ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคความหวังใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''พรรคความหวังใหม่''' ({{lang-en|New Aspiration Party}}, [[อักษรย่อ|ย่อว่า]] ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2533]] โดยมี [[ชวลิต ยงใจยุทธ|พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ]] เป็นหัวหน้าพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น [[เสนาะ เทียนทอง|นายเสนาะ เทียนทอง]] [[จาตุรนต์ ฉายแสง|นายจาตุรนต์ ฉายแสง]] และ [[วันมูหะมัดนอร์ มะทา|นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา]] มีสัญลักษณ์พรรคคือ [[ดอกทานตะวัน]] และมีคำขวัญพรรคว่า '''ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง'''
 
พรรคความหวังใหม่ [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535|ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ [[22 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2535]] ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด [[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า [[พรรคเทพ พรรคมาร|พรรคเทพ]] ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]]ของ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]]
 
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539|การเลือกตั้งเมื่อปลายปี [[พ.ศ. 2539]] ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ [[พรรคประชาธิปัตย์]] พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
 
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง[[ภาคอีสาน]] หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี [[พ.ศ. 2540]] จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี [[พ.ศ. 2540]]-[[พ.ศ. 2544|2544]] พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน