ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นครรัฐน่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 40:
ในรัชกาลพญาผานอง นครรัฐอิสระนี้เริ่มมีเสถียรภาพ หลังมีการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทรงร่วมมือกับ[[พญาคำฟู]]กษัตริย์ล้านนาเข้าปล้น[[แคว้นพะเยา]]ในรัชกาลพญาคำลือ และเริ่มมีปัญหาระหองระแหงกับล้านนาอันเนื่องมาจากการถูกเอารัดเอาเปรียบในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ปล้นมาจากพะเยา<ref name="อั้วสิม"/>
 
รัชสมัยพญาครานเมือง (หรือ การเมือง หรือ กรานเมือง) ได้ทำการย้ายเมืองหลวงลงมายังภูเพียงแช่แห้ง เมื่อปี พ.ศ. 1902 ด้วยมีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้สะดวกกว่าเมืองหลวงเก่า และได้ทรงสร้าง[[พระธาตุแช่แห้ง]] เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างศูนย์รวมจิตใจแก่ทวยราษฎร์<ref name="นครรัฐ"/> หลังได้รับพระธาตุและพระพิมพ์มาจาก[[อาณาจักรสุโขทัย]]<ref name="ประวัติ"/> ที่เป็นรัฐเครือญาติ<ref name="สุจิตต์"/> แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความไม่ชอบใจแก่[[อาณาจักรอยุธยา]]นัก ที่ช่วงเวลานั้นอยุธยาพยายามขยายอำนาจสู่สุโขทัย พญาครานเมืองจึงถูกกษัตริย์อยุธยาลอบวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ทันที และยิ่งทวีความร้าวฉานเมื่อพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) ส่งทัพไปช่วย[[พระมหาธรรมราชาที่ 2]] แห่งสุโขทัย รบกับ[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]] แห่งกรุงศรีอยุธยา<ref name="สลาย"/> แต่ผลก็คือทัพน่านที่ยกไปช่วยนั้นแตก และถูกกรุงศรีอยุธยาจับเป็นเชลยอันมาก<ref>ประเสริฐ ณ นคร. ผากอง, พระยา ใน ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 254 - 255</ref> และท้าวคำตัน รัชกาลถัดมา ก็ถูกกรุงศรีอยุธยาลอบปลงพระชนม์อีกครั้งโดยใส่ยาพิษในน้ำอาบองค์สรงเกศ<ref name="สลาย"/>
 
อนึ่งในรัชกาลพญาผาคอง (หรือ ผากองผู้หลาน) นั้น ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากภูเพียงแช่แห้งมายังเวียงใต้ หรือเมืองน่านในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 1911<ref>{{cite book | author = คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน | title = นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ | url = http://www.nan.go.th/webjo/attachments/053_นครน่านพัฒนาการเป็นนครรัฐ.pdf | publisher = ม.ป.ป. | location = | year = 2549 | page = 9}}</ref> โดยให้เหตุผลว่าขาดแคลนน้ำ และเวียงนั้นไม่สามารถรองรับประชาชนจำนวนมากได้<ref>{{cite book | author = คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน | title = นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ | url = http://www.nan.go.th/webjo/attachments/053_นครน่านพัฒนาการเป็นนครรัฐ.pdf | publisher = ม.ป.ป. | location = | year = 2549 | page = 16}}</ref>