ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะบาโต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DanMTaylor (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DanMTaylor (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
คำสั่งเรื่องวันสะบาโตเป็นคำสั่งเฉพาะสำหรับ[[วงศ์วานอิสราเอล]]เท่านั้น หากเราพิจารณาดูทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงคำสั่งของพระเจ้าเรื่องการถือรักษาวันสะบาโตจะเป็นการกล่าวกับวงศ์วานอิสราเอล และจะเป็นการกล่าวภายใต้พันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับวงศ์วานอิสราเอล โดยตั้งอยู่บนเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงช่วยกู้ชนชาติอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์<ref>หนังสืออพยพ 20:2,8, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref> วันสะบาโตเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างอิสราเอลกับพระเจ้า และชนชาติอิสราเอลได้รับพระบัญชาถือรักษาวันสะบาโตไว้ตราบเท่าที่ยังมีคนอิสราเอลอยู่<ref>หนังสืออพยพ 31:12-13, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref> ดังนั้นคริสเตียนจึงไม่ต้องถือรักษาวันสะบาโตเพราะเราไม่ใช่ชนชาติอิสราเอลที่ต้องอยู่ภายใต้พันธสัญญาระหว่างชนชาติอิสราเอลกับพระเจ้า คริสเตียนไม่ได้อยู่ภายใต้พันธสัญญาที่ตั้งอยู่บนการช่วยกู้จากอียิปต์เหมือนชนชาติอิสราเอล แต่อยู่ภายใต้พันธสัญญาใหม่ที่ตั้งอยู่บนการช่วยกู้ให้พ้นจากบาปโดย[[พระคริสต์]] และเรามีเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างเรากับพระเจ้าคือ[[พิธีบัพติศมา]]และ[[พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์]]<ref>พระวรสารนักบุญมัทธิว 26:26-28, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref><ref>หนังสือกิจการของอัครทูต 2:37-39, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref><ref>จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 11:23-26, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref> สรุปให้เข้าใจโดยง่ายก็คือคริสเตียนและคนยิวถือหนังสือสัญญาคนละฉบับ เนื้อหาของหนังสือสัญญาแต่ละฉบับย่อมมีความแตกต่างกัน การนำเนื้อหาและเงื่อนไขทั้งสองฉบับมาปะปนกันย่อมก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านการทำความเข้าใจและในการปฏิบัติ ซึ่งสภาพการณ์เช่นนี้ก็เป็นดังที่[[พระเยซู]]ตรัสเปรียบเทียบว่าเหมือนการนำเหล้าองุ่นหมักใหม่มาใส่ในถุงหนังใบเก่า ซึ่งผลที่ตามมาคือความเสียหายเพราะถุงหนังเก่าจะไม่สามารถทนแรงดันของเหล้าองุ่นหมักใหม่<ref>พระวรสารนักบุญมัทธิว 9:17, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref>
 
สภาของอัครทูตและผู้ปกครองใน[[กรุงเยรูซาเลม]]ตามที่บันทึกในหนังสือกิจการของอัครทูต บทที่ 15 มีมติให้คริสเตียนที่เป็นชาวต่างชาติไม่ต้องเข้าพิธี[[พิธีสุหนัต]]หรือถือตามกฎข้อปฏิบัติของคนอิสราเอล ปัญหาใหญ่ของคริสตจักรยุคแรกเกิดจากความเข้าใจเรื่องข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในศาสนายูดาห์ พระเยซูคริสต์ทรงเกิดเป็นชาวยิว อัครทูตและสาวกกลุ่มแรกก็เป็นชาวยิว ความเข้าใจเรื่องพระเจ้าของคริสเตียนก็มีพื้นฐานมาจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม หรือคัมภีร์[[โทราห์]]ของชาวยิว ดังนั้นจึงมีคริสเตียนกลุ่มใหญ่ที่เชื่อว่าเมื่อคนต่างชาติจะมาเป็นคริสเตียนนั้นจะต้องเข้าพิธีสุหนัตก่อน เพราะพิธีสุหนัตเป็นเหมือนประตูเข้าสู่ศาสนายูดาห์ เหมือนพิธีบัพติศมาเป็นประตูเข้าสู่ศาสนาคริสต์ และเมื่อรับพิธีสุหนัตแล้วก็ต้องถือรักษาระเบียบพิธีต่าง ๆ แบบชาวยิว<ref>จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย 5:3, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011</ref> แต่ท่านเปาโลและพวกได้ต่อสู้กับความเชื่อดังกล่าวอย่างเต็มที่ ความขัดแย้งนี้จึงถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของสภาอัครทูตและผู้ปกครองในหนังสือกิจการของอัครทูต บทที่ 15 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้คริสเตียนต่างชาติไม่ต้องเข้าพิธีสุหนัต และเมื่อไม่ต้องเข้าพิธีสุหนัตก็หมายความว่าไม่ต้องเข้าสู่พันธสัญญาระหว่างชนชาติอิสราเอลกับพระเจ้า ดังนั้นกฎอื่น ๆ ในศาสนายูดาห์จึงไม่เป็นกฎที่คริสเตียนถูกผูกมัดให้ถือปฏิบัติ เมื่อเราอ่านถึงสิ่งที่คริสเตียนในหนังสือกิจการของอัครทูตกระทำ เราต้องเข้าใจว่ามีวิถีการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างคริสเตียนยิวกับคริสเตียนที่เป็นคนต่างชาติ คริสเตียนต่างชาติที่ไม่ใช่ยิวจะถือรักษาเฉพาะพิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิท แต่คริสเตียนยิวในฐานะที่เป็นคริสเตียนเขาจะถือรักษาพิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิท และในฐานะที่เขาเป็นยิวเขาจะถือพิธีสุหนัต พีธี[[ปัสคา]]และถือรักษาวันสะบาโตด้วย ในหนังสือกิจการของอัครทูต บทที่ 21 ข้อ 17-26 ท่านเปาโลถูกกล่าวหาว่าสั่งสอนคนยิวในต่างแดนให้ละทิ้งวิถีปฏิบัติของยิว แต่เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ท่านจึงต้องทำการบนตัวตามหลักของพระบัญญัติที่พระวิหารเพื่อแสดงว่าท่านเองก็ยังปฏิบัติตามวิถีของคนยิวอย่างเคร่งครัด เพราะท่านก็เป็นยิวด้วย
 
มีหลักฐานจากข้อพระคัมภีร์ที่ต่อต้านคำสอนเรื่องให้คริสเตียนต่างชาติถือรักษาวันสะบาโต ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี บทที่ 2 ข้อ 16 กล่าวว่า ''”เพราะ‍ฉะนั้น​อย่า​ให้​ใคร​พิพาก‌ษา​ท่าน​ทั้ง‍หลาย​ใน​เรื่อง​การ​กิน การ​ดื่ม ใน​เรื่อง​เทศ‌กาล หรือ​วัน​ต้น‍เดือน หรือ​วัน‍สะ‌บา‌โต”'' (จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสีเป็นจดหมายที่เขียนถึงคริสเตียนในเมืองโคโลสีซึ่งไม่ได้เป็นคนยิว) และเราก็ไม่เคยพบว่าพระคริสต์หรืออัครทูตได้มีคำสั่งให้คริสเตียนถือรักษาวันสะบาโตสักครั้งเดียว ถ้าหากว่าคำสอนเรื่องการถือรักษาวันสะบาโตเป็นเรื่องสำคัญพระคริสต์และอัครทูตก็ย่อมต้องกล่าวถึงเรื่องนี้หลายครั้ง การที่พระคริสต์และอัครทูตไม่เคยสั่งการให้ถือรักษาวันสะบาโตก็ย่อมแสดงว่าเรื่องวันสะบาโตไม่ใช่หน้าที่ของคริสเตียนที่จะต้องถือปฏิบัติ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สะบาโต"