ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิแรงงาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
ปัญหาการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไว้ที่ 300 บาท ต่อวัน ซึ่งเป็นนโยบายที่ใช้หาเสียงของรัฐบาล[[พรรคเพื่อไทย]]นั้น แม้จะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล และค่าเงินของประเทศไทยแล้ว ค่าแรงที่ 300 บาทต่อวัน แม้จะยังคงไม่เพียงพอต่อการทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ แต่นโยบายดังกล่าวนี้กลับต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดานายจ้างที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง ที่ออกมาปฏิเสธการขึ้นค่าแรงว่าจะส่งผล และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลางจะต้องปิดกิจการลงไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่กลุ่มทุนรายใหญ่ หรือ [[อุตสาหกรรม]]ขนาดใหญ่ ไม่เพียงแต่จะไม่ได้รับผลกระทบ กลับได้รับการลดหย่อนภาษีตามนโยบายของรัฐบาลเนื่องจากกลุ่มทุนใหญ่ จ่ายอัตราค่าจ้างแรงงานเกิน 300 บาทต่อวันอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะเมื่อคิดร่วมกับค่าทำงานล่วงเวลา
 
== เอกสารอ้างอิง ==
== ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ==
{{รายการอ้างอิง}}
องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ตั้งมาตรฐานสิทธิแรงงานไว้ เพื่อเป็นกติกาสากลสำหรับแรงงานทั่วโลก (องค์การแรงงานระหว่างประเทศ)<ref>องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. เข้าถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 ใน http://www.adb.org/Documents/Handbooks/Core-Labor-Standards/default.asp.</ref> มาตรฐานนี้ตั้งกรอบกว้างๆ ซึ่งสามารถใช้ปฏิบัติได้ในทุกประเทศไม่ว่าจะมีการพัฒนาขั้นใดหรือมี[[วัฒนธรรม]]แบบใด และมุ่งเน้นมาตรฐานในเชิงคุณภาพมากกว่าการกำหนดปริมาณประเภทอัตราค่าแรง หรือชั่วโมงการทำงาน
 
มาตรฐานดังกล่าว คือ
 
* ''สิทธิในการรวมตัวกัน'' : แรงงานมีเสรีภาพในการจัดตั้งหรือเข้าร่วม[[สหภาพแรงงาน]]ที่เป็นอิสระจาก[[รัฐบาล]]และอิทธิพลของนายจ้าง
* ''สิทธิในการรวมตัวกันเรียกร้อง'' : แรงงานสามารถรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรองกับนายจ้างแทนที่จะเจรจาด้วยตัวเองเพียงลำพัง
* ''ห้ามการบังคับแรงงานอย่างเด็ดขาด'' : จะบังคับใช้แรงงานไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ รวมถึงการใช้[[ทาส]] การใช้แรงงาน[[นักโทษ]] และการข่มขู่ให้ทำงาน
* ''กำจัดการใช้แรงงานเด็ก'' : ตั้งอายุขั้นต่ำสำหรับเด็กที่ทำงานได้ และต้องมีประเภทและสภาพของงานที่เหมาะสมสำหรับเด็กเหล่านั้น
* ''ไม่มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน'' : จ่ายเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติจาก[[เชื้อชาติ]] [[ศาสนา]]ของแรงงาน
 
== เอกสารอ้างอิง ==