ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมยุติกนิกาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:ธรรมยุตินิกาย.gif|left|thumb|ตราคณะธรรมยุต]]
 
'''ธรรมยุติกนิกาย''' หรือที่เรียกโดยย่อว่า '''คณะธรรมยุต''' เป็น[[พระสงฆ์|คณะสงฆ์]]ที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระวชิรญาณเถระ]]ทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟู[[ศาสนาพุทธ]]ใน[[สยาม]] และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษา[[พระไตรปิฎก]]อย่างแตกฉานทำให้มีพระ[[วิจารณญาณ]]เกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระ[[พระสงฆ์ภิกษุ]][[สามเณร]]ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของ[[พระสงฆ์]]ให้ถูกต้องตาม[[พระธรรมวินัย]]ตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็น[[นวังคสัตถุศาสน์|สัตถุศาสน์]] (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็น[[อาจินปฏิบัติ]] (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า '''พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ [[ร.ศ. 121]]''' มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้ง[[พระวินัยปิฎก]]และ[[พระสุตตันตปิฎก]] ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นใน[[ประเทศไทย]]
บรรทัด 19:
 
=== พัฒนาการของธรรมยุติกนิกาย ===
[[ไฟล์:Bkkwatboworn05a.jpg|thumb|[[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]] ศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิกาย]]
 
ตามความในพระราชประวัติแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มปรับปรุงแก้ไขการประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยในส่วนพระองค์ เพื่อให้ถูกต้องตามที่ทรงได้ศึกษาพิจารณามาตั้งแต่ผนวชได้ 2 พรรษา ขณะที่ยังประทับอยู่วัดมหาธาตุ และเริ่มมีสหธรรมิกอื่น ๆ นิยมปฏิบัติตามพระองค์ขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังคงไม่มากนัก
บรรทัด 34:
 
== ธรรมเนียมและแบบแผนของธรรมยุติกนิกาย ==
ระเบียบแบบแผนในด้านการปฏิรูปทางพระพุทธศาสนาของธรรมยุติกนิกาย โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4)
# ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำ และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็น จุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงพระธรรมเทศนาเวลาสามโมงเช้าและบ่ายสามโมง ในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถ เดือนละ 4 ครั้ง
# ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎร อธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อน คณะสงฆ์ธรรมยุติได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไป ทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก
บรรทัด 45:
 
== เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ==
{{บทความหลัก|เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต}}
คณะธรรมยุตยุคแรกยังรวมอยู่กับคณะสงฆ์ดั้งเดิม เพิ่งได้รับอำนาจในการปกครองตนเองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระเถระดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตสืบมาดั้งนี้<ref name="ประวัติคณะธรรมยุต">''ประวัติคณะธรรมยุต'', กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547, หน้า 313-42</ref>
{| border="1" cellpadding="4" cellspacing="1" style="margin: 1em 1em 1em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; text-align:center; border-collapse: collapse; font-size: 95%;"
|- style="background:#cccccc"
| '''ลำดับ''' || '''รูป''' || '''รายพระนาม''' || '''เริ่มวาระ''' || '''สิ้นสุดวาระ''' || '''สถิต ณ'''
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''1''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์]]''' || [[พ.ศ. 2394]] || [[พ.ศ. 2435]] || [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''2''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]]''' || [[พ.ศ. 2436]] || [[พ.ศ. 2464]] || [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''3''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์1.jpg|100px]] || '''[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า|พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์</br> สมเด็จพระสังฆราชเจ้า]]''' || [[พ.ศ. 2465]] || [[พ.ศ. 2471]] || [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''4''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]]''' || [[พ.ศ. 2471]] || [[พ.ศ. 2501]] || [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''5''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)|สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช</br> (จวน อุฏฐายี)]]''' || [[พ.ศ. 2501]] || [[พ.ศ. 2514]] || [[วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''6''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)|สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช </br>(วาสน์ วาสโน)]]''' || [[พ.ศ. 2515]] || [[พ.ศ. 2531]] || [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''7''' || [[ไฟล์:สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)1.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก|สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช </br>สกลมหาสังฆปริณายก]]''' || [[พ.ศ. 2532]] || พ.ศ. 2556 || [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]
|-
| bgcolor="#E9E9E9"| '''8''' || [[File:สมเด็จพระวันรัต.jpg|100px]] || '''[[สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)]]''' || [[พ.ศ. 2556]] || ปัจจุบัน|| [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]]
|-
|}
 
== อ้างอิง ==