ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหารขยะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Gulputt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อาหารขยะ''' (Junk Food) หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารน้อย ซึ่งประกอบด้วย น้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งเมื่อรับประทานเป็นประจำ จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย อาหารขยะเช่น ลูกอม น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
อาหารขยะมีการใช้สารอาหารต่างๆในการปรุงแต่งและดัดแปลง เพื่อให้อาหารมีรสชาติที่อร่อยแหละง่ายต่อการรับประทาน เช่น ผงชูรส สารแต่งสีอาหาร สารกันบูด สารกันหืน สารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารอันตราย ถ้าได้รับในปริมาณสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือในปริมาณเกินกว่าร่างกายจะรับได้ อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้<refsup>[http://variety.teenee.com/foodforbrain/16208.html]</refsup>
 
== ประเภทของอาหารขยะ ==
บรรทัด 11:
 
=== ประเภทอาหารขยะ แบ่งตาม ส่วนประกอบ/คุณค่าทางโภชนาการ ของอาหาร ===
*อาหารประเภททอด เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด จะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เพราะว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูก ทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดี การที่เรารับประทานอาหารขยะ เรานั้นจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ 1 มื้อ ถ้ารับประทานบ่อยเกินไปอาจมีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้
*อาหารหรือขนมที่มีเกลือ โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยภายในหนึ่งวัน แต่อาหารประเภทอาหารขยะ จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่สูงมากหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มก.
*อาหารประเภทน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ลูกอม โดนัท จะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก การที่เราทานรับประทานเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดฟันผุอีกด้วย
*อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายก็จริงแต่หากเรากินรับประทานเข้าไปมากเกินความต้องการในหนึ่งมื้อ ส่วนที่เหลือใช้ก็จะเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย ก็จะทำให้เกิดโรคอ้วน
 
== สภาพของปัญหาอาหารขยะ ==
การบริโภคอาหารขยะเกินความจำเป็นนั้นมาจากการที่คนไทยขาดความรู้ในเรื่องของการโภชนาการ และขาดความยับยั้งชั่งใจในการเลือกอาหารเพื่อการบริโภค
สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะวิถีชีวิตของประชาชนที่อยู่ในเมืองหลวง เช่น กรุงเทพมหานคร มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่บีบรัด ทำให้ภารกิจประจำวันต้องมีการรีบเร่ง แข่งขันกับเวลา ต้องพบกับปัญหาการจราจร ไม่มีเวลาเตรียมอาหารด้วยตนเอง และไม่มีเวลามากพอที่จะเลือกอาหารที่มีคุณภาพ หรือถูกคุณลักษณะมาบริโภค บางคนต้องรับประทานอาหารด้วยความเร่งรีบ ทำให้ต้องตัดสินใจซื้ออาหารประเภทอาหารจานด่วน ซึ่งเป็นอาหารที่ปรุงสุกเร็ว แต่คุณค่าทางโภชนาการน้อย และบางคนอาจไม่มีความรู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการเลือกอาหารมาบริโภค ซึ่งสถานการณ์หรือเหตุผลเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหาการบริโภคอาหารขยะเกินความจำเป็นของคนไทย หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาจะทำให้ทรัพยากรบุคคลของประเทศมีศักยภาพและคุณภาพลดลง
ในปัจจุบัน ชีวิตประจำวันของผู้คน โดยเฉพาะคนในเมืองหลวง มีความเป็นอยู่ที่เร่งรีบมากกว่าในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก การจะหาอาหารจานหลักมารับประทาน หรือนั่งรออาหาร หรือรับประทานอาหารจานหลักในร้านอาหารเป็นเวลานาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกอย่างมากที่จะทำในหลายๆโอกาส จึงเป็นสาเหตุให้ผู้คน หันไปบริโภคอาหารขยะมากขึ้น เพราะความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ของสังคมที่เร่งรีบในยุคนี้
อีกประการหนึ่ง ผู้คนส่วนใหญ่ในสมัยนี้มีความเป็นสังคมวัตถุนิยมสูงมาก ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมานิยมรับประทานอาหารขยะต่างๆ ตามกระแสสังคมนิยม เพียงเพราะความอยากรู้อยากลองของใหม่ก็ดี เลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคมก็ดี หรือเพียงต้องการอวดรวย เพราะคิดว่า การได้รับประทานอาหารเหล่านั้น ทำให้ตนเองมีหน้ามีตาในสังคม มีผู้คนสนใจ และไม่ตกเทรนด์
เส้น 39 ⟶ 41:
 
== วิธีรับมือและแก้ไขปัญหาอาหารขยะ ==
ทุกคนควรรับประทานอาหารที่มีพลังงาน และสารอาหารเพียงพอไม่มาก หรือน้อยเกินไป รับประทานไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดที่รับประทานใน 1 วัน รับประทานไขมันอิ่มตัวซึ่งมีมากในไขมันสัตว์และเนื้อสัตว์ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 รับประทานคลอเลสเตอรอลน้อยกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน (ไข่แดง 1 ฟองจะมีคลอเลสเตอรอลประมาณ 300 มิลลิกรัม) รับประทานคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้จากอาหารประเภทแป้งหรือข้าวร้อยละ 50-60 โปรตีนซึ่งได้จากอาหารประเภทเนื้อนมไข่ร้อยละ 15-20 และควรรับประทานผัก และผลไม้สดเพื่อให้ได้ใยอาหารเป็นประจำ ซึ่งกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำแนวทางการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการดังนี้<refsup>[http://www.nurse.cmu.ac.th/hf/nutrition1/nine.htm]</refsup>
*กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
*กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
เส้น 52 ⟶ 54:
 
== อ้างอิง ==
#[http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=920 อาหารขยะ “Junk Food” คืออะไร]
{{รายการอ้างอิง}}
#[http://www.nurse.cmu.ac.th/hf/nutrition1/nine.htm 9 วิธีกินดีเพื่อสุขภาพ]
 
== บรรณานุกรม ==
*วินัย ดะห์ลัน. ( 2542). โภชนาการเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ฉบับผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี จำกัด.
*อบเชย วงศ์ทอง. ( 2546). โภชนศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.