ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังท่าพระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 6:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ แต่มักเป็นที่รู้จักในพระนาม “เจ้าฟ้าเหม็น” พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชธิดาองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 1 ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี
 
 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม (ในรัชกาลที่ 3 เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2330 ได้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา และรับราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ท้ายสุด พ.ศ. 2367 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จออกจากวังไปประทับในพระบรมมหาราชวัง
 
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระโอรสในรัชกาลที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบาง ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2355 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2378 พระชันษาเพียง 24 ปี
 
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายชุมสาย พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2359 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม เมื่อ พ.ศ. 2410 ทรงกำกับกรมช่างศิลาและช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2411 พระชันษา 53 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย ณ อยุธยา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายอุไร พระราชโอรสองค์ที่ 29 ในรัชกาลที่ 3 กับเจ้าจอมมารดาเขียว ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2362 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2416 พระชันษา 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล อุไรพงศ์ ณ อยุธยา
เส้น 13 ⟶ 19:
 
พระนามและช่วงเวลาในการครองวังตะวันตก (วังท่าพระ)
 
 
ปลายรัชกาลที่ 1 – พ.ศ. 2325
เส้น 28 ⟶ 36:
พ.ศ. 2507 – ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยศิลปากร
 
 
== ประวัติ ==
เมื่อแรกเริ่มแห่งวังท่าพระเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯให้สร้างเพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกระษัตรานุชิต]] หรือ “เจ้าฟ้าเหม็น” ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสใน[[สมเด็จเจ้าฟ้าฉิมใหญ่]] พระราชชายาของ[[พระเจ้ากรุงธนบุรี]]
 
 
 
เจ้าฟ้าเหม็น เสด็จประทับอยู่ ณ วังแห่งนี้จนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงโปรดฯ ให้เป็นที่ประทับของ[[รัชกาลที่ 3|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]] ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] และ[[เจ้าจอมมารดาเรียม]] (กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จประทับจนสิ้นรัชกาลที่ 2 จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ซึ่งมีพระชันษาน้อย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 24 ปี
 
 
 
[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม]] (ต้น[[ราชสกุล]] "ชุมสาย") เสด็จประทับที่นี่จนสิ้นพระชนม์ในปลาย[[รัชกาลที่ 4]](พ.ศ. 2411)เมื่อพระชันษาได้ 53 ปี และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ]] พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างสิลา สิ้นพระชนม์ที่วังนี้ใน[[รัชกาลที่ 5]]
 
 
 
จนถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงพระราชทานต่อให้ไปยัง[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์]] และกรมพระยานริศฯ ก็เสด็จประทับที่วังนี้ จนถึงรัชกาล[[รัชกาลที่ 8|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาอานันทมหิดล]] [[พ.ศ. 2480]] จึงได้ทรงซื้อที่ตรงริม[[ถนนพระราม 4]] [[คลองเตย]] สร้างตำหนักเป็นที่ประทับตากอากาศ เรียกว่า “[[บ้านปลายเนิน]]” แล้วโปรดประทับที่นั่นตลอดพระชนมายุ
 
 
 
วังท่าพระ เมื่อครั้งเป็นที่ประทับของกรมขุนราชสีหวิกกรมนั้น วังนี้จัดเป็นที่ทรงงานและงานช่างทุกชนิด รวมทั้งเป็นที่อยู่ของช่างต่างๆ อาศัยอยู่ในวังขณะนั้นไม่ต่ำกว่า 200 คน จัดเป็นวังขนาดใหญ่วังหนึ่งทีเดียว แต่เมื่อสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จมาประทับ ตำหนักอาคารต่างๆ ก็มีสภาพเก่าทรุดโทรม บางแห่งชำรุดผุพังจนไม่อาจใช้สอยได้ รัชกาลที่ 5 จึงโปรดฯให้บูรณะจนมีสภาพเหมือนเดิม ส่วนตำหนักที่ประทับนั้นโปรดฯให้สร้างขึ้นใหม่ 3 หลัง
 
 
 
ภายหลังที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จไปประทับบ้านปลายเนินแล้ว ทายาทของพระองค์ จึงขายวังให้กับทางราชการเและ[[ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี]] ได้สร้างสถานศึกษาสำหรับวิชาศิลปตามแบบยุโรปขึ้น ได้ใช้วังนี้เป็น[[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] วังท่าพระ จวบจนปัจจุบัน
 
 
 
== สถาปัตยกรรม ==
เส้น 47 ⟶ 69:
[[ไฟล์:Bkksilpakorn0306a.jpg|thumb|250px|'''ท้องพระโรง''' วังท่าพระ ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ]]
ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม ปัจจุบันใช้ท้องพระโรงเป็นหอศิลป์ของ[[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] มี[[บันได]]ใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็น[[สถาปัตยกรรม]]ในรัชกาลที่ 5 มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม
 
* '''ตำหนักที่ประทับ 2 หลัง เรียกว่า “ตึกกลาง” และ “ตึกพรรณราย”'''
 
เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรกๆ ในรัชกาลที่ 5 กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบ[[ศิลปะโรมัน]] ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่างๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่างๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับ[[กันสาด]]ทำอย่างเรียบๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ท้องพระโรงของวังท่าพระมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ตรงกับช่องประตูวัง หันด้านยาวออกหน้าวังอันเป็นการวางผังตามมาตรฐานการสร้างวังตั้งแต่ครั้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ท้องพระโรงเป็นอาคารที่มี 5 ห้อง มีเฉลียงโดยรอบ กั้นฝาเฟี้ยมด้านหลังเอาเฉลียงไว้เป็นเขตฝ่ายใน มีพระทวารใหญ่กลาง ท้องพระโรงมีพระทวารและอัฒจันทร์เป็นทางออกหน้าท้องพระโรง 2 แห่ง ทางออกสกัดด้านตะวันตกและตะวันออกด้านละ 1 แห่ง มีชาลา 3 ด้านล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีประตูตรงกับพระทวาร 2 ประตู ด้านสกัดมีด้านละประตู ตรงลานด้านหน้าศาลชำระความที่อยู่ติดท้องพระโรง มีประตูเล็กเข้าจากทางท้องพระโรงได้ ส่วนพระแกลท้องพระโรงจะถักลวดทั้งนั้น ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ ฝาไม้ ส่วนทางเดินไปฝ่ายในจากชาลาหน้าท้องพระโรงชั้นล่าง ลาดปูนแทนการปูกระเบื้อง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของท้องพระโรงเป็นการผสมผสานด้านเทคนิคและวัสดุก่อสร้างทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และอิทธิพลหรือแหล่งบันดาลใจจากภายนอกคือ จีนและตะวันตก ที่ผ่านมามีการบูรณะมาหลายครั้งตลอดอายุการใช้งานที่ยาวนาน
* '''ศาลาในสวนแก้ว'''
แต่เดิมท้องพระโรงจะใช้เป็นโรงเรียนต่างๆในบรรดาช่าง 10 หมู่ เช่น ช่างไม้ ช่างเขียน ช่างสลัก ช่างประดับกระจก จนถึงช่างเขียนผู้หญิง ออกมาเขียนทองผ้าลายทรงก็เขียนที่ท้องพระโรง บางครั้งใช้เป็นที่ทำงานเกี่ยวกับช่าง เช่น ช่างทหารในญวนมาทำงานสมทบ เมื่อครั้งทำเรือพระที่นั่งวังหลังก็เกณฑ์เอาช่างสนับมาเย็บม่านที่ท้องพระโรงนี้ ปัจจุบันท้องพระโรงใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียนและจัดกิจกรรมวิชาการทางด้านศิลปะ จากทั้งภายในมหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์กรจากภายนอกที่ต้องการขอใช้พื้นที่
เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็น[[ศาลา]]โปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม
 
ตำหนักที่ประทับ 2 หลัง
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาประทับที่วังท่าพระนั้น ตำหนักที่สภาพเก่าและอาคารต่างๆก็ชำรุดผุผังหมดแล้ว ที่ท้องพระโรงยังเหลือดีอยู่แต่เฉพาะพื้นและเสา พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 3 และทรงเป็นพระราชวงศ์อันสูงศักดิ์ สมควรจะพระราชทานวังท่าพระให้เป็นที่ประทับ จึงโปรดให้รื้อตำหนักของเดิมพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างอื่นๆที่ชำรุดเสีย ส่วนท้องพระโรงนั้นทรงพระราชดำริว่า เป็นของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก่อน ได้ทรงบัญชาราชการงานเมืองที่ท้องพระโรงนี้มาตลอดรัชกาลที่ 2 สมควรให้รักษาไว้เป็นประวัติศาสตร์ จึงโปรดให้ซ่อมขึ้นมีสภาพเหมือนเดิม นอกจากนั้นโปรดให้สร้างตำหนักใหม่เป็นตึกอย่างฝรั่งตามสมัยนิยม
 
- ตำหนักกลาง
เป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สร้างต่อเนื่องจากท้องพระโรงมาทางทิศเหนือโดยมีฉนวนเชื่อม ขนาดของอาคารสูง 2 ชั้น ผังหลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกับท้องพระโรง รูปแบบสถาปัตยกรรมจะเป็นแบบตะวันตกอย่างแท้จริง และเพื่อความประสานกลมกลืนทางสุนทรียศาสตร์ ด้านซ้ายของตำหนักเปิดไปสู่ลานโล่ง ในปัจจุบันเรียกว่าลานอิฐแดง คั่นระหว่างตำหนักกลางและตำหนักพรรณราย พื้นที่ของตำหนักกลางทั้งชั้นล่างและชั้นบนใช้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและผลงานทางศิลปะในโอกาสต่างๆ
 
- ตำหนักพรรณราย
สร้างขึ้นในคราวเดียวกับตำหนักกลาง ตั้งอยู่ทางตะวันตกของท้องพระโรงและตำหนักกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างเป็นที่ประทับถวายแด่ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ด้วยเป็นพระมาตุจฉาที่สนิทสนมคุ้นเคยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และยังทรงเป็นพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระองค์เจ้าพรรณรายทรงประทับที่พระตำหนักหลังนี้จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ ในภายหลังจึงเรียกตำหนักนี้กันโดยทั่วกันว่าตำหนักพรรณราย
การออกแบบแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเหมือนกับตำหนักกลางเป็นอย่างมาก เป็นอาคารสองชั้นในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวขนานกับท้องพระโรงและตำหนักกลาง หันหน้าตึกไปทางทิศตะวันออก ภายในตัวอาคารกั้นผนังแบ่งออกเป็นพื้นที่ 6 ห้อง แต่ละห้องมีประตูเปิดถึงกัน ใช้ผังแบบเดียวกันนี้ทั้งชั้นล่างและชั้นบน นอกจากนี้ยังมีสะพานเชื่อมต่อระหว่างตำหนักพรรณรายและระเบียงของตำหนักกลางตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ลักษณะเด่นคือส่วนหน้าต่างของตำหนักพรรณรายเป็นกันสาดไม้คลุมหน้าต่างทั้งชั้นบนและชั้นล่างของตำหนัก มีเท้าแขนรองรับ มีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายทำนองเดียวกันกับสถาปัตยกรรมแบบเรือนขนมปังขิง (Gingerbread style) ปรากฏที่หน้าต่างชั้นบนของตำหนักกลางด้วย แต่เป็ยฃนรูปแบบที่เรียบง่ายไม่ฉลุลวดลายมากนัก ปัจจุบันชั้นล่างเป็นที่ทำการของสำนักงานเลขานุการ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนพื้นที่ด้านบนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ
 
* '''ศาลาดนตรีในสวนแก้ว'''
ศาลาดนตรีในสวนแก้ว เป็นเรือนไม้สี่เสาที่มีลักษณะเป็นเรือนขนมปังขิงภายในพื้นที่วังท่าพระเช่นกัน มีผนังทางด้านเหนือเพียงด้านเดียว ส่วนอีกสามด้านที่เหลือไม่มีผนัง กั้นระหว่างเสาด้วยแถวลูกกรงไม้ ยกพื้นสูง มีบันไดทางขึ้นสามด้าน คลุมตัวเรือนแบบโถงด้วยหลังคาทรงปั้นหยา ชายคาตกแต่งด้วยแถบไม้ฉลุลาย ชายคาที่ยื่นมานี้รองรับด้วยเท้าแขนขนาดใหญ่ทรงคดโค้ง มีแม่ลายเป็นรูปดอกกลมประกอบด้วยรูปทรงคดโค้งคล้ายปีกค้างคาวทั้งสองด้าน รองรับชายคาด้านหนึ่งยึดเสาผนังอีกด้านหนึ่ง ภายในฉลุลายเช่นกัน
 
 
== อ้างอิง ==