออกจรดพรมแดนอินโดจีนฝรั่งเศส</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 65 - 72] แล้วได้สถาปนาการปกครองรัฐฉานให้เรียกว่าสหรัฐไทยเดิม ระหว่างนี้นายพันเอก หลวงชาตินักรบได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพลตรีเมื่อปี 2485 โดยยังอยู่ในตำแหน่งเดิม และในปลายปีเดียวกันนี้ได้มีการเปลี่ยนตัวแม่ทัพกองทัพพายัพเป็นพลโท จิร วิชิตสงคราม</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 72]
 
ปี 2486 กองทัพไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีแผนการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จึงได้จัดตั้งกองทัพที่ 2 ขึ้นเพื่อร่วมกับกองทัพพายัพในการขับไล่ญี่ปุ่น มีพลโท พุก มหาดิลก ประจญปัจจนึก (พระประจญปัจจนึก) เป็นแม่ทัพ และพลตรี หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นเสนาธิการ (ยศนายทหารตั้งแต่ปลายปี 2485 เป็นต้นมาตัดคำว่า “นาย” นำหน้าออก) โดยกองทัพที่ 2 มีหน้าที่ขับไล่กองทัพญี่ปุ่นในบริเวณภาคกลางของประเทศโดยเฉพาะในพระนครและบริเวณจังหวัดลพบุรี-สระบุรี กับทั้งป้องกันรักษาฐานทัพที่เพชรบูรณ์ไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดได้ และรักษาพื้นที่รอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน กองทัพที่ 2 ภายใต้การวางแผนและอำนวยการของเสนาธิการกองทัพจึงได้เริ่มมีการเคลื่อนย้ายกำลัง เตรียมการระวังป้องกัน และเตรียมการซ้อมรบอย่างจริงจัง โดยเน้นการวางกำลังทหารกองพลที่ 1 ไว้ตามชานเมืองของพระนครด้านเหนือ แล้ววางกำลังกองพลที่ 7 ต่อเนื่องตามแนวลำน้ำป่าสักและเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านจังหวัดสระบุรี - ลพบุรี ไชยบาดาล จนถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อเตรียมการป้องกันและขับไล่กองทัพญี่ปุ่นที่อาจจะปลดอาวุธของกองทัพไทยในภาคกลางได้ทุกขณะ</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 73 - 74]
 
ในเดือนกรกฎาคมปีต่อมาหลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงครามได้พ้นจากอำนาจทางการเมืองและการทหาร ทางกองทัพบกได้เกิดการโยกย้ายนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายนาย สำหรับสำหรับพลตรี ศุข ชาตินักรบแม้จะเคยทำงานทางทหารร่วมกับจอมพล ป. แต่ก็มิได้มีความใกล้ชิดหรือฝักใฝ่ในทางการเมืองกับจอมพล ป. ดังนั้นพลตรี ศุข ชาตินักรบ จึงได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบกองทัพโดยรับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพกองทัพที่ 2 แทนพลโท พุก มหาดิลก ประจญปัจจนึก (พระประจญปัจจนึก) ส่วนตำแหน่งเสนาธิการกองทัพที่ 2 ให้พลตรี เดช เดชประดิยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งแทน</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 74- 75] และต่อมาในเดือนมกราคมปี 2488 พลตรีศุข ได้เข้ารักษาราชการเสนาธิการทหารบกและเสนาธิการกองทัพบกสนาม พร้อมทั้งได้รับพระราชทานเลื่อนยศทหารให้เป็น “พลโท” และรับพระราชทานบรรดาศักดิ์คืน โดยในขณะนั้นพลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นรองแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพบก ทำการแทนแม่ทัพใหญ่และแม่ทัพบก (คือพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา-พจน์ พหลโยธิน)
 
เดือนธันวาคม 2487 ทางกองบัญชาการสัมพันธมิตรแห่งเอเชียอาคเนย์ในศรีลังกา ได้เชิญผู้แทนของขบวนการเสรีไทยให้มาเจรจาว่าด้วยหลักการความร่วมมือในทางการทหารระหว่างฝ่ายไทยและกองทัพสัมพันธมิตร [[นายปรีดี พนมยงค์]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย จึงได้ส่งคณะผู้แทนมีนายดิเรก ชัยนาม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้า และนายถนัด คอมันตร์ ข้าราชการชั้นพิเศษแห่งกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเลขานุการคณะฯ โดยให้พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) รักษาราชการเสนาธิการทหารบกและแม่ทัพกองทัพที่ 2 ได้ร่วมเป็นผู้แทนในคณะนี้ด้วย ในครั้งนี้นายปรีดี พนมยงค์ได้ถามถึงความสมัครใจกับพลโท หลวงชาตินักรบเมื่อชักชวนให้ร่วมคณะผู้แทนนี้ว่า “ท่านจะรับใช้ประเทศชาติโดยการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อเจรจาทางการเมืองจะได้หรือไม่” พลโท หลวงชาตินักรบจึงตอบว่า “ถ้าการปฏิบัติเพื่อประเทศชาติแล้วข้าพเจ้าปฏิบัติได้ทุกอย่าง แม้แต่การสละชีพเพื่อชาติ”</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 78]
 
คณะผู้แทนได้เดินทางจากจังหวัดพระนครไปยังเกาะตะรุเตาทางเรือ แล้วขึ้นเครื่องบินทะเลไปยังเกาะศรีลังกาอันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพใหญ่สัมพันธมิตรแห่งเอเชียอาคเนย์ ทั้งนี้การเดินทางครั้งนี้ให้ถือเป็นปฏิบัติการลับที่ไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นรับรู้อย่างเด็ดขาด
เมื่อไปถึงที่กองบัญชาการทางคณะผู้แทนนี้ได้พบกับนายเอ็ม.อี.เดนนิง ที่ปรึกษาทางการเมืองของพลเรือเอก ลอร์ด หลุยส์ เมานท์แบทเทน (Admiral Lord Louise Mountbatten) แม่ทัพใหญ่สัมพันธมิตรแห่งภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และพลตรี คอลิน แมคเคนซี (Major General Colin Hercules Mackenzie) ผู้บัญชาการกองกำลัง 136 อันเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอังกฤษในเอเชียอาคเนย์ การเจรจาครั้งนี้ทางฝ่ายไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางทหารระหว่างทั้งสองฝ่าย สถานการณ์เกี่ยวกับกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย และนำไปสู่ความตกลงในทางทหารที่ทั้งขบวนการเสรีไทยและกองทัพไทย จะได้ร่วมมือกับกองทัพสัมพันธมิตรทำการขับไล่กองทัพญี่ปุ่นในประเทศเมื่อถึงเวลาปฏิบัติการ พร้อมทั้งตกลงที่จะแลกเปลี่ยนนายทหารไปยังกองบัญชาการของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ทางคณะผู้แทนฯ ยังได้เจรจาเป็นการส่วนบุคคลกับนายเอ็ม.อี.เดนนิงเกี่ยวกับท่าทีทางการเมืองระหว่างสหราชอาณาจักรฯ กับประเทศไทย</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 78 - 80]
 
ต่อมาปลายเดือนเมษายน 2488 ทางกองบัญชาการกองทัพสัมพันธมิตรได้ส่งนายทหารผู้แทนมาประจำกองบัญชาการขบวนการเสรีไทย ได้แก่พลจัตวา วิคเตอร์ เจคส์ (Brigadier-General Victor Jacques) พันโท หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ และพันตรี ธอมสัน ฮอบส์ (Major Thomson Hobbes) ซึ่งนายทหารทั้งสามนี้ได้พบกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพบกไทยได้แก่พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ รองแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพบก พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) รักษาราชการเสนาธิการทหารบก และพันเอก สุรจิต จารุเศรณี หัวหน้าแผนกที่ 3 กรมเสนาธิการทหารบก (กรมยุทธการทหารบกในปัจจุบัน) เพื่อร่วมวางแผนทางยุทธวิธีใหม่ให้เหมาะสมกับการรุกเพื่อปลดปล่อยประเทศไทยของกองทัพที่ 12 แห่งฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะเกิดขึ้น โดยแผนยุทธวิธีใหม่นี้กำหนดให้กองทัพที่ 12 ของฝ่ายสัมพันธมิตรรุกเข้าประเทศไทย โดยเน้นการรุกเข้าภาคกลางและภาคใต้ของประเทศเป็นเส้นการรุกหลัก และรุกเข้าภาคเหนือเป็นเส้นการรุกรอง ดังนั้นกองทัพที่ 2 และพลพรรคเสรีไทยในภาคกลางอันเป็นกำลังขนาดใหญ่จึงมีหน้าที่ยึดกุมพื้นที่สำคัญเช่นเมืองหลวง ชุมทางคมนาคม และภูมิประเทศอันเป็นรอยต่อที่จะติดต่อกับภูมิภาคอื่นของประเทศ ไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นยึดครอง เพื่อรองรับการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะต่อตีกองทัพญี่ปุ่นในภาคกลาง รวมทั้งรักษาการบังคับบัญชาและการประสานงานระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กองพลที่ 6 และหน่วยพลพรรคในภาคใต้ซึ่งเป็นกำลังขนาดเล็ก มีหน้าที่รบกวนเส้นทางคมนาคมของกองทัพญี่ปุ่น และสู้รบแบบกองโจรต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น กองทัพพายัพและหน่วยพลพรรคในภาคเหนือมีหน้าที่ต่อสู้กองทัพญี่ปุ่นในภูมิภาคเพื่อเปิดประตูข้างให้แก่กองทัพสัมพันธมิตร ส่วนกองพลที่ 37 และหน่วยพลพรรคในภาคอีสานมีหน้าที่รบกวนเส้นทางคมนาคมที่กองทัพญี่ปุ่นจะส่งกำลังสนับสนุนกองทัพในแนวหน้า (คือภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ) และมีหน้าที่ป้องกันประตูหลังของประเทศไทยจากกองทัพญี่ปุ่นในอินโดจีนฝรั่งเศส</ref>[1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ : 23 สิงหาคม 2543, เลขหน้า 248 - 250]
 
พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ในฐานะรักษาราชการเสนาธิการทหารบกจึงมีหน้าที่วางแผนและอำนวยการในรายละเอียดของการรบและการช่วยรบ เพื่อให้เป็นไปตามแผนทางยุทธวิธีที่ได้ตกลงร่วมกับกองทัพสัมพันธมิตร รวมทั้งให้หน่วยต่างๆ ปฏิบัติตามแผนการอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนประสานงานกับหัวหน้าฝ่ายพลพรรคเสรีไทยคือนายทวี บุณยเกตุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังต้องคอยควบคุมให้หน่วยทหารไทยต่างๆ อดกลั้นต่อสภาวะที่ตึงเครียดที่มีต่อกองทัพญี่ปุ่น มิให้ลงมือกระทำการใดๆ ก่อนที่จะถึงเวลาสมควร อันจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ รวมทั้งยังต้องระวังป้องกันกองทัพญี่ปุ่นไม่ให้ปลดอาวุธกองทัพไทย แล้วเข้าครอบครองประเทศไทย
 
ในด้านกองทัพที่ 2 ซึ่งพลโท หลวงชาตินักรบเป็นแม่ทัพ ได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนทางยุทธวิธีให้สอดคล้องกับการรุกของกองทัพสัมพันธมิตร โดยให้กองพลที่ 1 หรือกองพลรักษาพระนครเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่ตัวจังหวัดพระนครเพื่อรักษาเมืองหลวงของประเทศให้ปลอดภัยจากกองทัพญี่ปุ่น กองพลที่ 7 ได้ย้ายไปตั้งที่จังหวัดนครสวรรค์เพื่อควบคุมพื้นที่ชุมทางบกและทางน้ำที่นครสวรรค์ พิษณุโลก และตาก อันเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างกองทัพที่ 2 และกองทัพพายัพไม่ให้กองทัพญี่ปุ่นช่วงชิงไปได้ ส่วนหน่วยทหารในพื้นที่สระบุรีและลพบุรีคงเหลือกำลังอิสระในระดับกรมและกองพันต่างๆ ซึ่งสนธิกำลังได้เท่ากับหนึ่งกองพล ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการกองทัพที่ 2 ทำหน้าที่สู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานทัพนครนายก เพื่อช่วงชิงการควบคุมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และตัดขาดการติดต่อระหว่างกองทัพญี่ปุ่นในภาคอีสานและภาคกลาง
 
อย่างไรก็ดีการต่อสู้เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นยังมิทันได้เกิดขึ้นสงครามก็ได้ยุติลงเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 กองทัพบกจึงต้องยุบหน่วยสนามและเคลื่อนย้ายกำลังกลับสู่ที่ตั้งปกติ กับลดขนาดของกองทัพลงเนื่องจากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ พลโท หลวงชาตินักรบ ในหน้าที่รักษาราชการเสนาธิการทหารบกจึงมีหน้าที่อำนวยการเคลื่อนย้ายกำลังทหารกลับสู่ที่ตั้งปกติ และการปลดทหาร แต่เนื่องจากเส้นทางคมนาคมทางรถไฟทุกแห่งถูกกองทัพสัมพันธมิตรที่เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทยใช้งานในการขนส่งเชลยศึกญี่ปุ่น จึงเกิดปัญหาที่ทหารไทยต้องเดินนับไม้หมอนรถไฟกลับบ้าน และปัญหาการปลดทหารกลางสนาม ซึ่งสร้างความระส่ำระสายในกองทัพ อย่างไรก็ดีการเคลื่อนทหารและยุบหน่วยได้เสร็จสิ้นลงในช่วงต้นปี 2489</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, หน้า 82 - 83]
 
จากการปฏิบัติราชการสนามของพลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้มีนายทหารภายใต้บังคับบัญชาสรุปเกี่ยวกับตัวท่านดังนี้
พลเอก กฤช ปุณณกันต์ อดีตผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ (ซึ่งขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 2) ได้บันทึกถึงพลโท หลวงชาตินักรบไว้ว่า “....ท่านแม่ทัพผู้นี้มีบุคลิกเป็นที่น่านับถือยิ่งนัก สุขุมเยือกเย็น พูดน้อย เด็ดขาด รอบคอบ ให้เสรีภาพแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในการตัดสินใจในเหตุการณ์ที่สำคัญตามความจำเป็น....”</ref> [อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก กฤช ปุณณกันต์ ม.ป.ช ม.ว.ม. ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช 2529, หน้า 145]
ส่วนพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ อดีตรองผู้บังคับกองพันทหารสื่อสาร กองพลที่ 7 ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้กล่าวถึงพลโท หลวงชาตินักรบว่า “...เป็นคนดุ เอาเรื่อง แต่มีความรู้ดี ทหารนับถือ...”</ref>[สัมภาษณ์พลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ, ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐]
 
ในเดือนธันวาคม 2488 พลโท หลวงชาตินักรบ ได้รับพระบรมราชโองการเป็นเสนาธิการทหารบกอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2490 พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ได้รับการแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]ในรัฐบาล[[ควง อภัยวงศ์|พันตรี ควง อภัยวงศ์]] และลาออกพร้อมคณะรัฐมนตรี<ref>[http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_19.htm คณะรัฐมนตรีคณะที่ 19 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]</ref> พ.ศ. 2491 ได้รับการแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]อีกครั้งในรัฐบาล[[ควง อภัยวงศ์|พันตรี ควง อภัยวงศ์]] แต่ก็ต้องลาออกในไม่มีเดือนถัดมาเนื่องจากคณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง<ref>[http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_20.htm คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]</ref> ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]]อีกครั้งในรัฐบาลของ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเพราะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับถาวร) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492<ref>[http://www.cabinet.thaigov.go.th/cab_21.htm คณะรัฐมนตรีคณะที่ 21 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]</ref>
 
ตั้งแต่ปี 2492 พลโท หลวงชาตินักรบได้รับราชการตำแหน่งต่างๆ อีกต่อมา เช่นกรรมการข้าราชพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาการทหาร กรมเสนาธิการกลาโหม สมาชิกสภาป้องกันราชอาณาจักร (ปัจจุบันคือสภาความมั่นคงแห่งชาติ) ประธานกรรมการพิจารณาการปฏิบัติราชการตามมติประชาชน และผู้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยพ้นจากตำแหน่งต่างๆ เมื่อปี 2504
และเมื่อปี 2498 พลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ได้รับพระราชทานยศเป็น “พลเอก”</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, ไม่ระบุเลขหน้า]
 
พลเอก หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2519 ขณะที่อายุได้ 73 ปี และได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสฯ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2519</ref>[อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงชาตินักรบ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2519, ไม่ระบุเลขหน้า] {{ไม่ได้ลงชื่อ|WanmaiNiyom|10:03, 16 มิถุนายน 2558 (ICT)}}