ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิม ทอมป์สัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ลืมดู
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{Infobox person
| name = {{PAGENAME}}
| birth_name = '''เจมส์ แฮร์ริสัน วิลสัน ทอมป์สัน'''
| birth_date = [[21 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2449]]
| birth_place = กรีนวิลล์, เดลาแวร์, [[สหรัฐอเมริกา]]
| image = Jimthomsonpic.jpg
| image_size = 210px
| disappeared_date = [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2510]] (อายุ 61 ปี)
| disappeared_place = คาเมนรอย ไฮแลนด์, [[ประเทศมาเลเซีย]]
| disappeared_status = [[การบังคับให้บุคคลสูญหาย|บุคคลสูญหายที่เสียชีวิต]]
| citizenship = [[ชาวอเมริกัน]]
| known_for = ชาวต่างชาติที่นำผ้าไหมไทยสู่สากล
| alma_mater = [[มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน]]<br />[[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย]]
| occupation = ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จิม ทอมป์สัน (ประเทศไทย)
| spouse = Patricia Thraves (หย่าร้างแล้ว)
}}
 
'''จิม ทอมป์สัน''' หรือชื่อเต็ม '''เจมส์ แฮร์ริสัน วิลสัน ทอมป์สัน''' ({{lang-en|James Harrison Wilson Thompson}}) เกิด วันที่ [[21 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1906]] - ตาย [[ค.ศ. 1967]]? เป็นนักธุรกิจชาว[[อเมริกัน]] ที่มีชื่อเสียงจากการทำธุรกิจ[[ผ้าไหม]]ใน[[ประเทศไทย]] และก่อตั้ง'''บริษัท จิม ทอมป์สัน'''ขึ้น เขาหายตัวไปจากโรงแรมบนแคเมอรอนไฮแลนด์ รัฐอิโปห์[[ประเทศมาเลเซีย]] โดยไม่มีใครทราบเหตุการณ์ที่แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา
 
== ประวัติ ==
จิม ทอมป์สันเกิดเมื่อ ค.ศ. 1906 ในเมืองกรีนวิลล์ [[รัฐเดลาแวร์]] [[สหรัฐอเมริกา]] เข้าศึกษาระดับมัธยมในเมืองวิลมิงตัน และจากนั้นเข้าโรงเรียนประจำ เซนต์พอล และ[[มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน]] ระหว่างปี [[ค.ศ. 1924]] – [[ค.ศ. 1982|1928]] แม้ว่าเขาจะสนใจด้านศิลปะ แต่ก็เลือกที่จะเป็นสถาปนิก และศึกษาต่อด้าน[[สถาปัตยกรรม]]จาก[[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย]] เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานด้านสถาปัตยกรรมในมหานคร[[นิวยอร์ก]] กระทั่ง [[ค.ศ. 1940]]
 
ในระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้นใน[[ยุโรป]] จิมจึงอาสาสมัครเข้าเป็นทหารใน[[กองทัพบก]]ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญในชีวิตของเขา ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] จิมได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักงานด้านยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services -- OSS) ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยสอบสวนกลาง (Central Intelligence Agency หรือ CIA) ทำให้เขามีโอกาสเดินทางไปหลายที่ทั่วโลก โดยเขาได้รับมอบหมายให้ทำงานกับกองทัพฝรั่งเศสใน[[แอฟริกา]]ตอนเหนือ โดยมีกำหนดจะส่งเขาไปยัง[[อิตาลี]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] และ[[เอเชีย]]ด้วย ทั้งนี้จิมได้ฝึกฝนเรียนรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอดในป่ามาเป็นอย่างดี
 
จิมมา[[กรุงเทพฯ]] เป็นครั้งแรก เมื่อเดือน[[กันยายน]] [[ค.ศ. 1945]] ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง ภารกิจเดิมของจิมในตะวันออกไกลก็คือ โดดร่มลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อต่อต้านกองทัพ[[ญี่ปุ่น]] แต่เมื่อสหรัฐทิ้ง[[ระเบิดปรมาณู]]ลงที่ญี่ปุ่น ภารกิจของจิมจึงเปลี่ยนไป เขาต้องรีบมุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ โดยตรง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เขาได้รับตำแหน่งหัวหน้าสถานียุทธศาสตร์ในกรุงเทพ และมีหน้าที่ฟื้นฟู[[สถานทูตอเมริกา|สถานเอกอัครทูตสหรัฐอเมริกา]]ขึ้นใหม่ นอกจากนี้เขายังหลงใหลในชีวิตชนบทของไทย ทำให้เขาใช้ชีวิตในประเทศไทยต่อไป
 
== กิจการผ้าไหม ==
ในปี [[ค.ศ. 1946]] จิมปลดประจำการจากกองทัพ แต่เขายังคงใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทย โดยวางโครงการที่จะทำอาชีพใหม่ ขณะเดียวกันก็ได้ทำงานปรับปรุง[[โรงแรมโอเรียลเต็ล]]ที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ระหว่างอาศัยในเมืองไทย จิมได้เดินทางไปหลายที่ในภาคอีสาน และมีความสนใจอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไหมในครัวเรือน ซึ่งในเวลานั้นการทอผ้าไหมซบเซาไปมาก เนื่องจากเป็นภาวะหลังสงคราม ขณะเดียวกันการทอผ้าด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนถูกกว่า และผลิตได้มากกว่า เริ่มเป็นที่นิยมกันทั่วไป กล่าวกันว่าในเวลานั้นมีช่างทอผ้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยังคง[[หม่อน|ปลูกหม่อน]][[ไหม|เลี้ยงไหม]] ย้อมด้าย ทอผ้าใต้ถุนบ้าน
 
เมื่อจิมได้เห็นคุณภาพของผ้าไหมทอมือเหล่านี้ก็รู้สึกตื่นเต้นและสนใจอย่างยิ่ง ด้วยเป็นผ้าที่มีความแตกต่างจากผ้าไหมที่ผลิตจากเครื่องจักร ซึ่งแม้ว่ามีความเรียบ สม่ำเสมอกว่า แต่ก็ขาดเอกลักษณ์ของงานฝีมือ เขาจึงวางแผนที่จะฟื้นฟูกิจการทอผ้าไหมของไทย (ซึ่งเคยมีแผนพัฒนาอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง [[รัชกาลที่ 5]] มาก่อนแล้ว) และเชื่อว่าหากมีการจัดการอย่างเหมาะสม ผ้าไหมไทยจะเป็นที่นิยมกว้างขวางขึ้นอย่างแน่นอน
 
เมื่อกลับมากรุงเทพฯ จิมก็พยายามสืบหาอุตสาหกรรมไหมไทย และรวบรวมตัวอย่างผ้าไหมไทยเท่าที่จะหาได้ ทั้งยังได้ปรึกษามิตรสหาย และเปรียบเทียบกับตัวอย่างใน[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]] ระหว่างนี้เอง ทำให้เขาได้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานอันประณีตของช่างทอผ้าชาวไทย
บรรทัด 35:
[[ไฟล์:Jim Thompson house.jpg|right|200px|thumb|บ้านจิม ทอมป์สัน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ อยู่ตรงข้ามชุมชนบ้านครัว กรุงเทพฯ]]
 
เมื่อ ค.ศ. 1947 ขณะที่จิมเริ่มเสาะหาผ้า เวลานั้น[[ผ้าไหมไทย]]เริ่มจะไม่มีเหลือแล้ว ตระกูลช่างทอผ้าต่างเลิกอาชีพดั้งเดิม ทั้งยังกระจัดกระจายไปยังตำบลอื่นๆอื่น ๆ เพราะการทอผ้าแบบเดิมมีรายได้น้อยมาก ที่ทำอยู่ก็เป็นเพียงนอกเวลางานหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีชุมชนทอผ้าแห่งหนึ่งหลงเหลืออยู่ในพระนคร นั่นคือ [[ชุมชนบ้านครัว]] ริม[[คลองแสนแสบ]] ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม ท่ามกลางวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่รายรอบ ทว่าก็ไม่ได้ทอผ้ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
 
จิมเริ่มไปสำรวจที่บ้านครัว และทำความรู้จักสนิทสนมกับช่างทอที่นั่น ทั้งยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการทอผ้าไปด้วย ในภายหลังจิมได้ทราบว่าผู้คนที่นั่นเป็น[[แขกจาม]] ที่อพยพมากรุงเทพฯ เมื่อครั้งไทยรบกัมพูชา เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา จิมได้ปรึกษาเจมส์ สกอตต์ ทูตพาณิชย์สหรัฐประจำประเทศไทย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในดามัสคัสมาก่อน ทั้งสองตกลงที่จะผลักดันการผลิตผ้าตกไหมแบบ[[ซีเรีย]] และไม่ช้าก็พัฒนาเป็นสิ่งค้าส่งออกได้อย่างดี
 
หลังจากนั้นจิมได้นำตัวอย่างผ้าไหมแบบดั้งเดิมไปเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา เขาเข้าหา แฟรงก์ คราวนินชีลด์ (Frank Crowninshield) บรรณาธิการของนิตยสาร '''Vanity Fair''' ซึ่งสนิทสนมกันมาก่อน และเป็นผู้ที่จิมคิดว่าน่าจะสามารถเชื่อมความสัมพันธ์กับวงการอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ จากนั้นเขาได้รู้จักกับเอ็ดนา วูลแมน เชส (Edna Woolman Chase) ซึ่งภายหลังเป็นบรรณาธิการนิตยสาร '''Vogue''' ซึ่งเมื่อเชสได้เห็นผ้าไหมของช่างทอบ้านครัวก็รู้สึกชอบใจทันที อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา เสื้อผ้าไหมที่ออกแบบโดยวาเลนทินา (Valentina) นักออกแบบเสื้อผ้าผู้มีชื่อเสียงของนิวยอร์กก็ได้ปรากฏโฉมในนิตยสาร Vogue อย่างสง่างาม
 
หลังจากนั้นจิมได้ก่อตั้งบริษัทขึ้น ในปี ค.ศ. 1948 และส่งเสริมให้ชาวบ้านครัวทอผ้าโดยอิสระ แล้วไปรับซื้อโดยตรง เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และคงคุณภาพไว้อย่างเดิม เขานั่งเรือจากฝั่งตรงข้าม ไปยังชุมชนบ้านครัวทุกวัน เพื่อตรวจสอบผ้า ให้คำแนะนำ และซื้อผ้าทอเหล่านั้น กระทั่งช่างทอที่บ้านครัวมีฐานะดีขึ้น บางคนถึงมีฐานะในระดับเศรษฐี มีเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้านครบครันกันถ้วนหน้า (ในเวลานั้น) ในขณะเดียวกัน ธุรกิจผ้าไหมไทยเจ้าอื่นๆอื่น ๆ ก็เริ่มสดใส
 
== การหายตัวไป ==
ตอนบ่ายวันอาทิตย์ที่ [[26 มีนาคม]] ค.ศ. 1967 จิม หรือเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน ก็หายตัวไปจากโรงแรมแห่งหนึ่งใน[[ประเทศมาเลเซีย]] ขณะเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนวันหยุด และไม่มีใครทราบชะตากรรมของเขานับแต่นั้น มีเพียงพยานรู้เห็นว่า เขาเดินออกจากกระท่อมที่พักตามปกติ แล้วไม่กลับมาอีกเลย บ้างก็ว่าถูกโจรฆ่าตาย หรือเป็นแผนร้ายของคู่แข่งทางธุรกิจ ฯลฯ
 
จิมได้ทิ้งมรดกเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไหมไทย และเรือนไทยไม้สักที่ปัจจุบันกลายเป็น[[พิพิธภัณฑ์]]ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมีการรวบรวมศิลปวัตถุของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ[[พระพุทธรูป]]ยุคสมัยต่างๆต่าง
 
[[พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน]] อยู่ในความดูแลของมูลนิธิจิม ทอมป์สัน ได้รับรางวัล[[อาคารอนุรักษ์|อาคารอนุรักษ์ดีเด่น]] ประจำปี พ.ศ. 2539 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์