ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การชำระเลือดผ่านเยื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
Roonie.02 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
 
=== สายสวน ===
การเข้าถึงด้วยสายสวน หรือบางครั้งเรียกว่า CVC (สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ({{lang-en|central venous catheter}})) ประกอบด้วยสายสวนทำด้วยพลาสติกหนึ่งเส้นมีสองรู (หรือบางครั้งเป็นสายสวนสองเส้นแยกจากกัน) ซึ่งจะถูกเจาะเข้าไปในหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ (ปกติจะเป็นหลอด vena cava ผ่าน internal jugular vein หรือเส้นเลือด femoral vein) เพื่อให้กระแสของเลือดขนาดใหญ่ถูกดึงออกจากรูหนึ่ง และป้อนเข้าวงจรการฟอกเลือดแล้วจะถูกส่งเลือดกลับผ่านทางอีกรูหนึ่ง อย่างไรก็ตามการไหลของเลือดมักจะน้อยกว่าที่การเข้าถึงแบบ fistula หรือการทาบกิ่งแบบที่สามารถทำงานได้ดีเสมอ
 
หลอดสวนมักจะพบในสองแบบทั่วไปคือแบบท่อลอดและแบบไม่ใช่ท่อลอด
 
้การเข้าถึงด้วยสายสวนแบบไม่ใช่ท่อลอดจะใช้สำหรับการเข้าถึงระยะสั้น (ไม่เกิน 10 วัน แต่มักจะใช้ฟอกไตเพียงครั้งเดียวเท่านั้น) และโดยสายสวนจะโผล่ออกมาจากผิวหนังที่ตำแหน่งของการเดียวกับที่เจาะเข้าไปในหลอดเลือดดำ
 
การเข้าถึงด้วยสายสวนแบบท่อลอดเกี่ยวข้องกับสายสวนที่ยาวกว่า ซึ่งมันจะถูกปักเข้าไปใต้ผิวหนังจากจุดที่เจาะเข้าในหลอดเลือดดำลอดไปออกที่อีกจุดหนึ่งที่ห่างออกไป มันมักจะถูกสอดไว้ใน internal jugular vein ในลำคอและจุดออกมักจะอยู่บนผนังหน้าอก ท่อลอดจะใช้เป็นอุปกรณ์ขวางกั้นการบุกรุกของจุลินทรีย์ ดังนั้นสายสวนแบบท่อลอดจึงถูกออกแบบมาสำหรับการเข้าถึงระยะสั้นถึงระยะกลาง (เป็นสัปดาห์ถึงหลายเดือนเท่านั้น) เพราะการติดเชื้อยังคงเป็นปัญหาที่พบบ่อย
 
นอกเหนือจากการติดเชื้อ หลอดเลือดดำตีบก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ร้ายแรงเมื่อใช้การเข้าถึงแบบสายสวน สายสวนเป็นตัวประหลาดในหลอดเลือดดำและมักจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือดดำ ซึ่งส่งผลให้เกิดแผลเป็นและการตีบของหลอดเลือดดำที่มักจะเป็นจุดที่มีการเสียดสี อาจทำให้เกิดปัญหากับความแออัดของหลอดเลือดดำที่รุนแรงในบริเวณที่ระบายออกโดยเส้นเลือดดำและยังอาจทำลายหลอดเลือดดำและหลอดเลือดดำรั่ว มันจะไร้ประโยชน์สำหรับการเข้าถึงแบบ fistula หรือแบบทาบกิ่งในภายหลัง ผู้ป่วยที่ทำการฟอกเลือดในระยะยาวจะหมดไม่เหลือจุดการเข้าถึงอย่างแท้จริง ดังนั้นนี่อาจจะเป็นปัญหาร้ายแรง
 
การเข้าถึงด้วยสายสวนมักจะใช้สำหรับการเข้าถึงอย่างรวดเร็วสำหรับการฟอกเลือดในทันที สำหรับการเข้าถึงแบบท่อลอดในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวจากภาวะไตวายเฉียบพลันและสำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่กำลังรอคอยการเข้าถึงทางเลือกอื่นที่จะสมบูรณ์หรือผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยทางเลือกอื่น
การเข้าถึงด้วยสายสวนมักจะเป็นที่นิยมกับผู้ป่วยเพราะสิ่งที่แนบมากับเครื่องฟอกไตไม่ต้องใช้เข็ม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ร้ายแรงของการเข้าถึงด้วยสายสวนที่ระบุไว้ข้างต้นหมายความว่าการเข้าถึงดังกล่าวควรจะมีการไตร่ตรองว่าเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะยาวในสถานการณ์การเข้าถึงที่สิ้นหวังมากที่สุด
 
=== การเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ===
 
[[Image:Radiocephalic fistula.svg|thumb|การเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่จุด Fistula ในภาพ]]
[[File:Blausen 0313 Dialysis.png|thumb|ภาพแสดงการเจาะหลอดเลือดดำระหว่างการฟอกเลือด]]
 
การเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ({{lang-en|AV (arteriovenous) fistulas}}) เป็นวิธีการเข้าถึงหลอดเลือดที่นิยมกัน ศัลยแพทย์หลอดเลือดจะเชื่อมหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำเข้าด้วยกันโดยการเชื่อมประสาน ({{lang-en|anastomosis}}) เนื่องจากเป็นการบายพาสเส้นเลือดฝอย เลือดจะไหลอย่างรวดเร็วผ่านรอยเชื่อมนี้ ผู้ป่วยสามารถรู้สึกได้โดยวางนิ้วของเขาบนรอยต่อนี้ เขายังสามารถฟังผ่านหูฟังซึ่งจะได้ยินเสียงของเลือดที่ไหลผ่านรอยเชื่อมนี้
 
== อ้างอิง ==