ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนชลประทานวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Imosssa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เนื้อหาควรเป็นความเรียง
บรรทัด 25:
 
==ประวัติ==
โรงเรียนชลประทานวิทยาเปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ [[2 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]] โดยดำริของท่าน[[หม่อมหลวงชูชาติ กำภู]] อดีตอธิบดี[[กรมชลประทาน]]และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการ]] เนื่องจากในขณะนั้น กรมชลประทานกำลังดำเนินการก่อสร้าง[[เขื่อนเจ้าพระยา]] อยู่ที่จังหวัด[[ชัยนาท]] และมีโครงการที่จะก่อสร้าง[[เขื่อนภูมิพล]]ที่จังหวัด[[ตาก]] ในการนี้จะต้องมีการย้ายหน่วยงานบางหน่วยงานของกรมชลประทานจาก[[สามเสน]]มาอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด ทำให้ข้าราชการต้องย้ายสถานที่ทำงาน ท่านหม่อมหลวงชูชาติ กำภู มีความห่วงใยในเรื่องสถานศึกษาของบุตรหลานข้าราชการกรมชลประทาน จึงให้ท่านอาจารย์[[ประหยัด ไพทีกุล]] หัวหน้าแผนกอาณาบาลกรมชลประทานในขณะนั้น ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ [[20 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2498 การจัดตั้งโรงเรียนนั้นเต็มไปด้วยปัญหา เพราะเวลานั้นโรงเรียนต่างๆต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนของ[[ปีการศึกษา]] 2498 ไปแล้วถึง 4 วัน (เปิดเรียนวันที่ [[16 พฤษภาคม]]) และการจัดตั้งโรงเรียนต้องขออนุญาตภายในเดือน[[กุมภาพันธ์]] โดยให้อาจารย์ประหยัด ไพทีกุลเป็นผู้จัดการโรงเรียน และอาจารย์โกศล ภาสวณิช เป็นอาจารย์ใหญ่
 
{{โครง-ส่วน}}
* ในปี พ.ศ. 2501 มีการสร้างอาคารถาวร เป็นตึก[[คอนกรีต]]เสริม[[เหล็ก]] 2 ชั้น เป็นอาคารที่มั่นคง แข็งแรง สวยงาม ทนทานแม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปี อาคารเรียนหลังนี้ยังโดดเด่นเป็นสง่า โรงเรียนมีพื้นที่ประมาณ 56 ไร่ ในปีการศึกษา 2501 โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
* ในปี พ.ศ. 2502 อาจารย์อายะดา กิรินกุล อดีตอาจารย์ใหญ่[[โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย]] ได้มาเป็นอาจารย์ควบคุมทางด้าน[[วิชาการ]] และในปีนี้โรงเรียนได้จัดกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การประชุมพบปะครูและผู้ปกครอง การจัดกิจกรรม[[กีฬาสี]] การจัดให้สัมมนาของครูหมวดวิชาต่างๆ ในเวลา 07.00 - 08.00 น.
* ในปี พ.ศ. 2527 โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนเพิ่ม โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
* ในปี พ.ศ. 2532 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล
* ในปี พ.ศ. 2534 สร้างอาคาร 11 ห้อง เป็นอาคารเรียนชั้นเดียว
* ในปี พ.ศ. 2534 สร้างอาคารคอมพิวเตอร์ เป็นอาคารชั้นเดียว 2 ห้อง
* ในปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และชั้นมัธยมศึกษา
* ในปี พ.ศ. 2537 สร้างอาคาร 7 (อาคาร 3 ห้อง) เป็นอาคารประกอบชั้นเดียว
* ในปี พ.ศ. 2538 สร้างอาคาร 8 (อาคาร 24 ห้อง) เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น
* ในปี พ.ศ. 2538 สร้างอาคาร[[ห้องสมุด]]และห้องวิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนของห้องสมุด ส่วนชั้นบนเป็น[[ห้องวิทยาศาสตร์]]
* ในปี พ.ศ. 2542 ขยายการสอนวิชา[[คอมพิวเตอร์]]ในระดับชั้นอนุบาล 2, 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4
* ในปี พ.ศ. 2543 ขยายการสอนคอมพิวเตอร์จนเกือบครบทุกระดับชั้นยกเว้นชั้นอนุบาลปีที่ 1
* ในปี พ.ศ. 2546 ปรับปรุงอาคารเสื่อรำแพน ที่อยู่หลังอาคาร 6
* ในปี พ.ศ. 2548 สร้างอาคาร 50 ปี ช.ป.ว.
* ในปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 สร้างอาคาร 100 ปี ชูชาติ อนุสรณ์
* ในปี พ.ศ. 2549 มีการสร้างหลังคากันสาดใกล้ๆ สนามกีฬาหน้าอาคาร 50 ปี ช.ป.ว. หน้าอาคาร 1 ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาคาร 3 และปรับปรุงสถานที่บริเวณหน้าอาคาร 3 โดยปรับปรุงเป็นลานอเนกประสงค์ เปรียบเสมือนหอประชุมใหญ่แห่งหนึ่งของโรงเรียน ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าโรงเรียน
* ในปี พ.ศ. 2550 ปรับปรุงอาคารประกอบ สำหรับในการเรียนวิชาดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะและพระพุทธศาสนาในช่วงชั้นที่ 1 - 2
* ในปี พ.ศ. 2550 มีการสร้างอาคารโภชนาการ 2 โดยปรับปรุงอาคาร 7 เดิม มีการสร้างสนามกีฬาหน้าอาคาร 100 ปี สร้างหลังคากันสาดบริเวณทางเดินหน้าอาคาร 2 อาคาร 40 ปี อาคาร 4 โภชนาการ 2 อาคารประกอบ เพิ่มขึ้น ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าอาคาร 2 และอาคาร 4 และได้เป็นโรงเรียนในเครือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนในเรื่องวิชาการของโรงเรียน โดยได้ให้ความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนชลประทานวิทยาเป็นพิเศษ และโรงเรียนได้มีการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
* ในปี พ.ศ. 2554 มีการปรับปรุงอาคารอนุบาล (อาคาร 5) เป็นอาคาร 2 ชั้น
* ในปี พ.ศ. 2555 เริ่มก่อสร้างอาคารหอประชุม 3 ชั้น ด้านหลังอาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2557 โดยชั้นล่างจะเป็นลานจอดรถในร่ม
 
==รายละเอียดของอาคารเรียนในโรงเรียน (ปีการศึกษา 2550)==