ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภัตตาคาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wap (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ภัตตาคาร''' หรือ '''ร้านอาหาร''' เป็นร้านที่คอยบริการอาหารตามความต้องการของลูกค้า ตาม[[พจนานุกรม ฉบับราชบันฑิตยสถาน]] พ.ศ. 2525 หมายถึง อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
ทอม พาวเวอร์ ให้ความหมายของ "ภัตตาคาร" หรือ "restaurant" ว่า คำว่า"restaurant" มากจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึง การให้กำลังงาน (restorer of energy) โดยใช้คำนี้มาตั้งแต่ต้นศริสต์ศักราช 1700 (ประมาณ พ.ศ. 2243) เพื่ออธิบายถึงสถานที่ให้บริการซุปและขนมปัง ในปัจจุบันคำว่าภัตตาคาร เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่สาธารณะที่มีการเตรียมอาหารสำหรับผู้บริโภทหรืออาหารนอกสถานที่
เดนนิส เอล ฟอสเตอร์ ได้กล่าวว่า "restaurant" มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า"restaurabo" แปลว่า"ฉันมาเติมให้เต็มหรืออิ่มหน่ำ"
== วิวัฒนาการของภัตตาคาร ==
คำว่า Restaurant เป็นคำที่มาจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]] ''restaurer'' ซึ่งแปลว่า Restore ปรากฏว่าใช้ครั้งแรกเมื่อ[[คริสต์ศตวรรษที่ 16]] ซึ่งร้านอาหารในสมัยนั้นไม่มีความหลากหลายเท่าในสมัยนี้ คือ จะมีแต่อาหารธรรมดาในราคาปกติ จะมีอาหารเพียงชนิดเดียว เปิดขายอาหารให้กับพวกนักเดินทางและไม่มีที่นั่งรับประทานภายในร้าน ร้านอาหารซึ่งเก่าแก่ที่สุดตาม[[บันทึกสถิติโลกกินเนสส์]] ได้บันทึกไว้ว่า ร้าน Sobrino De Butin กรุง[[มาดริด]] [[ประเทศสเปน]] เป็นร้านอาหารที่เก่าแก่ที่สุดโลก เปิดทำการเมื่อปี ค.ศ. 1725 และยังคงเปิดทำการในปัจจุบัน{{อ้างอิง}} ร้านอาหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยจนกระทั่งมาถึงในปี [[ค.ศ. 1765]] ซึ่งเป็นช่วงที่มี[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] มีการปรับปรุงร้านอาหารจากการที่เป็นที่ที่ขายอาหารที่มีเพียงอย่างเดียวในแต่ละวัน ให้กลายเป็นร้านอาหารที่สามารถรับประทานอาหารภายในได้ มีโต๊ะมีเก้าอี้ มีการบริการที่ดีกว่าเดิม มีรายการอาหารให้เลือกหลากหลาย
 
งานการครัวก็พัฒนาไปพร้อมกับการพัฒนา[[ร้านอาหาร]] โดยมีเชฟ Auguste Escoffier ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "[[บิดาแห่งการครัว]]" เพราะเชฟผู้นี้เป็นผู้ที่ริเริ่มการบริการอาหารแบบใหม่ พัฒนารสชาติ สูตร และเทคนิคต่างๆต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานให้พัฒนามาถึงปัจจุบัน
 
=== วิวัฒนาการของภัตตาคารในไทย ===
เกิดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นยุคของการเปิดประเทศ มีการสร้างที่พักแรมตะวันตกลักษณะคล้าย “[[โฮเต็ล]]” ชื่อ บอร์ดดิง เฮาส์ (Boarding houses) ที่[[ตำบลโคกควาย]] ริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ในปี [[พ.ศ. 2506]] มีการสร้าง[[โรงแรม]]ขึ้น 2 [[โรงแรม]]คือ [[โรงแรมโอเรียนเต็ล]] (Oriental hotel) และโรงแรมฟิซเซอร์ (Fisher’s hotel)
 
ในสมัยนั้นเองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีคอฟฟี่ชอปแห่งแรกชื่อ [[ร้านกาแฟนรสิงห์]] ตั้งอยู่ที่[[ถนนเสือป่า]] ดำเนินการโดยทางราชการ กรมมหรสพหลวงจัด[[ดนตรี]]แสดงที่คอฟฟี่ชอปแห่งนี้
 
[[พ.ศ. 2465]] สมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มี[[โรงแรม]]ที่ดำเนินการโดยทางราชการเป็นแห่งแรก คือ [[โรงแรมหัวหิน]] สร้างเพื่อรองรับแขกเมือง สร้างแบบ[[ยุโรป]] มีอาหารอย่างดีแบบ[[อังกฤษ]] พนักงานเสิร์ฟนุ่งผ้าม่วง ใส่[[เสื้อราชปะแตน]] และสถานที่จัดเลี้ยงหรูหรามากที่สุดในสมัยนั้น อีก 4 ปีต่อมามีการดัดแปลง[[วังพญาไท]]เป็น[[โรงแรม]] เรียกว่า [[โฮเต็ลวังพญาไทย]][[กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน| สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน]] ผู้บัญชาการกรมการรถไฟแผ่นดินเป็นผู้อำนวยการโรงแรม หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลทหารบกหรือ [[โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า]] ในปัจจุบัน
 
ด้านเครื่องดื่ม ในยุคนั้น ย่านยานนาวามีร้านที่เรียกว่า ”[[เบียร์ฮอล์]]” เป็นสถานที่เต้นรำ มี[[อาหาร]]ขายพร้อม[[สุรา]]ต่างประเทศ ต่อมาจึงนิยมเปิดขายอีกหลายแห่งและทางบริษัท[[เบียร์]]ที่ผลิตในไทย ได้ทำการส่งเสริมการขายประสบความสำเร็จ ทำให้คนไทยหันมาดื่ม[[เบียร์]]ที่ผลิตใน[[ไทย]]กันมากขึ้นสำหรับร้าน[[อาหารไทย]]ทั่วไป เช่น ร้านขาย[[อาหารจีน]] มักตั้งในย่าน[[ถนนเยาวราช]] [[ถนนราชวงศ์]] [[ถนนทรงวาด]] เป็นต้น อาหารที่ขายมีทั้งบะหมี่ [[ก๋วยเตี๋ยว]][[ ข้าวมันไก่]] มีบริการเสิร์ฟถึงรถ โดยเอาถาดอาหารแขวนไว้ที่หน้าต่างรถ หากไม่อยากมานั่งรับประทานที่ริมถนน และในย่าน[[เยาวราช ]] มีการสร้างอาคารสูง 7-9 ชั้น เพื่อเป็นที่ขายอาหารจีนอย่างหรูหรา มี[[โรงน้ำชา]] [[โรงนวด]] [[โรงระบำ]] และ[[บ่อนการพนัน]] ความเจริญของร้านอาหารจีนทำให้เกิด[[ภัตตาคารจีน]]ขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง รวมทั้งเป็นแหล่งที่ขายอาหารสำหรับนัก[[ท่องเที่ยว]]ตอนกลางคืน
 
ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมในอดีต เช่น อาหาร[[อินเดีย]] จะมีมากในย่านที่คน[[อินเดีย]]อาศัยอยู่ เช่น [[ถนนสุรวงค์]] [[ บางรัก]] และย่าน[[พาหุรัด]]
 
ในปี [[พ.ศ. 2502]] รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น[[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]]) ทำหน้าที่ขยาย[[เศรษฐกิจการท่องเที่ยว]] ทำให้เกิด[[โรงแรม]]ขนาดใหญ่ มีวิธีการจัดการที่ได้มาตรฐานสากลในด้าน[[อาหาร]]และ[[เครื่องดื่ม]] มีการปั้นเนยเทียม การแกะสลักน้ำแข็ง ใช้ไฟส่องประดับโต๊ะอาหาร มีการแข่งขันทางด้านบริการ และสถานที่ ๆ ให้ความหรูหรา
 
=== การจำแนกประเภทโดยกระทรวงสาธารณสุข ===
 
สำนักงานโครงการสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย [[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]] ได้ให้ความหมายของร้านอาหารประเภทต่าง ๆ โดยจำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
# ห้องอาหารใน[[โรงแรม]]หมายถึง ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม
# ภัตตาคาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ 2 คูหาขึ้นไป ที่รับประทานอยู่ภายในอาคารพนักงานแต่งกายมีแบบฟอร์ม
# สวนอาหาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ ที่รับประทานอาหารส่วนใหญ่ อยู่นอกอาคารบรรยากาศเป็นแบบธรรมชาติ พนักงานแต่งกายมีเครื่องแบบ
# ร้านอาหารทั่วไป หมายถึง ร้านอาหารขนาดเล็ก 1-2 คูหา ที่รับประทานอาหารอยู่ภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นอาหารประจำถิ่น หรือเป็นอาหารเฉพาะ เช่น [[ข้าวแกง]] [[ก๋วยเตี๋ยว ]] [[ข้าวมันไก่]] ข้าวหมูแดง[[ส้มตำ]] ฯลฯ
# ร้านเครื่องดื่ม ขนมหวาน หรือ[[ไอศกรีม]] หมายถึง ร้านที่จำหน่ายเฉพาะ[[เครื่องดื่ม]] [[ขนมหวาน]] หรือ[[ไอศกรีม]] เท่านั้น
 
 
 
[[หมวดหมู่:ภัตตาคาร| ]]