ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แควาเลียร์ผู้หัวเราะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Cavalier soldier Hals-1624x.jpg|thumb|right|320px|''คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ'' ค.ศ. 1624]]
{{ชื่ออื่น|ภาพวาดโดย[[ฟรันส์ ฮาลส์ฮัลส์]]|ความหมายอื่น|คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ (แก้ความกำกวม)}}
'''''คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ''''' คือภาพวาดเหมือนในปี ค.ศ. 1642 ช่วง[[จิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์]]โดย[[ฟรันส์ ฮาลส์ฮัลส์]] ปัจจุบันถูกแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วอลเลซในกรุงลอนดอน โดยถูกกล่าวว่าเป็น "หนึ่งในศิลปะชั้นยอดที่สุดของจิตรกรรมภาพเหมือนสมัย[[บารอก]]"<ref>Slive, 38</ref> ชื่อของภาพถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยสาธารณชนและสื่อใน[[สมัยวิกตอเรีย]] ภาพถูกจัดแสดงในวันเปิดงานนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์เบธนัลกรีน ค.ศ. 1872 - 1875 ซึ่งเป็นเวลาไม่กี่วันหลังจากถูกส่งมายังอังกฤษ ในอังกฤษนี้เองที่ภาพวาดมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมา, ถูกผลิตขึ้นใหม่จากการตีพิมพ์ และเป็นหนึ่งในภาพของ[[จิตรกรชั้นครู]]ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง อย่างน้อยก็ในสหราชอาณาจักร แท้ที่จริงแล้วบุคคลในภาพไม่ได้กำลังหัวเราะแต่เป็นการยิ้มอันน่าพิศวงมากกว่า ซึ่งรอยยิ้มถูกขยายเกินจริงจากหนวดเคราอันงอนหงายของเขาเอง<ref>"Shaved" retouched image here [http://www.tumblr.com/tagged/laughing+cavalier]; Slive, 38</ref>
 
== ลักษณะ ==
ภาพมีขนาด 83 × 67.3 เซนติเมตร (32.7 × 26.5 นิ้ว) และถูกจารึกตรงหัวมุมขวาบนว่า ''Æ'TA SVÆ 26/A°1624'' ย่อมาจาก ''แอตาติสซูเอ 26 อันโน 1624'' ใน[[ภาษาละติน]]หมายความว่าภาพถูกวาดเมื่อ ค.ศ. 1642 ซึ่งบุคคลในภาพมีอายุ 26 ปี<ref>Ingamells, 135</ref> โดยที่ไม่มีใครทราบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นใคร แม้ว่าบันทึกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะให้ชื่อภาพในภาษาดัตช์, อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยมากแนะว่าเป็นนายหารหรืออย่างน้อยที่สุดเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่บางช่วงเวลาของบริษัทกองทหารอาสาสมัครซึ่งมักจะถูกนำไปเขียนเป็นภาพเหมือนหมู่อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงบางภาพจากฮาลส์ฮัลส์และที่โด่งดังที่สุดคือ ''การเฝ้ายามกลางคืน'' ของ[[แรมบรังด์]] ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบุคคลในภาพน่าจะเป็นประชาชนผู้มีฐานะมั่งคั่ง ส่วนองค์ประกอบของภาพดูมีชีวิตชีวาและเป็นธรรมชาติซึ่งแทรกความยิ่งใหญ่เอาไว้ นอกจากนี้ยังดูหรูหราในชุดผ้าไหม การตรวจสอบภาพในระยะใกล้เผยให้เห็นรอยจังหวะแปรงพู่กันที่รวดเร็วและยาว การวางท่าแบบหมุนตัวและมุมมองจากที่ต่ำไปที่สูงถูกพบในภาพชิ้นนี้และชิ้นอื่นของฮาลส์ฮัลส์ ทำให้สามารถเน้นจุดเด่นของภาพบริเวณลายปักบนแขนเสื้อและลายลูกไม้รอบข้อมือ นอกจากนี้ยังสามารถพบการปักเย็บ[[ตราสัญลักษณ์]]หลากหลายแบบ ซึ่งบ่งชี้ถึง "ความสุขและความเจ็บปวดจากความรัก" จาก "ผึ้ง, ลูกธนู, [[กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์]]ที่ลุกเป็นไฟ, ปมมัดของคู่รักและลิ้นแห่งไฟ" ในขณะที่เสาโอเบลิสก์หรือ[[พีระมิด]]บ่งชี้ถึงความแข็งแรง และหมวกของ[[เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)|เมอร์คิวรี]] และโชคลาภของ[[คทางูไขว้]]<ref>Ingamells, 135–136; Slive 38</ref>
 
โดยทั่วไปแล้ว ก่อนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จะพบภาพเหมือนที่ได้รับการว่าจ้างให้วาดขึ้นอย่างชิ้นนี้แสดงถึงบุคคลวัยผู้ใหญ่ในลักษณะยิ้มน้อยครั้งมาก แม้การยิ้มจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในงานเขียนแบบ[[ทรอนี]]และการวดภาพบุคคลใน[[ภาพชีวิตประจำวัน]] แต่ฮาลส์ฮัลส์มีข้อยกเว้นของเขาจากกฎทั่วไปและบ่อยครั้งที่จะวาดบุคคลผู้เป็นแบบยิ้มกว้างกว่าความเป็นจริง และการวางท่าทางอย่างไม่เป็นพิธีการทำให้งานของเขาดูน่าประทับใจจากการเคลื่อนไหวและความเป็นธรรมชาติ<ref>Middelkoop and Van Grevenstein-Kruse, 76; Ekkart and Buvelot, 106; Slive, 38</ref>
 
การทำให้ดวงตาของบุคคลในภาพดูเหมือนจ้องไปยังผู้ชมจากทุกมุมมองเป็นผลมาจากการวาดในแบบที่ผู้เป็นต้นแบบมองหน้าตรงมายังมุมมองของจิตรกร และบวกกับการแสดงภาพแบบสองมิติคงที่จากมุมมองใดก็ตามที่มองไปยังภาพ<ref>[http://www.guardian.co.uk/science/2004/sep/22/arts.science "How the Laughing Cavalier keeps an eye on everybody"], ''[[The Guardian]]'', by Ian Sample, 22 September 2004</ref>
 
== ประวัติศาสตร์ ==
ที่มาของภาพสามารถสืบย้อนกลับไปที่งานขายสินค้าใน[[เดอะเฮก]]ในปี ค.ศ. 1770 ซึ่งหลังจากนั้นมันถูกซื้อไปโดยนักสะสมชาวฝรั่งเศส เคานท์แห่งปอร์ตาเลส์-กอร์จิแยร์ ในปี ค.ศ. 1822 ภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตลง ภาพวาดถูกประมูลไปจากงานประมูลของสะสมของท่านเคานท์ในปารีส ค.ศ. 1865 โดยริชาร์ด ซีย์มัวร์-คอนเวย์ มาควิสแห่งเฮิร์ทฟอร์ดที่ 4 ซึ่งให้ราคามากกว่าหกเท่าของราคาเริ่มต้น ทำให้เอาชนะราคาเสนอบารอนเจมส์ เดอ รอตช์ไชลด์ ต่อมาจึงถูกนำไปไว้ยังที่พำนักของเขาในเฮิร์ทฟอรืด โดยมีชื่อว่า ''ปอร์เตต์เดิงน็อง'' (''ภาพเหมือนของผู้ชาย'') จากนั้นจึงถูกซื้อต่อไปยังลอนดอน สันนิษฐานว่าเพื่อนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการจัดแสดงผลงานของ[[จิตรกรชั้นครู]]ในเบธนัลกรีน ซึ่งจงใจจัดแสดงให้ห่างจากย่านเวสต์เอนด์เพื่อดึงดูดผู้ชมจากชนชั้นแรงงาน การจัดแสดงครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก "คาแควาเลียร์" (ชื่อในแคตตาล็อกของงาน) ได้รับความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะจากผู้คนทั่วไปและนักวิจารณ์ โดยถูกมองว่าเป็นภาพชิ้นสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของฟรันส์ ฮาลส์ฮัลส์ โด่งดังขึ้นในอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 ภาพก็ถถูกนำไปจัดแสดงอีกครั้ง ณ [[รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์]] และที่แห่งนี้เองที่ทำให้ภาพได้รับการขนานนามว่า "คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ" ซึ่งจากการทำความสะอาดภาพในปี ค.ศ. 1884 ทำให้ภาพดูผิดเพี้ยนไปเล็กน้อย<ref>Ingamells, 136</ref> นักวิจารณ์จากนิตยสารแอเธเนียมระบุว่าภาพดูสว่างขึ้นและเพิ่มเติมอีกว่า "บุคคลในภาพดูเหมือนยิ้มมากกว่าหัวเราะ"<ref>Ingamells, note 1</ref> ต่อมาตามพินัยกรรมของมาควิสแห่งเฮิร์ทฟอร์ด ของสะสมชุดนี้ก็ตกเป็นของบุตรชายนามว่า เซอร์ริชาร์ด วอลเลซ ผู้ซึ่งภรรยาม้ายของเขาได้ทำการบริจาคภาพและและบ้านในกรุงลอนดอนแก่ทางรัฐบาล จึงได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์วอลเลซมาจนถึงปัจจุบัน
 
== อนุพันธ์ ==
*คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะถูกนำไปใช้เป็นตราสินค้าของเบียร์แม็คอีวาน โดยถูกดัดแปลงให้เป็นคาแควาเลียร์ที่กำลังดื่มเบียร์อย่างมีความสุข<ref>Appel, Julie and Amy Guglielmo: "Brush Mona Lisa's Hair", page 18. Sterling Publishing, 2006.</ref>
 
*ในนวนิยายแนวผจญภัยเรื่อง ''วีรบุรุษดอกไม้แดง'' โดยเอ็มมา ออร์คซี ภาคแรกของนวนิยายชื่อว่า ''[[คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ (นวนิยาย)|คาแควาเลียร์ผู้หัวเราะ]]'' โดยเล่าเรื่องเกี่ยวกับบุคคลในภาพวาดผู้ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของเซอร์เพอร์ซี เบลคนีย์ ตัวเอกในเรื่องวีรบุรุษดอกไม้แดง
 
*คำอุปมา ''ดวงตาจับจ้องตามคุณไปทั่วห้อง'' ถูกใช้บ่อยครั้งในวงการตลกของสหราชอาณาจักร ซึ่งใช้โดยตัวละครพีทแอนด์ดัดในเรื่อง ''เดอะอาร์ตแกลเลอรี''<ref>[http://www.let.uu.nl/~bert.schouten/personal/Engels/TV2/art-gallery-key.htm Script], ''The Art Gallery''</ref> และในหลายๆ ครั้งที่มีการเจาะรูบริเวณดวงตาของสำเนาภาพวาดแล้วนำไปใช้เป็นช่องตาแมว