ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาตราริกเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chaiwat Suttipongsakul (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
บรรทัด 1:
'''มาตราริกเตอร์''' ({{lang-en|Richter magnitude scale}}) หรือที่รู้จักกันว่า '''มาตราท้องถิ่น''' ({{lang-en|local magnitude scale}}; M<sub>L</sub>) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึม[[เลขฐานสิบ|ฐานสิบ]] ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอดาริทึมจากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 ริกเตอร์ และต่ำกว่า 10 ริกเตอร์สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่<ref name="Local magnitude">{{cite web|url=http://earthquake.usgs.gov/hazards/qfaults/glossary.php |title=Richter scale |work=Glossary |publisher=[[United States Geological Survey|USGS]] |date=March 31, 2010 }}</ref>
 
ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วย'''[[มาตราขนาดโมเมนต์]]''' ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด