ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหภาพโซเวียต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Black Lantern (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Black Lantern (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 105:
'''สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต''' ({{lang-ru|Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP}}; {{lang-en|Union of Soviet Socialist Republics - USSR}}) หรือย่อเป็น '''สหภาพโซเวียต''' ({{lang-en|Soviet Union}}) เป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนนินบน[[ทวีปยูเรเซีย]] มีอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 ถึง 1991 ปกครองแบบรัฐพรรคการเมืองเดียวโดย[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต|พรรคคอมมิวนิสต์]] มีกรุง[[มอสโก]]เป็นเมืองหลวง เป็นสหภาพของหลายสาธารณรัฐโซเวียตต่ำกว่าประเทศ (subnational) การปกครองและเศรษฐกิจรวมศูนย์อย่างมาก
 
สหภาพโซเวียตมีรากเหง้าใน[[การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917]] ซึ่งโค่น[[จักรวรรดิรัสเซีย]] จากนั้น [[พรรคบอลเชวิก]] กลุ่มแยกฝ่ายข้างมากของ[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย]] นำโดย [[วลาดีมีร์ เลนิน]] นำการปฏิวัติที่สองซึ่งโค่นรัฐบาลชั่วคราวและสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียใน ค.ศ. 1936) เปิดฉาก[[สงครามกลางเมืองรัสเซีย|สงครามกลางเมือง]]ระหว่างรัสเซียแดงนิยมการปฏิวัติและรัสเซียขาวซึ่งค้านการปฏิวัติ กองทัพแดงเข้าหลายทลายดินแดนของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย และช่วยนักคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นยึดอำนาจผ่านสภาโซเวียตซึ่งกระทำการแทนคนงานและชาวนาในนาม ใน ค.ศ. 1922 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ชัย ตั้งสหภาพโซเวียตโดยรวมสาธารณรัฐรัสเซีย ทรานส์คอเคซัส ยูเครนและไบโลรุสเซีย หลังเลนินถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1924 ประมุขภาพร่วมตรอยกาและการแย่งอำนาจช่วงสั้น ๆ [[โจเซฟ สตาลิน]]เถลิงอำนาจในกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 สตาลินปราบปรามฝ่ายค้านการเมืองต่อเขา ยึดมั่นอุดมการณ์ของรัฐกับลัทธิมากซ์–เลนิน (ซึ่งเขาสร้าง) และริเริ่มเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง ผลคือ ประเทศเข้าสู่สมัยการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมและการทำให้เป็นระบบรวมอำนาจการผลิต (collectivisation) ซึ่งปูพื้นฐานของความพยายามสงครามในภายหลังและภาวะครอบงำหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่า สตาลินเกิดหวาดระแวงทางการเมือง และเริ่มการจับกุมตามอำเภอใจขนานใหญ่ ซึ่งต่อมาทางการส่งคนจำนวนมาก (ผู้นำทหาร สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ พลเมืองสามัญ) ไปค่ายแรงงานดัดสันดานหรือตัดสินประหารชีวิต
 
เมื่อเริ่ม[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] หลังสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสปฏิเสธพันธมิตรกับสหภาพโซเวียตต่อ[[นาซีเยอรมนี]] สหภาพโซเวียตลงนามใน[[สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ|สนธิสัญญาไม่รุกรานกับเยอรมนี]] ซึ่งชะลอการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ แต่ถูกฉีกใน ค.ศ. 1941 เมื่อนาซีบุกครอง เปิดฉาก[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|เขตสงครามใหญ่สุดและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์]] กำลังพลสูญเสียของโซเวียตในสงครามคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พลิกกลับมาได้เปรียบเหนือฝ่ายอักษะในยุทธการอันดุเดือดอย่าง[[ยุทธการที่สตาลินกราด|สตาลินกราด]] สุดท้ายกำลังโซเวียตยกผ่านยุโรปตะวันออกและยึดกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ทำให้ฝ่ายเยอรมันสูญเสียกำลังพลไปเป็นส่วนใหญ่ ดินแดนยึดครองของโซเวียตที่พิชิตจากกำลังอักษะในยุโรปกลางและตะวันออกกลายเป็น[[รัฐบริวาร]]ของ[[กลุ่มตะวันออก]] ความแตกต่างทางอุดมการณ์และการเมืองกับกลุ่มตะวันตกซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำนำไปสู่การตั้ง[[โคมีคอน|สนธิสัญญาทางเศรษฐกิจ]]และ[[สนธิสัญญาวอร์ซอ|ทางทหาร]]จนลงเอยด้วย[[สงครามเย็น]]อันยืดเยื้อ