ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31:
เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ เกิดที่เมือง[[กลาสโกว์]] เมื่อ ค.ศ. 1854 เป็นบุตรคนโตในบรรดาสี่คนของแดเนียล เอฟ. เฟรเซอร์ [[เภสัชกร]] และแคเทอรีน เฟรเซอร์ ผู้สืบเชื้อสายมาจากทูตคนแรกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ[[ทิเบต]]<ref>[http://www.controverscial.com/Sir%20James%20George%20Frazer.htm Sir James George Frazer (1854-1941)]</ref><ref>[http://www.nndb.com/people/600/000099303/ Sir James Frazer -- NNDB]</ref> เขาเข้าเรียนที่[[มหาวิทยาลัยกลาสโกว์]] เมื่อ ค.ศ. 1869 ห้าปีต่อมา เฟรเซอร์ก็เรียนต่อที่วิทยาลัยทรินิที้ ใน[[เคมบริดจ์]] ในสาขาวิชา[[ศิลปะคลาสสิก]] หลังจากเรียนจบ เขาได้รับตำแหน่ง[[ศาสตราจารย์]]ด้าน[[มานุษยวิทยาสังคม]]ที่[[ลิเวอร์พูล]] แต่ต่อมาก็ลาออกกลับมาอยู่ที่เคมบริดจ์จนกระทั่งเสียชีวิต
 
เฟรเซอร์มีผลงานที่เป็นที่รู้จักคือหนังสือ ''The Golden Bough'' (คาคบทองคำ)<ref>[https://www.facebook.com/BBCThai/posts/1631671420387225 คำว่า king (กษัตริย์) มาจากไหน -- บีบีซีไทย - BBC Thai]</ref> ซึ่งมีแนวคิดสำคัญถึงวิวัฒนาการสามขั้นของ[[เวทมนตร์]], [[ศาสนา]] และ[[วิทยาศาสตร์]]ในสังคมมนุษย์ โดยขั้นแรก มนุษย์พยายามจะเอาชนะธรรมชาติโดยใช้[[ไสยศาสตร์]] [[เวทมนตร์]] [[พ่อมด]] หรือ[[หมอผี]] โดยจะใช้วิธีการเซ่นสรวงบูชา การเต้นรำขับร้อง และการทำนาย, ขั้นที่สอง มนุษย์มีศาสนาจึงเกิดพวก[[นักบวช]]ขึ้นมา ใช้วิธีการ[[สวดมนต์]] อ้อนวอน และทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือเกิดความพอใจและขั้นสุดท้าย มนุษย์มีความเจริญในทาง[[วิทยาศาสตร์]] การอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยหลักของเหตุผลจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง<ref>[http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=158379&Mbrowse=8 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา...]</ref> ถึงแม้แนวคิดนี้จะมีนักวิชาการหลายท่านไม่เห็นด้วย แต่แนวคิดของเฟรเซอร์ก็มีส่วนสำคัญในการตีความ "ความเชื่อในเทวราชย์" (divine kingship)<ref>[https://sites.google.com/site/aom33bangli/ ประวัติศาสตร์ไทย]</ref> ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเชื่อและพิธีกรรมโบราณขึ้นมาใหม่ และก่อให้เกิดความคิด[[ชาตินิยม]] ซึ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และแสดงให้เห็นความพยายามในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพทาง[[การเมือง]]<ref>[http://www.academia.edu/2547938/Keywords_graduate_music_should_know คำสำคัญในระดับบัณฑิตศึกษศึกษาที่ควรรู้ โดย ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์]</ref>
 
เฟรเซอร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวินในปี ค.ศ. 1914 เขาเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1941 ขณะมีอายุได้ 87 ปี<ref>[http://www.britannica.com/EBchecked/topic/217662/Sir-James-George-Frazer Sir James George Frazer Sir James George Frazer, British anthropologist -- Encyclopædia Britannica]</ref>