ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในสี่คณะแรกเริ่มที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการสถาปนา[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ในชื่อ"คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ให้กับนิสิต[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะแพทยศาสตร์]] และ[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะวิศวกรรมศาสตร์]] เพื่อนำไปประยุกต์ในการศึกษาขั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ยังมีแผนกฝึกหัดครู (ต่อมาเป็น[[คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะครุศาสตร์]]) ที่เป็นแหล่งผลิตครูวิทยาศาสตร์ เพื่อสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาอีกด้วย แต่เนื่องจากสมัยนั้น อาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์ คือ แพทย์สามัญ ซึ่งไม่สามารถสอนวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้นิสิตที่จบการศึกษามีความรู้ค่อนข้างจำกัด อีกทั้งการเรียนการสอนยังมีอุปสรรค เช่น นิสิตไม่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถนำตำราต่างประเทศมาใช้ในการสอนได้
 
[[ไฟล์:ตึกขาว จุฬาฯ.jpg|thumb|left|300px|ตึกขาว ปัจจุบันคือตึกชีววิทยา 1]][[ไฟล์:MHMK.jpg|200250px|thumbnail|right|อาคารมหามกุฎ อาคารเรียนรวมของคณะวิทยาศาสตร์]]
ดังนั้น ในวันที่ [[10 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2465]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์]] ให้ทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ดำเนินการขอความอนุเคราะห์จาก[[มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์]] ในการปรับปรุงการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือนี้มีกำหนด 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลไทยจะต้องสร้างศาลาวิทยาศาสตร์หนึ่งหลัง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ นับเป็นอาคารวิทยาศาสตร์หลังแรกที่รู้จักกันในนาม "''ตึกขาว''" ซึ่งเป็นตึกที่เก่าแก่ที่สุดในคณะ และจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในอนาคตซึ่งห้ามมิให้ทำการรื้อถอนใดๆ นอกจากการก่อสร้างศาลาวิทยาศาสตร์แล้ว รัฐบาลไทยต้องตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา โดยที่ทางมูลนิธิฯ จะออกเงินจ้างอาจารย์ภาษาอังกฤษให้ 1 คนเป็นเวลา 3 ปี และมูลนิธิฯจะให้ทุนนิสิตและอาจารย์ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ณ ต่างประเทศ เพื่อให้กลับมารับตำแหน่งแทนศาสตราจารย์ของมูลนิธิฯ จากความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ทำให้คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น สามารถผลิตอาจารย์วิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถในการสอนวิชาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และคณะก็มีสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งนิสิตเพิ่มมากขึ้น
[[ไฟล์:SCคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ.jpg|300250px|thumbnail|left|กลุ่มอาคารของคณะวิทยาศาสตร์ ]]
ในวันที่ [[22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2476]] ได้มีพระราชกฤษฎีกา วางระเบียบกรมต่างๆในกระทรวงธรรมการ ([[กระทรวงศึกษาธิการ]]ในปัจจุบัน) และมีการประกาศแยกคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองคณะ แต่ในวันที่ 29 มกราคม ปีเดียวกัน (ในสมัยนั้น พ.ศ.ของไทยเริ่มนับจากเดือนเมษายน) ก็มีประกาศให้คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวมกันอีกครั้ง จนในที่สุด ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีประกาศแยก[[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะอักษรศาสตร์]]และคณะวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองคณะอีกครั้งหนึ่ง