ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การชำระเลือดผ่านเยื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
 
== การเข้าถึง ==
ในการฟอกเลือด, มีสามวิธีหลักที่ใช้ในการเข้าถึงเลือด: 1. สายสวนทางหลอดเลือดดำ 2. ทางทะลุติดต่อถึงกันเชื่อมระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ({{lang-en|arteriovenous fistula (AV)}}) และ 3. การทาบกิ่งสังเคราะห์ ชนิดของการเข้าถึงได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นช่วงเวลาที่คาดหวังของเส้นทางการไตวายของผู้ป่วยและสภาพของระบบหลอดเลือดของเขา ผู้ป่วยอาจมีการเข้าถึงหลายทาง มักจะเป็นเพราะ AV fistula หรือการทาบกิ่งใช้งานได้ดีและสายสวนก็ยังคงนำมาใช้ได้ การเข้าถึงหลอดเลือดสามประเภทหลักเหล่านี้ทั้งหมดต้องทำการผ่าตัด<ref>Kallenbach J.Z.In: ''Review of hemodialysis for nurses and dialysis personnel''. 7th ed. St. Louis, Missouri:Elsevier Mosby; 2005.</ref>
 
=== สายสวน ===
บรรทัด 58:
[[File:Blausen 0313 Dialysis.png|thumb|ภาพแสดงการเจาะหลอดเลือดดำระหว่างการฟอกเลือด]]
 
การเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ({{lang-en|AV (arteriovenous) fistulas}}) เป็นวิธีการเข้าถึงหลอดเลือดที่นิยมกัน ศัลยแพทย์หลอดเลือดจะเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเข้าด้วยกันโดยการเชื่อมประสาน ({{lang-en|anastomosis}}) เนื่องจากเป็นการบายพาสเส้นเลือดฝอย เลือดจะไหลอย่างรวดเร็วผ่านรอยจุดเชื่อมนี้ ผู้ป่วยสามารถรู้สึกได้โดยวางนิ้วของเขาบนรอยต่อนี้ เขายังสามารถฟังผ่านหูฟังซึ่งจะได้ยินเสียงของเลือดที่ไหลผ่านรอยจุดเชื่อมนี้
 
จุดเชื่อมมักถูกสร้างขึ้นในแขนที่ไม่ถนัดและอาจจะอยู่ในมือ (เรียกว่า 'snuffbox') แขน (เรียกว่า '''radiocephalic''' หรือเรียกว่า Brescia-Cimino ที่หลอดเลือดแดง radial ถูกประสานกับ ศีรษะหลอดเลือดดำศีรษะ ({{lang-en|cephalic vein}})) หรือข้อศอก (ที่เรียกว่า brachiocephalic fistula ที่หลอดเลือดแดงที่แขน ({{lang-en|brachial artery}}) จะถูกประสานกับหลอดเลือดดำศีรษะ ({{lang-en|cephalic vein}})) แม้ว่าจะพบได้น้อยกว่า จุดเชื่อมยังสามารถถูกสร้างขึ้นในขาหนีบ แต่ขั้นตอนการประสานอาจแตกต่างกัน ตำแหน่งในขาหนีบมักจะถูกเลือกเมื่อตำแหน่งที่แขนและมือไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคหรือเนื่องจากล้มเหลวของจุดเชื่อมก่อนหน้านี้ที่ทำบน / มือ จุดเชื่อมจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ที่จะสมบูรณ์ใช้งานได้ โดยเฉลี่ยอาจจะใช้เวลา 4-6 สัปดาห์
 
ในระหว่างการบำบัด เข็มทั้งสองจะถูกปักลงไปในช่องจุดเชื่อม เข็มหนึ่งจะใช้ในการดึงเลือดออกมาและอีกเข็มหนึ่งจะใช้ส่งเลือดกลับไป การวางตัวของเข็มจะพืจารณาถึงการไหลปกติของเลือด้ เข็ม"เลือดแดง" จะดึงเลือดออกจากตำแหน่ง "ต้นน้ำ" ในขณะที่เข็ม "เลือดดำ"จะส่งเลือดกลับ "ปลายน้ำ" การปักเข็มสลับกันจะนำไปสู่​​การรีไซเคิลบางส่วนของเลือดเดียวกันผ่านเครื่องฟอกไตทำให้​​การบำบัดมีประสิทธิภาพน้อยลง
 
ข้อดีของการเชื่อมหลอดเลือดก็คือมีอัตราการติดเชื้อต่ำ เพราะไม่มีสิ่งแปลกปลอมมาเกี่ยวข้อง อัตราการไหลเวียนของเลือดจะสูงขึ้น (ซึ่งแปลว่าการฟอกไตมีประสิทธิภาพมากขึ้น) และอัตราการเกิดลิ่มเลือดลดลง ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการเข้าถึงแบบอื่น ๆ ถ้าจุดเชื่อมมีการไหลเวียนเลือดที่สูงมากและเส้นเลือดที่ให้เลือดส่วนที่เหลือของแขนขาทำงานไม่ดี อาจเกิดอาการที่เรียกว่า steal syndrome ขึ้นได้ นั่นคือเลือดที่ไหลเข้าแขนขาจะถูกดึงเข้าสู่จุดเชื่อมและถูกนำกลับคืนไปสู่ระบบหมุนเวียนทั่วไปโดยไม่ได้ป้อนเข้าสู่เส้นเลือดฝอยของแขนขา อาการนี้ส่งผลในแขนขาเย็น เป็นตะคริว และถ้ารุ​​นแรงเนื้อเยื่ออาจเสียหาย ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอันหนึ่งของการเชื่อม AV ก็คือการพัฒนาไปสู่ภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพองเป็นถุงขังโลหิต ({{lang-en|aneurysm}}), การปูดในผนังของหลอดเลือดดำที่จะอ่อนแอลงเนื่องจากโดยการแทงซ้ำๆกันของเข็มเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่ภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตจะลดลงโดยการหมุนตำแหน่งเข็มอย่างระมัดระวังไปทั่วๆจุดเชื่อม หรือใช้เทคนิค "รังดุม" (ตำแหน่งคงที่) ภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไขและอาจร่นอายุการใช้งานของจุดเชื่อม จุดเชื่อมยังสามารถอุดตันได้เนื่องจากการแข็งตัวของเลือดหรืออาจติดเชื้อได้ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามข้อระมัดระวังในการฆ่าเชื้อระหว่างการแทงเข็มในช่วงเริ่มต้นของการฟอกเลือด เนื่องจากปริมาณสูงของเลือดที่ไหลผ่านจุดเชื่อม การตกเลือดอย่างหนักอาจเกิดขึ้นได้ นี่พบมากที่สุดหลังจากการฟอกไต ต้องใส่ความดันที่หลุมเข็มเพื่อให้เกิดการแข็งตัว ถ้าความดันถูกเอาออกก่อนเวลาอันควรหรือผู้ป่วยที่เข้าร่วมในกิจกรรมทางกายภาพเร็วเกินไปหลังจากการล้างไต หลุมเข็มสามารถเปิดออกได้
 
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อจุดเชื่อมและภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตหรือการก่อตัวของภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตปลอม ({{lang-en|pseudoaneurysm formation}}) มีข้อแนะนำว่าเข็มจะถูกแทงที่จุดแตกต่างกันในแบบหมุนเวียน อีกวิธีหนึ่งคือการฝังท่อพลาสติคเล็กๆด้วยเข็มทื่อ, ในตำแหน่งเดียวกัน วิธีการนี้เรียกว่า 'รังดุม' บ่อยครั้งที่มีรังดุมสองหรือสามที่ในจุดเชื่อมเดียว นอกจากนั้น วิธีการนี้ยังสามารถยืดอายุจุดเชื่อมและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อจุดเชื่อมอีกด้วย
 
=== การทาบหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง ({{lang-en|AV graft}}) ===
 
== อ้างอิง ==