ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮีเลียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5973350 สร้างโดย Alisa nokkhaw (พูดคุย)
Alisa nokkhaw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
ฮีเลียมที่มีอยู่ใน[[เอกภพ]] มีมากเป็นอันดับสองรองจาก[[ไฮโดรเจน]] และมีปริมาณหนาแน่นใน[[ดาวฤกษ์]] ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จาก[[ไฮโดรเจน]]นั่นเอง โดยอาศัย[[ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น]] แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏใน[[บรรยากาศ]]ของ[[โลก]]เพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏใน[[แร่กัมมันตรังสี]] [[โลหะ]]จาก[[อุกกาบาต]] และ[[น้ำพุแร่]] แต่ฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติใน[[สหรัฐอเมริกา]] (โดยเฉพาะในรัฐ[[เทกซัส]], [[นิวเม็กซิโก]], [[แคนซัส]], [[โอคลาโฮมา]], [[แอริโซนา]] และ[[ยูทาห์]]) นอกจากนั้นพบใน [[ประเทศอัลจีเรีย|อัลจีเรีย]], [[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]], [[ประเทศรัสเซีย|สหพันธรัฐรัสเซีย]], [[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]] และ [[ประเทศกาตาร์|กาตาร์]]
 
==คุณสมบัติของฮีเลียม==
 
#1.ฮีเลียมไม่ติดไฟไม่ว่าจะอยู่ในบรรยากาศหรือความกดดันใดๆ จึงไม่ทำให้เกิดการระเบิดในบอลลูน
#2.อะตอมของฮีเลียมใหญ่กว่าอะตอมของไฮโดรเจนมันจึงไม่ซึมรั่งไหลออกมาจากถุงที่บรรจุไว้รวดเร็วเท่าไฮโดรเจน
 
==ฮีเลียมเหลว==
 
ฮีเลียมเหลวมีอุณหภูมิต่ำใกล้ 0 องศาสัมบูรณ์ กำลังมีบทบาทในการศึกษาเอกภพเพราะ Grigory Volovik ได้พบว่าฮีเลียมเหลวชนิด 3He มีคุณสมบัติของเอกภพ 4 มิติ ดังนั้นจึงนำมาทดลองศึกษาธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงและหลุมดำ และเมื่อ 30 ปีก่อนนี้ Stephen Hawking ได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่าเมื่อเขานำทฤษฎีควอนตรัมมาใช้กับหลุมดำ พลังงานบางส่วนสามารถเล็ดลอดจากหลุมดำได้ ดังนั้นจึงสูญเสียมวลโดยการแพร่รังสี Hawking แต่รังสีนี้มีความเขมน้อยมาก จึงทำให้หลุมดำที่หนักต้องใช้เวลานานเป็นหมื่นล้านปีจึงจะสลายตัวหมด และเวลาอยู่ในสภาพของเหลว ถ้าอุณหภูมิต่ำถึง 2.18 องศาสัมบูรณ์ ฮีเลียมเหลวจะกลายเป็นชองเหลวยวดยิ่งที่สามารถไหลผ่านรูเล็กๆได้อย่างสบายเหมือนไม่มีแรงหนืดใดๆ ต่อต้านเลยและเพราะฮีเลียมจะไม่มีวันเป็นของแข็ง ไม่ว่าอุณหภูมิจะลดเพียงใด
 
== การนำไปใช้ประโยชน์ ==
 
#1.มีความหนาแน่นต่ำ
* ก๊าซฮีเลียมมี[[ความหนาแน่น]]ที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทน[[ก๊าซไฮโดรเจน]]ซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของ[[เรือเหาะฮินเดนบวร์ก]]ของ[[เยอรมนี]] และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของ[[ก๊าซไฮโดรเจน]]
#2.มีจุดเดือดมาก
* มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับ[[นักดำน้ำ]] เพื่อป้องกันการเกิด[[โรคเบนด์]] ([[Bends]])
#3.ความสามารถในการละลายต่ำ
* ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 [[องศาเซลเซียส]]) นำไปใช้เกี่ยวกับ[[ตัวนำยิ่งยวด]] ([[Superconductor]])
#4.เฉื่อยต่อปฏิกิริยา
== รายการอ้างอิง ==
#5.ไม่ติดไฟ
{{รายการอ้างอิง}}
#6.ไม่มีพิษ
 
==อันตรายต่อสุขภาพอนามัย==
 
*สัมผัสทางการหายใจ-ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กดประสาทสัมผัส อาจทำให้เสียชีวิตได้
*สัมผัสทางผิวหนัง-มีอาการเหมือนน้ำแข็งกัด ทำให้ผิวหนังซีดเป็นสีขาว
*สัมผัสถูกตา-มีอาการเหมอนน้ำแข็งกัด
*ก่อมะเร็ง ความผิดปกติอื่นๆ -ทำให้มีอาการเหมือนน้ำแข็งกัด อันตรายของก๊าซนี้ทำให้หมดสติ เนื่องจากขาดออกซิเจน
<ref>
http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci2/helium/helium3.htm
</ref>
<ref>http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000122615</ref>
<ref>http://student.mahidol.ac.th/~u4903013/</ref>
<ref>http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1043&pageid=10&read=true&count=true</ref>
<ref>http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/table40.html</ref>
 
 
{{ตารางธาตุย่อ}}
 
{{แม่แบบ:Compact periodic table}}
 
{{โครงเคมี}}