ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jiraporn muangporm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
นักเคมีใช้องค์ความรู้นี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสมบัติของสสารที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน รวมถึงสร้างและสังเคราะห์สสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปริมาณมาก ๆ และสร้างสสารจำลองและกระบวนการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักเคมีอาจมีความรู้เฉพาะในระเบียบย่อยใด ๆ ของเคมีก็ได้ นัก[[วัสดุศาสตร์]]และช่างโลหะ<!--metallurgist--> มีพื้นฐานความรู้และทักษะทางเคมีเหมือนกัน งานของนักเคมีมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของ[[วิศวกรรมเคมี]] ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการประเมินค่าของ[[โรงงานเคมี]]ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุด และทำงานในระดับเคมีอุตสาหกรรมในการพัฒนากระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
 
 
 
 
*มารี คูรี Marie Curie นักเคมีสตรี แห่งปีเคมีสากล 2554
[[ไฟล์:Marie Curie.jpg|150px|thumbnail|left|มารี คูรี]]
:พ.ศ. 2410 -2477
มาเรีย สโคดอฟสกา คูรี(Marie sklodowska Curie)หรือที่รู้จักกันในประเทศฝรั่งเศสว่า มารี คูรี เป็นนักเคมีฟิสิกส์ฝั่งเศสเชื้อชาติโปรแลนด์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีและสาขาฟิสิกส์ด้วยรางวัลศึกษาะรรมชาติของกรัมตรังสีและการพบธาตุเรเดียมและ โปโลเนียมนอกจากผลงานที่โด่งดังนี้แล้ว เธอยังเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับดุษฎีบัณฑิตและเป็นศาสตร์ตราจารย์สตรีคนแรกแห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปารีสด้วย เมื่อบุตรสาวของเธอชื่อ อีฟ คูรี(Eve Curie)เรียบเรียงหนังสือชีวประวัติเรื่อง Madame Curie ออกวางจำหน่ายเธอก็กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โลกรู้จักดีเป็นอันดับ 2 รองจาก อัลเบิร์ต ไอร์สไตร์
มาเรียสโคดอฟสกา เกิดที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปรแลนด์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2410 ซึ่งเป็นเวลาที่โปรแลนด์กำลังถูกรัสเซียยึดครอง ชาวโปรแลนด์จำนวนมากที่ต่อต้านรัศเซียจะถูกฆ่า จำขังหรือถูกนิรเทศไปไซบีเรีย นอกจากนี้รัฐบาลรัสเซียยังบังคับใช้ให้นักเรียนโปรแลนด์ทุกคนต้องเรียนภาษารัสเซียเพื่อไม่ให้ชาวโปรแลนด์มีภาษาของตัวเอง และรัสเซียไม่สนับสนุนให้ชาวโปรแลนด์รับการศึกษาชั้นสูง ยิ่งเป้นสตรียิ่งไม่ให้โอกาสเลย เด็กหญิงมาเรียผู้ใฝ่รู้จึงคิดเดินทางไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยดราคอฟ ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในความปกครองของของออสเตรีย แต่เมื่อเธอสมัครไปก็ได้รับคำตอบว่า เธอน่าจะเรียนคณะคหกรรมศาสตร์มากกว่า มาเรียจึงเปลี่ยนความตั้งใจไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสแทน โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปารีสเพราะเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง และสตรียุโรป เช่น ผู้หญิงชาวอังกฤษ ที่ต้องการเรียนแพทย์ก็มักเลือกไปฝรั่งเศสเธอจึงสมัครไปที่ซอร์บอบน์และได้รับการตอบรับ
 
 
 
 
*อาร์เรเนียล (Arrhenius) บิดาของเคมีสารละลาย
[[ไฟล์:Arrhenius.jpg|150px|thumbnail|left|อาร์เรเนียล]]
:พ.ศ.2402 - 2470
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฟรีดริช วิลเฮล์ม โคลเราช์ (Friedrich Wilhelm Kohlrausch) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันแห่งมหาวิทยาลัยเวือร์ชบูร์ก ได้ทดลองวัดสภาพนำไฟฟ้าในสารละลายและพบว่า เมื่อนำโลหะสองชนิดจุ่มในน้ำบริสุทธิ์จะไม่มีกระแสไฟฟ้า ดังนั้นน้ำจึงเป็นฉนวนแต่เมื่อเติมเกลือหรือกรดลงไปเพียงเล็กน้อย จะมีกระแสไฟฟ้าไหลทันทีเขาจึงเสนอความคิดว่า กระแสไฟฟ้าเกาะติดไปกับโมเลกุล
ของตัวถูกละลาย แต่เมื่อเขาผ่านกระแสไฟฟ้าไปในผงเกลือบิรสุทธิ์ ถ้ากระแสไหลไปกับโมเลกุลของเกลือได้จริงเขาก็ควรเห็นกระแสไฟฟ้าไหลแต่กลับไม่เห็นอะไรเลย ดังนั้นผงเกลือจึงเป็นฉนวนเหตุการน์นี้ได้สร้างความงุนงงให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์มากเพราะไม่มีใครรู้คำตอบหรือมีคำอภิบายว่า อะไรเกิดขึ้นเวลากระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปในสารละลายสวันเด เอากุสต์อาร์เรเนียล (Svante August Arrhenius) เป็นนักเคมีคนหนึ่งที่สนใจปริศนานี้ เขาเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2402 (ตรงกับรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ที่อยู่บ้านวิกใกล้เมืองอุปซอลาในสวีเดน บิดาชื่อ สวันเต กุสตาฟอาร์เรเนียล(SvanteGustaf Arrhenius) และมารดาชื่อคาโรไลนา(Carolina) บรรพบุรุษของตะกูลนี้เป็นชาวนา แต่บิดามีอาชีพเป็นช่างรังวัดที่ดิน
 
 
 
 
*แบร์ซีเลียส (Berzelius) นักเคมีผู้ปฏิรูปการเขียนภาษาเคมี
[[ไฟล์:Berzelius.jpg|150px|thumbnail|left|แบร์ซีเลียส]]
:พ.ศ. 2322 - 2391
ตำราเคมีในโบราณมักมีรูปภาพและลักษณ์ประหลาดๆเกลื่อนกลาดไปหมด เพราะนักเล่นแปรธาตุในสมัยนั้นต่างก็กำหนดภาษาขึ้นใช้เอง เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเข้าใจ และต้องการให้ผู้อ่านสับสน เช่นใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแทนสบู่ ใช้วงกลมสองวงที่มีเส้นตรงเส้นหนึ่งเชื่อมโยงแทนแก้ว และใช้วงกลมเดียวแทนทองคำ ดังนั้นตำราเคมีจึงมีภาพแปลกๆมากมาย จนเสมือนถูกเขียนเป็นภาษาอียิปต์โบราณด้วยอักษร hieroglyphicนอกจากนี้ตำรายังขาดความสม่ำเสมอด้วย เช่น อันโตนิโอ เนรี นักเคมีชาวอิตาลี ใช้สัญลักษณ์ไม่ต่ำกว่า20รูปแบบแทนปรอทด้านเดียว ส่วนตะกั่วก็ใช้สัญลักษณ์ที่ต่างกันถึง14รูปแบบเป็นต้น เมื่อถึงยุคของพรีลต์ลีย์ โลหะที่ผู้คนสมัยนั้นรู้จักมีเจ็กชนิด คือ ทองคำ เงิน ตะกั่ว ดีบุก ทองแดง เหล็ก และบรอนซ์ ส่วนดาวเคราะห์ที่รู้จักมีห้าดวง ซึ่งถ้ารวมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็เป็นเจ็ดดวง ด้วยเหตุนี้ชนเผ่าดาลเดียนจึงกำหนดเทพเจ้าประจำดาวแต่ละดวง และโลหะแต่ละชนิดเช่น ทองคำคู่กับดวงอาทิตย์ เงินคู่กับดวงจันทร์ ตะกั่วคู่กับดาวเสาร์ ดีบุกคู่กับดาวพฤหัสบดี เหล็กคู่กับดาวอังคาร ทองแดงคู่กับดาวศุกร์ และบรอนซ์คู่กับ ดาวพุธ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนโลหะจึงเป็นภาพดาวที่คล้องจองกัน ในเวลาต่อมานักเคมีได้รู้จักธาตุและสารประกอบมากขึ้น เช่น นิกเกิล สังกะสี พลวง โคนอลต์ กรดกำมะถัน ฯลฯ การตั้งชื่อและเรียกชื่อจึงยิ่งสับสน จึงลาวัวซีเยต้องคิดการเรียกชื่อสารเคมีใหม่ เช่นใช้วงกลมและใส่อักษรกรีก หรือละตินซึ้งเป็นอักษรตัวแเรกของชื่อธาตุลงในวงกลมนั้น ใน พ.ศ. 2239 แบร์ซีเลียสแห่งมหาวิทยาลัยอุปชอลาในสวีเดนจึงเข้ามาจัดวิธีการสื่อสารทางเคมมีให้เป็นระบบยอนส์ ยาคอบ แบร์ซีเลียส เกิดเมื่อปี พ.ศ.2322 ในครอบครัวมีฐานะยากจน เมื่อบิดาเสียชีวิต เด็กชายแบร์ซีเลียสจึงไปเรียนที่โรงเรียนแห่งเมืองลินคอปิง ในเบื้องต้นแบร์ซีเลียสใฝ่ฝันจะเป็นนักเทศน์แต่เมื่อเรียนๆไปเขากลับสนใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต และพยายามหาเงินเรียนหนังสือด้วยการสอนพิเศษให้ลูก
 
 
 
 
*เวอเลอร์ (Wöhler) ผู้บุกเบิกการสังเคราะห์สารอินทรีย์
[[ไฟล์:Friedrich woehler.jpg|150px|thumbnail|left|เวอเลอร์]]
:พ.ศ. 2343 -2425
นักเคมีเมื่อ200ปีก่อนเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกพลังชีวิต(Vital force)ซึ่งสิ่งไม่มีชีวิตไม่มี ดังนั้นสารใด ก็ตามที่มีในสิ่งมีชีวิตมนุษย์จะสังเคราะห์จากสิ่งไม่มีชีวิตไม่ได้นั่นคือ มนุษย์ไม่มีวันเก่งเท่าธรรมชาติ แม้แต่ปราชญ์เช่นแบร์ซีเลียสก็เคยปรารภว่า นักเคมีไม่สามารถสร้างสารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ได้ และเลโอโปลด์ เมลลิน (Leopold Gmelin)ผู้เป็นอาจารย์ของฟรีดริซ เวอเลอร์
(Friedrich Wöhler) ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่าไม่มีใครสามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้ แต่ ฟรีดริซ เวอเลอร์ วัย23ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการฝึกงานที่ห้องปฏิบัติงานเคมีของแบร์ซีเลียสที่สตอกโฮล์มเพื่อมาสอนที่โรงเรียนธุรกิจในนครเบอร์ลินกลับไม่เชื่อ เขาคิดว่าถ้าพระเจ้าสร้างกฎข้อห้ามนี้ มนุษย์ก็ต้องหาวิธีฝ่าฝืน ดังนั้นเวอเลอร์จึงคิดจะหา Vital force ให้จงได้ ซึ่งถ้าพบเขาก็จะทำให้วิทยาการเคมีก้าวหน้าเพราะนักเคมีจะใช้ Vital force ผลิตสารอินทรีย์ต่างๆได้หมดและความสำเร็จนี้จะยิ่งใหญ่เทียบเท่าความสำเร็จของลาวัวซีเยที่พบว่าสารโฟลจิสตันไม่มีในธรรมชาติ เวอเลอร์เริ่มทำงานโดยศึกษาผลงานของ มิเชล อูเซ แชฟเวิล นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้พบว่าไขมันที่มีในสัตว์และในพืชมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน ดังนั้นเขาจึงคิดว่า ความเชื่อที่ว่าพืชกับสัตว์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้นไม่ถูกต้องและไม่สมควรเชื่ออีกต่อไป เวอเล่อร์เริ่มทำงานอย่างช้าๆโดยใช้สารอนินทรีย์ต่างๆทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก เขาจำได้ว่าเมื่อครั้งที่ไปฝึกงานที่ห้องปฏิบัติการของแบร์ซีเลียส เขาเคยสร้างผลึกสีขาวแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ในที่สุดหลังจากเพียรพยายามทดลองนาน4ปี เหตุการณ์มหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เมื่อเขาเห็นผลึกสีขาวรูปร่างคล้ายเข็มและมีสีสุกใสเหมือนผลึกที่รูแอล(Rouelie) อาจารย์เคมีของลาวัวซีเยเคยพบในปัสสาวะเมื่อ 50ปีก่อน และในเวลาต่อมา ฟูร์ครัวตั้งชื่อผลึกนั้นว่ายูเรีย และผลึกนี้จะพบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น เวอเล่อร์มั่นใจว่าสิ่งที่เขาเห็นในห้องปฏิบัติการคือ ผลึกยูเรีย เพราะเขาเคยเขียนเรียงความเรื่องของเสียที่พบในปัสสาวะ เขาจึงรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะการสังเคราะห์ยูเรียได้ในห้องปฏิบัติการเป็นการทำลายความเชื่อเดิมที่ผิด และวิธีการของเขาจะเปิดประตูใหม่ให้นักเคมีสามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งมีชีวิตอีกต่อไป
 
<ref>สุทัศน์ ยกส้าน.2554.'''สุดยอดนักเคมีโลก'''.กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554</ref>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==