ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสัตหีบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
 
== ประวัติ ==
มีเรื่องเล่ากันว่า ช่วงประมาณ[[รัชกาลที่ 5]] และ[[รัชกาลที่ 6]] สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก
 
ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดี มีที่ดินเรือกสวนไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ [[หนองตะเคียน]]และ[[โรงเรียนสิงห์สมุทร]]รวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของ[[ฐานทัพเรือ]]สัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อ[[กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์]]ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วย[[ทหารเรือ]] ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้
 
หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า "สัตต" แปลว่า เจ็ด "หีบ" หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า "สัตหีบ" ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติ[เจ้าแม่แหลมเทียน]ว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์ อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์[ทหารเรือ]ระบุว่า เมื่อ [พ.ศ. 2464] [รัชกาลที่ 6] ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะ[[ป้อมพระจุลจอมเกล้า]]ที่ปากน้ำ[[สมุทรปราการ]]นั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า '''สัตตหีบ''' เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา
 
สัตหีบแยกจากอำเภอบางละมุงเพื่อเป็น '''กิ่งอำเภอสัตหีบ''' เมื่อ [[พ.ศ. 2480]] โดยประกอบด้วยตำบลสัตหีบและตำบลนาจอมเทียน และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็น '''อำเภอสัตหีบ''' เมื่อ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2496]] ดังปรากฏใน[[หนังสือราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 70 ตอนที่ 17 ลงวันที่ [[10 มีนาคม]] พ.ศ. 2496 โดยมี[[นายอำเภอ]]คนแรกชื่อ นายชุมพล อุทยานิก