ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อธิการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 1:
'''อธิการ''' ({{lang-en|authority; superior}}) มาจากคำใน[[ภาษาบาลี]] "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี<ref>พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) และจำลอง สารพัดนึก, ''พจนานุกรม บาลี-ไทย สำหรับนักศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่'', พิมพ์ครั้งที่ 3, 2538, หน้า 16</ref> ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้าน[[การปกครอง]] พบทั้งใน[[ศาสนจักร]] และการ[[ทหาร]]
 
== ศาสนจักร ==
=== พุทธจักร ===
:''ดูบทความหลักที่ [[พระสังฆาธิการ]]''
'''อธิการ'''ของ[[พระสงฆ์]]เรียกว่า[[พระสังฆาธิการ]] ซึ่งหมายถึงพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งใน[[การปกครองคณะสงฆ์ไทย]]ตั้งแต่ระดับ[[เจ้าคณะภาค]]ลงมาจนถึงผู้ช่วย[[เจ้าอาวาส]]<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = [[ราชบัณฑิตยสถาน,]]|ชื่อหนังสือ ''= [[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒'',2554]] 2546,เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554|URL = |จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = ราชบัณฑิตยสถาน|ปี = 2556|ISBN = 978-616-7073-56-9|จำนวนหน้า 1160= 1,544|หน้า=1,200}}</ref> และเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่มี[[สมณศักดิ์]]ว่า'''พระอธิการ''' เรียก[[เจ้าคณะตำบล]]หรือพระ[[พระอุปัชฌาย์]]ที่ไม่มีสมณศักดิ์ว่า'''เจ้าอธิการ'''
 
=== คริสตจักร ===
ใน[[คริสตจักร]] คำว่าอธิการใช้หมายถึงนักบวชที่มีตำแหน่งในการปกครอง ถ้าเป็นสตรีเรียกว่า'''อธิการิณี''' อธิการมีหลายประเภท ดังนี้
* [[อธิการโบสถ์]] (parish priest) คือ [[บาทหลวง]]ที่ได้รับมอบหมายจาก[[มุขนายกประจำมุขมณฑล]]ให้มีหน้าที่ปกครอง[[เขตแพริช]] มีผู้ช่วยเรียกว่า[[ผู้ช่วยอธิการโบสถ์]] (curate)
* [[อธิการเซมินารี]] (recterrector (of seminary)) คือบาทหลวงที่มีหน้าที่ปกครอง[[เซมินารี]]
* [[อธิการบ้านนักบวช]] (superior of religious house) คือ[[นักบวชคาทอลิก]] (อาจไม่ใช่บาทหลวงก็ได้) ที่มีหน้าที่ปกครองบ้านนักบวช
* [[อธิการเจ้าคณะแขวง]] (provincial superior) คือนักบวชคาทอลิกที่ปกครองแขวงคณะนักบวช (เป็นหน่วยเขตการปกครองที่ประกอบด้วยบ้านนักบวชหลายบ้านในพื้นที่เดียวกัน)
* [[อธิการอาราม]] (abbot) หมายถึง[[นักพรต]]ที่ปกครอง[[อาราม]]หรือ[[แอบบีย์]]
* [[อัคราธิการ]]หรือ[[มหาธิการ]] (superior general; master superior) หมายถึงนักบวชที่เป็นผู้ปกครองสูงสุดใน[[คณะนักบวชคาทอลิก]]แต่ละคณะ ในกฎหมายศาสนจักรจึงเรียกว่า'''อธิการสูงสุด'''<ref>[http://www.catholic.or.th/archive/laws/lawch13/lawch041.html ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 2 มาตรา 622]</ref>
* [[อธิการชั้นผู้ใหญ่]] (major moderator) ตาม[[ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร]]หมายถึงอธิการสูงสุดและอธิการเจ้าคณะแขวง (รวมถึงผู้ช่วยของตำแหน่งเหล่านี้) ส่วนอธิการอารามถือว่ามีฐานะเทียบเท่าอธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่ไม่ได้มีอำนาจเท่าอธิการชั้นผู้ใหญ่เสียทั้งหมด
 
== การทหาร ==
อธิการอาจหมายถึง
* [[พลาธิการ]] (quartermaster) คือหน่วยงานทหารและตำรวจที่ควบคุมการจัดที่พัก เครื่องใช้ อาหาร<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 770818</ref>
* [[เสนาธิการ]] (chief of staff) คือทหารที่ทำหน้าที่หาข่าวสาร ประมาณการ แนะนำ ทำแผนและคำสั่ง ประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับหน่วยทหาร แต่ไม่มีอำนาจบัญชาการหน่วยทหาร<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 12141254</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:การปกครองของคณะสงฆ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของศาสนาคริสต์]]
{{แก้กำกวม}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อธิการ"