ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเสมอภาคทางสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4:
แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคนั้นสามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงสมัยกรีกจากงานเขียนของ[[เพลโต้]] (Plato) และ[[อริสโตเติล]] (Aristotle) ที่ได้โจมตีแนวคิด[[ประชาธิปไตย]]แบบ[[เอเธนส์]]ที่มีพื้นฐานอยู่บนความเท่าเทียมกันนั้นว่าไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดเพราะคนแตกต่างกัน คนบางคนโง่ คนบางคนฉลาด คนแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน คนบางคนไม่เหมาะกับการบริหารกิจการสาธารณะ หรือไม่เหมาะที่จะเป็น[[ทหาร]] เมื่อพิจารณางานเขียนในยุคสมัยใหม่ นักคิดคนแรกที่เสนอว่ามนุษย์เท่าเทียมกันก็คือ นักคิดชาวอังกฤษ [[โธมัส ฮอบส์]] (Thomas Hobbes) โดยฮอบส์ ได้เขียนงานที่โด่งดัง ชื่อว่า “เลอไว่อาเธิน” (Leviathan) ตอนหนึ่งมีการกล่าวถึงธรรมชาติของ[[มนุษย์]]ว่า “มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าเมื่อจะพิจารณาแล้วว่า มีความแตกต่างทางด้านร่างกาย หรือสติปัญญาก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอะไรที่จะทำให้มนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งสิ่งที่เสมอภาคกันของฮอบส์คือการที่ทุกคนเท่าเทียมกันในเรื่องการอ้างผลประโยชน์ และความสามารถที่จะทำร้ายผู้อื่นได้เท่าๆ กัน” (Hobbes, 1985: 183)<ref>Hobbes, Thomas (1985). Leviathan. London: Penguin.</ref>
 
นอกจากฮอบส์ แล้วยังมีนักคิดอย่าง[[จอห์น ล็อคล็อก]] (John Locke) และ [[ฌ็อง-ฌัก รูโซ|ฌอง ฌากส์ รุสโซ]] (Jean-Jacques Rousseau) ซึ่งล้วนเป็นนักคิดสมัยใหม่ที่ล้วนแต่นำเสนอว่า[[มนุษย์]]แต่ละคนต่างเท่าเทียมกัน โดยความเสมอภาคของล็อคล็อกนั้นเน้นหนักอยู่ที่[[สิทธิ]]ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดอันไม่สามารถพรากไปได้ (natural rights) และการที่[[มนุษย์]]ทุกคนมี[[สิทธิ]]ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดจึงส่งผลให้คนทุกๆคนนั้นเท่าเทียมกัน ในขณะที่ความเสมอภาคของ[[รุสโซ]] นั้นมีจุดเน้นอยู่ที่มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพและการที่ทุกๆคนมี[[เสรีภาพ]] ทำให้คนทุกๆคนเท่าเทียมกัน อนึ่งด้วยวิธีคิดของนักคิดทั้งสามคนที่ถือว่าเป็นรากฐานของความเป็นสมัยใหม่ได้ก่อให้เกิด[[ทฤษฎีการเมือง]]ที่ต่อเนื่องจากแนวคิดความเสมอภาคนั่นก็คือ ทฤษฎี[[สัญญาประชาคม]] ที่เสนอว่าการเกิดขึ้นของ[[รัฐ]]มีที่มาจากการที่[[มนุษย์]]แต่ละคนจะมาตกลงทำสัญญากันก่อตั้งรัฐ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถบีบบังคับให้มนุษย์คนอื่นๆเข้าร่วม[[สังคม]]หรือ[[รัฐ]]ได้ถ้าตัวเขาไม่ยินยอม ในที่สุดแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคก็ได้นำไปสู่สองเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์โลก]]สมัยใหม่นั่นก็คือ [[การปฏิวัติอเมริกัน]] ปี ค.ศ. 1776 และ[[การปฏิวัติฝรั่งเศส|การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส]] ปี ค.ศ. 1789 ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นการ[[ปฏิวัติ]]โดยมีความคิดพื้นฐานเพื่อยืนยันถึงเรื่องที่มนุษย์นั้นเกิดมาเท่าเทียมกัน
 
ในปัจจุบัน มโนทัศน์เรื่องความเสมอภาคมีบทบาทสำคัญในวงวิชาการเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ[[การกระจายรายได้]]หรือผลประโยชน์ทาง[[เศรษฐกิจ]] การเข้าถึง[[ทรัพยากร]]และ[[บริการสาธารณะ]] การกระจายการจ้างงานหรือโอกาสการทำงาน ประเด็นที่เกี่ยวกับการมีตัวแทนในทางการเมืองของบุคคล กลุ่มทางสังคม หรือการมีตัวแทนแห่งรัฐ รวมถึง การเรียกร้องของกลุ่ม “[[สตรีนิยม]]” (Feminism) ที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของสตรี ให้ยุติการถูกเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศ ป้องกันความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพ โครงสร้าง และ[[วัฒนธรรม]]ต่อ[[ผู้หญิง]] อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวก็เป็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน