ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
'''ชาวไทพวน''' หรือ '''ชาวลาวพวน''' เป็น[[กลุ่มชาติพันธุ์ไท]] ใช้[[ภาษาพวน]] ซึ่งเป็น[[ตระกูลภาษาไท-กะได]] อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว
 
เหง้าตระกูลของราชวงศ์ลาวพวน
พระเจ้าขุนบูลม หรือ ขุนบูลมราชาธิราช เป็นปฐมกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของลาว โดยที่นักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ยังบ่สามารถให้ความกระจ่างแจ้ง หรือให้รายละเอียดได้ว่า พระองค์ เดิมมาจากถิ่นแดนใด เป็นพระราชโอรสหรือเป็นลูกหลานของไผ เกิดมาจากชนชาติชนเผ่าใด…
นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสท่านหนึ่ง ได้เขียนในปื้ม “BULLETIN DE L’ECOLE FRANCAISE D’EXTREME-ORIENT” โดยพาดหัวเรื่องว่า “ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรเชียงขวางในอดีต” (LES ANNALES DE L’ANCIEN ROYAUME DE S’ IENG KHWANG) บรรยายว่า ตามคำสั่งของพระยาแถน พระเจ้าขุนบูลมได้ขี่ช้างที่มีงาขว่ายกัน พาย ดาบ “แม่วี” ติดตามโดยพระมเหสี 2 องค์ คือ พระนางเจ้าเอ็ดแคง และ พระนางเจ้ายมพาลา ที่นั่งอยู่ทางเบื้องหลัง เสด็จลงมาแต่เทิงฟ้า เพื่อลงมาสร้างสาพัฒนาอาณาจักรหนึ่งให้เจริญรุ่งเรือง…
นักประวัติศาสตร์อังกฤษอีก 2 ท่าน (สามีและภรรยา) ได้เขียนในปื้ม “ราชอาณาจักรทั้งมวลของลาว” (THE KINGDOMS OF LAOS) โดยพาดหัวเรื่องที่เป็นคำถามว่า “จักรวาลลาว เริ่มตั้งจากไสมา” (WHERE THE LAO WORLD BEGAN) โดยอิงใส่ “ตำนานของขุนบูลม” (THE LEGEND OF KHUN BOULOM) บรรยายว่า พระยาแถน พระเจ้าแห่งเมืองสวรรค์ ได้เหลียวลงมาเบิ่งโลกด้วยความโศกเศร้าเหงาพระทัย เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโลกมนุษย์ บ่มีระเบียบแบบแผนและจุดมุ่งหมาย จึงได้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการจัดส่งผู้ยิ่งใหญ่ลงมาสร้างสาพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง
พระองค์ (พระยาแถน) จึงได้ซอกค้นหาที่ปรึกษาภายในของพระองค์ แล้วก็ตัดสินพระทัยเลือกเอาพระเจ้าขุนบูลมผู้ที่มีความฉลาดส่องใส ให้ลงมาเสวยราชย์อยู่เทิงดินแดนแห่งนี้ของโลกมนุษย์ จากนั้น พระเจ้าขุนบูลมพร้อมด้วยพระมเหสี 2 องค์ คือ พระนางเจ้าเอ็ดแคง เอกอัครมเหสีและ พระนางเจ้าโยมะกะระ เทวีซ้าย ก็ปรากฏตัวอยู่เทิงโลกมนุษย์ อยู่บนหลังช้างเผือกขาว ที่มีหูดำทั้งสองก้ำ มีงาที่ประดับด้วยแสงยิบยับแวววาวก่งขว่าย กัน….กล่าวถึงที่มาของพระเจ้าขุนบูลมในทำนองนี้ นักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งก็ได้เขียนไว้คล้ายๆคือกัน
ถึงจะมีการยั้งยืนอย่างละเอียด ถึงที่มาของพระเจ้าขุนบูลม จากนักประวัติศาสตร์ตะวันตกทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และอื่นๆอีก จากตำนานต่างๆก็ตาม ยังมีนักประวัติศาสตร์อีกหลายๆท่านได้ลงความเห็นไว้ว่า การปรากฏตัวของพระเจ้าขุนบูลมในทำนองนี้ เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์บ่สามารถรับได้ เพราะพวกเราและนักอวกาศทั้งหลายที่บินอ้อมโลกจักรวาลมาหลายครั้ง หลายหน หลายวันและหลายคืน ยังบ่เคยได้พบเห็นพระยาแถนจักเทื่อ ว่าเพิ่นสถิตอยู่แห่งหนบนฟ้าใด บ่เคยรู้เห็นว่าเพิ่นมีรูปร่างแนวใด น้อยใหญ่ หรือ ต่ำสูงเพียงใด เหมือนมนุษย์ชนเรานี้หรือบ่ ? …..
แนวใดก็ตาม พวกเราขอลงความเห็นว่า พระเจ้าขุนบูลมคงจะแม่นลูกหลานที่เกิดมาจากชนเผ่า “ไต” หรือ “ไท” นั้นแล้ว เพราะว่าในเวลานั้น อยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่มณฑลเสฉวนลงถึงมณฑลฮุนนาน ได้มีคนเผ่าไต หรือ ไท ปะปนกันอยู่กับพวกฮ่อ, พวกหาน, พวกเจ็ก และพวกจีน ที่ต่อสู้กันด้วยอาวุธเป็นประจำ เพื่อจะท้อนโฮม ประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ชนะ ด้วยเหตุนั้น จึงมีประวัติศาสตร์ของ “สามก๊ก” เผยแผ่ออกมาให้พวกเราได้รู้ได้เห็นเท่าทุกวันนี้
ชนเผ่า “ไต” หรือ “ไท” ประกอบด้วย ไทลาว, ไทพวน, ไทม้ง, ไทลื้อ, ไทยวน, ไทจวาง,
ไทโถ, ไทเหนือ, ไทดำ, ไทแดง, ไทขาว, ไทเขิน, ไทกุลา, ไทอาหม, ไทสาน, ไทเม้ย, ไทย้อ, ไทละว้า, ไทสยาม, ไทส่วย, ไทมะหาไช, ไทตั่งหวาย, ไทสวันผู่ไท, ไทย้าว, ไทก้อ, ไทกุ่ย, ไทลานแตน, ไทมูเซอ และอีกหลายๆเผ่า ไท น้อยๆต่อๆไป
นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสคนหนึ่ง ก็ได้ยั้งยืนว่า อยู่ในอาณาจักร “น่านเจ้า” หรือ อาณาจักร “หนองแส” ประชาชนได้แบ่งออกเป็น “สาม” ชนเผ่าใหญ่คือ เผ่าใหญ่ที่ 1 เอิ้นว่าเผ่า “อ้ายลาว”, เผ่าใหญ่ที่ 2 เอิ้นว่าเผ่า “พวน” และเผ่าใหญ่ที่ 3 เอิ้นว่าเผ่า “ม้ง” ชนเผ่าอ้ายลาวและชนเผ่าพวน ทำมาหากินในท่งเพียง ด้วยการเฮ็ดนา เพื่อปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ ส่วนชนเผ่าม้งนั้น มักม้างป่าอยู่เทิงภูดอย เฮ็ดไร่เพื่อปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์คือกัน…
ในศตวรรษที่ 7 ระหว่างปี ค.ศ. 729 – 749 พระเจ้าขุนบูลม หรือ ขุนบูลมราชาธิราช ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นประมุขอาณาจักร “น่านเจ้า” หรือ อาณาจักร “หนองแส” ซึ่งปัจจุบันจีนเอิ้นว่า “ตาลีฟู” และได้สร้างสาพัฒนาอาณาเขตแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรืองสุดขีด แต่เนื่องจากว่าการสู้รบกันอย่างบ่หยุดยั้ง แบบเอาเป็นเอาตายระหว่าง “สามก๊ก” เพื่อสร้างระบอบศักดินารวมศูนย์, ฟื้นฟู หรือทดแทนระบอบศักดินาของราชวงศ์ “ฮั่น” ที่ถูกโค่นล้มไป…ในระหว่างการสู้รบกันอย่างร้ายแรงนั้น ทหารที่บ่มีระเบียบของก๊ก “โจโฉ” ซึ่งจีนเอิ้นว่า “ก๊กพวกโจรผ้าเหลือง” เพราะก๊กนี้ ได้ใช้ทุง สีเหลืองเป็นทุงประจำ “ก๊ก” ของตน ทำการเข่นฆ่าและปล้นสดมภ์ประชาชนพร้อมๆกัน จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าขุนบูลมต้องได้ยับย้ายถอยลงมาทางภาคใต้ของจีน และได้มาตั้งนครหลวงหนึ่งขึ้น ชื่อว่า เมือง “กาหลง” อันกลายมาเป็นเมือง “เชียงรุ่ง” ของแคว้นสิบสองปันนา เดี๋ยวนี้ แต่ทหารของ “โจโฉ” ที่เป็นทั้งทหารและโจรผ้าเหลือง ยังติดตามและไล่ปล้นสดมภ์ลงมาเรื่อยๆ
พระเจ้าขุนบูลมมีพระมเหสี 2 องค์ ทรงพระนามว่า “พระนางเจ้าเอ็ดแคง” หรือ “พระนางงงฟ้า” และ “พระนางเจ้ายมพาลา”
นักประวัติศาสาตร์ทั้งหลายยังบ่เห็นเป็นเอกภาพกันว่า พระนางองค์ใดเป็นเอกอัคมเหสีและพระนางองค์ใดเป็นเทวีซ้าย เพียงแต่เห็นพ้องนำกันว่า เอกอัคมเหสีเป็นราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิเมืองจีน และ ประสูติราชโอรส 3 องค์ ทรงพระนามว่า “ขุนลอ”, “หลกกม” และ “เจ็ดเจือง” ส่วนเทวีซ้ายนั้นประสูติราชโอรส 4 องค์ ทรงพระนามว่า “ยี่ผาล้าน”, “สามจุสง”, “สายผง” และ “งัวอิน”
 
 
ลำดับของอายุ และบ่อนเสวยราชย์ ของราชโอรส ของพระเจ้าขุนบูลม
1/ ขุนลอ ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองซัว หรือ หลวงพระบาง ปัจจุบัน
2/ ยี่ผาล้าน ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองต้าหอ หรือ สิบสองพันนา ปัจจุบัน
3/ สามจุสง ให้ไปปกครองสร้างสา หัวเมืองทั้งหก ใน ประเทศเวียดนาม ปัจจุบัน
4/ สายผง ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองล้านนา เชียงใหม่ ประเทศไทย ปัจจุบัน
5/ งัวอิน ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองอยุธยา ประเทศไทย ปัจจุบัน
6/ หลกกม ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ปัจจุบัน
7/ เจ็ดเจือง ให้ไปปกครองสร้างสา เมืองพวน หรือ เชียงขวาง ปัจจุบัน
หลังจากพระเจ้าขุนบูลมได้สวรรคตไปแล้ว ขุนลอ และเจ็ดเจืองผู้เป็นอนุชาร่วมมารดา ก็ได้ถอยลงมาตั้งอยู่ “นาน้อยอ้อยหนู” ที่เอิ้นว่าเมืองแถง หรือ เมืองแถน (DIEN BIEN PHU) ในเขตสิบสองจุไท ในดินแดนเวียดนาม ปัจจุบัน
ในสมัยนั้น เป็นสมัยที่ชนเผ่า “ไต” หรือ “ไท” แตกแยกกันไปอยู่คนละทิศละทาง ชนเผ่าลื้อภาคส่วนใหญ่ มาตั้งอยู่แคว้นสิบสองพันนา ชนเผ่าสานได้แตกหนีไปอยู่แคว้นอาสัม และไปอยู่ในภาคตะวันออกของอินเดีย ชนเผ่าอาหมได้แตกหนีไปอยู่ภาคตะวันออกของดินแดนพม่า ที่เอิ้นว่า ไทอาหม พวกไทจวงได้แตกหนีไปอยู่ภาคตะวันออกของประเทศเวียดนาม …. ภาคส่วนที่ยังเหลือก็ได้พากันหลั่งไหลติดตามมานำขุนลอและขุนเจ็ดเจือง ที่ลงมาต่อสู้กับชนชาติขอม ที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศลาว และของประเทศไทยในปัจจุบันนี้
หลังจากได้รับการช่วยเหลือ และการสนับสนุน จากชนเผ่าไทยลาวและชนเผ่าไทพวน ที่ลงมาแต่ทางภาคเหนือนั้นแล้ว ชนเผ่าไทยวนก็ได้ไปตียึดครองเอาดินแดนเชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, เชียงราย และพะเยา ส่วนชนเผ่าละว้านั้น เขาเจ้าได้ไปยึดเอาภาคกลาง ที่เอิ้นว่า จังหวัดลพบุรีปัจจุบัน ชนเผ่าไทสยามร่วมกันกับเผ่าไทยวน, ไทละว้า, ไทลาว และไทพวน ได้พร้อมกันตีซุ ชนเผ่าขอมให้ถอยลงไปเทื่อละเล็กละน้อย จนยังเหลืออยู่แต่ในดินแดนเขมรและอยู่ในภาคใต้ของลาวเท่านั้น ส่วนชนเผ่าขอมที่เอิ้นกันว่า ลาวเทิง นั้น บ่ได้อพยพหนีลงไปนำหมู่ จึงยังค้างคาอยู่ตามสายภูหลวง อยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศลาวปัจจุบัน
ในเวลาที่ชนเผ่าไทลาว ไทละว้า และไทพวนยังบ่ทันลงมาฮอดภาคเหนือของลาวนั้น, ชนเผ่าขมุได้ปกครองตั้งแต่แขวงบอริคัน ขึ้นไปฮอดแขวงหลวงน้ำทา ผู้ปกครองของชาวขมุ มีนามว่า ท้าวยี่ เมื่อใหญ่ขึ้นมา ท้าวยี่ได้เปลี่ยนชื่อของตนเองมาเป็นท้าวฮุ่ง และเมื่อได้มีอิทธิพลปกครองชาวขมุแล้ว ท้าวฮุ่งก็ได้เปลี่ยนชื่อของตนเองอีก มาเป็น ท้าวเจือง…ตามความเว้าของพวกผู้เฒ่าลาวเทิงที่รู้เรื่อง และจื่อจำประวัติของพวกเขาเจ้าดี ได้เล่าเรื่องให้สาวเอื้อยน้องโกลาน ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ฝรั่งเศส ด้านประวัติศาสตร์และวัตถุโบราณ ที่ได้มาสำรวจและขุดค้น เพื่อสรุปเบิ่งความเป็นจริงของไหเหล้าเจือง และได้สืบถามถึงประวัติของท้าวเจือง นั้น ได้ความว่า ท้าวเจือง หรือ ท้าวฮุ่ง หรือ ท้าวยี่ผู้นี้ เกิดอยู่ภูยวน ที่อยู่ทางภาคเหนือของแขวงเชียงขวาง เป็นลูกของท้าวบามดและนางอี่แก้ว ท้าวยี่มีอ้ายผู้หนึ่งชื่อว่า ท้าวบากวา
ประวัติเล่าลือกันว่าท้าวยี่ หรือ ท้าวฮุ่ง หรือ ท้าวเจืองนี้ เป็นคนฉลาดหลักแหลมหลาย รู้ขุดเอาเหล็กอยู่ภูยวน ออกมาสร้างศาสตราอาวุธ รู้สร้างตั้งและฝึกแอบกองทหาร ได้แต่งตั้งนายทหารคือท้าวบากวา ผู้เป็นอ้ายของตน ให้ไปรักษาขอบเขตแขวงเชียงขวาง ท้าวบาทอง และ ท้าวบากำให้ไปรักษาท้องถิ่นต่างๆ ตั้งแต่เขตแขวงเชียงขวางขึ้นไปฮอดแขวงหลวงน้ำทา ส่วนท้าวบากองและท้าวแองกา ให้ติดตามท้าวเจือง เพื่อนำกองทหารไปตีเอาเมืองเงินยาง ซึ่งแม่นเมืองชียงแสนประเทศไทยปัจจุบัน แล้วตีลงไปฮอดเมืองพะเยา
ไปฮอดเมืองพะเยา ท้าวเจืองได้พบกับนางง้อม ผู้เป็นลูกสาวของเจ้าเมืองพะเยา ได้มักรักกับนางง้อม และได้ขอแต่งดองเอากับนางง้อม มาเป็นภรรยา หลังจากได้แต่งดองกับนางง้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท้าวเจืองก็ได้พาภรรยากลับคืนมาอยู่เมืองกัด ซึ่งแม่นโพนสวันปัจจุบัน และได้มอบภาระหน้าที่ให้ลูกน้องปกครองดินแดนเมืองเงินยาง และเมืองพะเยา ที่พวกตนตีเอามาได้นั้น และพร้อมมอบให้สืบต่อป้องกันดินแดนของตน ที่ถูกรุกรานจากภาคเหนืออยู่อย่างเป็นเนืองนิตย์…
เมื่อท้าวเจืองได้กลับคืนถึงเมืองกัดแล้ว ก็ได้ออกไปสู้รบกับกองทหารที่ลงมาจากทางภาคเหนือ แล้วก็เลยเสียชีวิตอยู่ในสนามรบครั้งนั้น ประวัติศาสตร์เล่าลือว่า ท้าวเจืองถูกฆ่าตายอยู่เทิงคอช้าง ในเวลาที่เข้าสู้รบแบบประจัญบาญกับขุนลอ….
(มีตำนานหนึ่งอีก ได้บรรยายอย่างยืดยาว ถึงความเก่งกล้าสามารถของท้าวเจืองในสมัยนั้น มีเมียถึง 10 คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นลูกสาวของพญาของเมืองต่างๆ ที่ตนตีเอามาได้ และได้เขียนไว้อีกว่า ในเวลาที่เสียชีวิต ถูกแทงอยู่เทิงคอช้างนั้น ท้าวเจืองมีอายุได้ 77 ปีแล้ว แต่แนวใดก็ตาม ตำนานนี้ซ้ำพัดเว้าว่า เป็นตำนาน “นิยายอิงประวัติศาสตร์” จึงเข้าใจว่า อาจมีความจริงและความบ่จริงปะปนกันไป)
เมื่อรู้ว่า ท้าวเจือง เสียชีวิตแล้ว ท้าวบากวาและท้าวแองกา ก็ได้พาลูกน้องเข้าสวามิภักดิ์ต่อกองกำลังของขุนลอและขุนเจ็ดเจือง ชัยชนะของขุนลอและขุนเจ็ดเจืองดังกล่าว ได้ส่งเสียงสะท้อนและโด่งดังไปทั่วอาณา และได้สร้างเงื่อนไขให้ชนเผ่าไตหรือไท ถอยหนีจากนครน่านเจ้า นครกาหลง และเมืองแถง ลงมาตั้งอยู่ในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำของ ชนเผ่าไทยลาวที่อยู่ภายใต้การบัญชาของขุนลอ ก็ได้พากันไปตั้งอยู่เมืองเชียงทอง ซึ่งแต่ก่อนเอิ้นว่า เมืองซัว และปัจจุบันเอิ้นว่า หลวงพระบาง แล้วก็ขยายไปฮอดดินแดนของไทยวน ไทสยาม และไทละว้า ได้ยึดเอาดินแดนตั้งแต่หลวงพระบาง
 
==ประวัติ==