ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ญาณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
[[วิสุทธิมรรค]] รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน
 
* '''นามรูปปริจเฉทญาณ''' หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
* '''นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ''' หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
* '''สัมมสนญาณ''' หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน
[[วิปัสสนูปกิเลส]]จะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
* '''อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
* '''ภังคานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
* '''ภยตูปัฏฐานญาณ''' หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
* '''อาทีนวานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
* '''นิพพิทานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
* '''มุจจิตุกัมยตาญาณ''' หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
* '''ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
* '''สังขารุเบกขาญาณ''' หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
* '''สัจจานุโลมิกญาณ''' หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ)
* '''โคตรภูญาณ''' หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
* '''มัคคญาณ''' หมายถึง ญาณใน[[อริยมรรค]]
* '''ผลญาณ''' หมายถึง ญาณอริยผล
* '''ปัจจเวกขณญาณ''' หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)
 
== วิปัสสนาญาณ9 ==
 
แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าใน[[วิปัสสนา]] หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน [[วิสุทธิ]] 7) ที่บรรยายคัมภีร์ใน[[วิสุทธิมรรค]] แต่ในคัมภีร์[[อภิธัมมัตถสังคหะ]] นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น) เมื่อ[[โพชฌงค์]]เจริญบริบูรณ์ครบ 7 ข้อ จิตจึงมีกำลังสามารถเห็นวิปัสสนาญาณได้ และใช้วิปัสสนาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นเครื่องมือนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน
 
*วิปัสสนาญาณคือ'''อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ''' '''ภังคานุปัสสนาญาณ''' นั้นเห็นอนิจจัง
*วิปัสสนาญาณคือ'''ภยตูปัฏฐานญาณ''' '''อาทีนวานุปัสสนาญาณ''' '''นิพพิทานุปัสสนาญาณ''' นั้นเห็นทุกขัง
*วิปัสสนาญาณคือ'''มุจจิตุกัมยตาญาณ''' '''ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ''' '''สังขารุเบกขาญาณ''' นั้นเห็นอนัตตา
 
== ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7==
*นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
*นามรูปปัจจยปริคคหญาณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
*สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
*วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
*โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
 
== ลักษณะ 3 อย่างในญาณ 16 ==
 
#สภาวะลักษณะ เห็นลักษณะที่ปรากฏจากความเป็นไปของธาตุ ปรากฏตั้งแต่ยังไม่ได้ญาณถึงนามรูปปัจจยปริคหญาณ
#สังขตลักษณะ เห็นลักษณะคือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ปรากฏตั้งแต่สัมมสนญาณ
#สามัญญลักษณะ เห็นลักษณะทั้งสามหรือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตั้งแต่อุทธยัพพยญาณ
 
-----------------------
 
'''อธิบายเพิ่มเติมเรื่อง วิปัสสนาญาณ 16 (ญาณ 16) ภาคปริยัติ และ ภาคปฎิบัติ(การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐาน ๔)'''<ref>อณิวัชร์ เพชรนรรัตน์. “การศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๙, หน้า ๕๐-๖๑.</ref> <ref>http://vipassanameditationthailand.blogspot.com/2014/02/blog-post_8611.html</ref>
 
โยคีที่ฝึกกำหนด จนรู้เห็นว่าร่างกายขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเห็นแจ้งซึ่งพระไตรลักษณ์ของรูปและนาม โดยอาศัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นเครื่องมือด้วยอินทรีย์ ๕ ที่สมบูรณ์ สภาวธรรมและปัญญาของจิตจะปรากฏขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นผลของวิปัสสนากัมมัฏฐานคือ โสฬสญาณ(วิปัสสนาญาณ ๑๖) หรือภาวนามยปัญญา
เนื้อหาสาระของวิปัสสนาญาณ ๑๖ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ที่ว่าด้วยญาณ ๗๓ ซึ่งท่านพระสารีบุตรได้รวบรวมสาระสำคัญ ของโสฬสญาณในหมวดญาณ(ปัญญา) ๗๓ ประเภท เพียงแต่ไม่ได้เรียงหรือระบุชื่อญาณ เหมือนกับที่ปรากฏใน คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
เส้น 40 ⟶ 80:
ความหมายและที่มาของวิปัสสนาญาณ ๑๖ ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์วิสุทธิมรรค อย่างครบถ้วน เพียงแต่บางญาณ ถูกจัดรวมเข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน โดยที่บางญาณใช้ชื่อแตกต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้
 
 
* '''นามรูปปริจเฉทญาณ''' หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
'''ญาณที่ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ''' ปัญญาที่กำหนดจนเห็นรูปและนามว่าเป็นคนละสิ่ง คนละส่วน รูปนามแยกออกจากกันและไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ญาณนี้มาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค โดยมีเนื้อหาสาระตรงกับชื่อ ธัมมัฏฐิติญาณ(ปัญญาในการกำหนดปัจจัย หรือญาณในการกำหนดที่ตั้งแห่งธรรม) ที่เป็นญาณที่ ๔ ในญาณ ๗๓ แต่เดิมมิได้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ
 
เส้น 52 ⟶ 90:
ในขณะนั่งสมาธิ การกำหนดพองหนอ ยุบหนอ นิ่งหนอ หรือเบ่งหนอ ได้ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเท่ากับกำหนดรู้รูปรู้นามได้ จัดว่าได้ ญาณที่ ๑ แล้ว ในการเดินจงกรม ขณะกำหนดยกหนอหรือย่างหนอที่เท้า ความรู้สึกในอาการเคลื่อนไหวของเท้าเป็นรูป(อารมณ์) จิตที่ระลึกรู้พร้อมกำหนดอาการเป็นนาม ต่อมาเมื่อกำหนดยินหนอ คลื่นเสียงที่มากระทบเป็นรูป จิตที่ระลึกรู้คลื่นเสียง โดยกำหนดว่ายินหนอ(สักแต่ว่าเสียง)เป็นนาม และในขณะนั่งสมาธิ กำหนดอาการคันได้ว่าคันหนอนั้น อาการคันจัดเป็นรูป(อารมณ์) ส่วนจิตที่ระลึกรู้พร้อมกำหนดอาการเป็นนาม ดังนั้นการกำหนดได้ถูกต้องในขณะเดินและนั่งสมาธินับว่าได้ญาณที่ ๑ แล้ว
 
 
* '''นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ''' หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
'''ญาณที่ ๒. ปัจจยปริคคหญาณ''' ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดรูปเกิดนาม คือรูปเกิดจาก กรรม จิต
อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจากอารมณ์วัตถุ ญาณนี้มาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ
เส้น 60 ⟶ 96:
ในขณะนั่งสมาธิ โยคีกำหนดไปที่อาการเคลื่อนไหวของท้องว่า พองหนอ บางครั้งการกำหนดพองหนอก่อนอาการพอง หรือไปรออาการพองล่วงหน้า นี่เรียกว่า นามเป็นเหตุ รูปเป็นผล แต่บางครั้งการกำหนดพองหนอได้ช้ากว่าอาการพอง นี่คือรูปเป็นเหตุ นามเป็นผล เมื่อปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะสามารถแยกรูปแยกนามได้อย่างชัดเจน และอาจเข้าถึงสภาวธรรมของรูปนาม ในขณะเดินจงกรมเช่น เมื่อคิดว่าอยากให้เท้าเคลื่อนย่างไปเร็ว เท้าจะเคลื่อนไปเร็วเอง หรือคิดว่าอยากให้เท้าเคลื่อนย่างไปช้า เท้าจะเคลื่อนไปช้าเอง ตามที่จิตสั่ง(นามเป็นปัจจัยให้รูป)ได้อย่างชัดเจน พร้อมกับเกิดความเข้าใจว่ารูปและนามเป็นคนละอันกัน เนื่องจากตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เหตุปัจจัยของรูปนามได้ปรากฏสืบต่อกัน อย่างไม่ขาดสายทุกขณะจิต ในวิปัสสนาญาณที่ ๑ และ ๒ จัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน แต่ยังไม่นับว่าเป็นขั้นของภาวนามยปัญญา
 
 
* '''สัมมสนญาณ''' หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน
[[วิปัสสนูปกิเลส]]จะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
 
'''ญาณที่ ๓. สัมมสนญาณ''' ปัญญาของจิตกำหนดจนเริ่มรู้เห็นไตรลักษณ์ คือความเกิดดับของรูปนาม แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไป เพราะเห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว เห็นอย่างนี้เรียกว่า สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่ อีกนัยหนึ่งอธิบายว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์ โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ติลักขณปฏิเวธสัมมสนญาณ ญาณนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๕ ของญาณ ๗๓)
เส้น 70 ⟶ 102:
โยคีเริ่มกำหนดอารมณ์ได้มากขึ้น เริ่มจะเท่าทันอารมณ์ต่างๆ แต่ความเท่าทันนั้นยังไม่ปรากฏชัดเจน มีกำลังอ่อน และมีความล่าช้าอยู่ เพราะกำหนดยังไม่ได้ปัจจุบัน โดยอารมณ์จะตั้งอยู่สักระยะ จึงจะกำหนดตัดอารมณ์ได้เช่น ขณะกำหนดความคิด จิตยังไหลปรุงแต่งไปกับ ความคิดสักครู่ ก่อนที่จะกำหนดคิดหนอได้ทัน ญาณที่ ๓ นี้จัดเป็นเพียงเขตสมถ ยังไม่ได้ยกขึ้นสู่วิปัสสนา
 
 
* '''อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
'''ญาณที่ ๔. อุทยัพพยญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน อีกทั้งเห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด(เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดขึ้น และขณะที่ดับไป) อุทยัพพยญาณมี ๒ ระดับคือตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่ และพลวอุทยัพพยญาณเป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว ชื่อญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๖ ของญาณ ๗๓) และในคัมภีร์อรรถกถาด้วย
เส้น 132 ⟶ 162:
การกำหนดในญาณนี้จะเริ่มคล่องขึ้น และทันอารมณ์ขึ้นกว่าก่อน โดยจะเห็นอารมณ์ที่มีการเกิดและดับไป แต่ยังช้าอยู่ ซึ่งอารมณ์ที่กำหนดได้จะไม่ตั้งอยู่นานเหมือนแต่ก่อน จิตที่รับอารมณ์เริ่มทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งอารมณ์ปรมัตถ์ และความเป็นอนัตตาเริ่มปรากฏหรือแสดงให้เห็น
 
* '''ภังคานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
'''ญาณที่ ๕. ภังคญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นความดับไปแต่อย่างเดียว ญาณนี้อยู่ในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๗ ของญาณ ๗๓) โดยมิได้เรียกชื่อว่า ภังคญาณ เพียงแต่ให้ความหมายว่าเป็นปัญญา เห็นความแตกไปเท่านั้น แต่ในคัมภีร์อรรถกถาได้แสดงและให้ชื่อญาณนี้ว่า“ภังคานุปัสสนาญาณ”
 
เส้น 139 ⟶ 167:
จิตเริ่มแสดงอารมณ์ปรมัตถ์แท้ๆ และเห็นความเป็นอนัตตา ของจิตชัดเจนขึ้น สติปัฏฐานเริ่มทำงานได้คล่องแคล่ว และกำหนดทันรูปนามได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยมีเพียงอารมณ์ที่ดับและหายไป อย่างไรก็ดีภังคญาณ เป็นอารมณ์ดับที่มีการเกิดอยู่ ยังไม่ใช่การดับของผลสมาบัติ หรือนิโรธสมาบัติ
 
 
* '''ภยตูปัฏฐานญาณ''' หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
'''ญาณที่ ๖. ภยญาณ''' บ้างก็เรียกว่าภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นว่า รูปนามนี้มีแต่แตกดับไปอย่างเดียว ซึ่งตกอยู่ในสภาวะที่น่าหวาดเสียว และน่าสะพรึงกลัวเหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย ในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๘ ของญาณ ๗๓) คือ อาทีนวญาณ ซึ่งได้รวมวิปัสสนาญาณที่ ๖, ๗ และ ๘ เข้าด้วยกัน ส่วนในคัมภีร์อรรถกถา ได้แยกแสดงภยญาณ ไว้เป็นญาณแรกใน ๓ ญาณของอาทีนวญาณ
เส้น 147 ⟶ 173:
ในบางครั้งอาจจะมีอารมณ์ของภยญาณผุดขึ้นมา ในขณะปฏิบัติได้ ช่วงนี้โยคียังกำหนดได้คล่องเพลิดเพลิน โล่ง โปร่ง และเบาสบาย จนรู้สึกว่านั่งไป ๓๐ นาทีนั้น เวลาผ่านไปเหมือนไม่นาน เพราะโยคีกำหนดได้อารมณ์ปัจจุบันจริงๆ จนความคิดและการปรุงแต่ง แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
 
 
* '''อาทีนวานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
'''ญาณที่ ๗. อาทีนวญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นว่า รูปนามนี้ไม่มีสาระแก่นสารอะไร ไม่มีสิ่งที่น่าชื่นชม มีแต่ความโดดเดี่ยวและมีแต่ทุกข์โทษภัย เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่ จึงคิดหนีจากเรือนนั้น ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘ ของญาณ ๗๓) และคัมภีร์อรรถกถา
โยคีกำหนดได้เท่าทันยิ่งขึ้นกว่าก่อน แม้รูปนามจะปรากฏขึ้นเร็ว และพิสดารเป็นอย่างมาก แต่โยคียังกำหนดได้ดี ไม่ว่ารูปนามจะเป็นอย่างไร โดยอารมณ์ภายในจิต ขณะนั่งสมาธิที่กำหนดอยู่ชัดเจนมาก จนคล้ายกับเห็นได้ด้วยตา ในญาณนี้จิตมีอารมณ์ที่เบาสบาย และคล่องแคล่วเป็นที่สุด อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อีกทั้งยังกำหนดได้เท่าทันอย่างเป็นธรรมชาติ ตามความเป็นจริง โดยรู้สึกเหมือนเวลาผ่านไปรวดเร็วมาก จนคล้ายชั่วครู่เดียวแม้ว่าจะนั่งไป ๓๐ หรือ ๔๕ นาทีก็ตาม บางครั้งอาจเกิดอารมณ์ของอาทีนวญาณผุดขึ้นได้ หากกำหนดได้ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง และเท่าทันทุกอารมณ์ โดยไม่ไปบังคับ หรือฝืนธรรมชาติของรูปนามแล้ว โยคีจะก้าวหน้าสู่ญาณที่สูงขึ้นไปในไม่ช้า
* '''นิพพิทานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
'''ญาณที่ ๘. นิพพิทาญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นว่า เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม และในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ความเบื่อหน่ายจะเป็นอารมณ์ที่ผุดขึ้นเอง ในระหว่างการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มิใช่เกิดขึ้นจาก การนึกคิดเอาเองด้วยกิเลส ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๘ ของญาณ ๗๓) และคัมภีร์อรรถกถา
เส้น 161 ⟶ 183:
ดังนั้นจึงต้องอดทนปฏิบัติต่อไปตามคำแนะนำ และการให้กำลังใจของวิปัสสนาจารย์เท่านั้น ที่จะช่วยให้มีความเข้าใจ และทำให้ข้ามพ้นญาณนี้ไปได้ บางครั้งโยคีที่เกิดอาการเบื่อในการปฏิบัติ โดยที่ไม่เคยปฏิบัติผ่านสภาวะธรรม ของวิปัสสนาญาณที่ ๓ ถึง ๗ อาการนั้นจัดว่า เป็นความเบื่อจากความคิดหรือกิเลส ไม่ใช่จากนิพพิทาญาณ
 
 
* '''มุจจิตุกัมยตาญาณ''' หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
'''ญาณที่ ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นว่า ปรารถนาที่จะหนีออกจากรูปนาม และใคร่จะพ้นจากขันธ์ ๕ ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙ ของญาณ ๗๓) ซึ่งได้รวมวิปัสสนาญาณที่ ๙, ๑๐ และ ๑๑ ไว้ด้วยกันในสังขารุเปกขาญาณ แต่ในคัมภีร์อรรถกถา ได้ปรากฏชื่อและเรียกว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ เป็นญาณที่อยากหลุดพ้น และหนีไปจากรูปนาม แต่ก็หนีไปไหนไม่ได้ เพราะมีเพียงแต่รูปนามเท่านั้น และยังต้องเจริญวิปัสสนาต่อไปอีก
 
หลังจากที่จิตเบื่อหน่ายในรูปนามแล้ว จิตไม่มีทางออกอื่นใดนอกเสียจากการยึดรูปนามเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อันเดียว ที่ใช้นำพาให้จิตพ้นจากรูปนามหรือความทุกข์ โดยมีเป้าหมายคือพระนิพพาน ปัญญาของจิตที่เกิดขึ้นเองในญาณนี้ จำเป็นต้องยึดรูปนาม แม้ว่าจะมีอยู่เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะอยู่เฉยต่อไปไม่ได้ จำต้องสัมผัสแบบแลบออกไปสู่รูปนามอย่างเสียไม่ได้ อุปมาคล้ายกับคนที่เอามือ ไปแตะผิวกาต้มน้ำร้อนเพียงนิดเดียว เพื่อทดสอบว่าร้อนเท่าใด
 
* '''ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ''' หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
'''ญาณที่ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนด จนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนีออกจากรูปนาม โดยหาอุบายที่จะเปลื้องตน ให้พ้นจากขันธ์ ๕ ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๙ ของญาณ ๗๓) และในคัมภีร์อรรถกถา ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมรรคใช้ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
ครั้นจิตจำต้องใช้รูปนามเป็นฐาน เพื่อมุ่งสู่ทางพ้นทุกข์ รูปนามเท่านั้นที่เป็นพาหนะอย่างเดียว เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นจิตจึงจำเป็นต้องยึดรูปนาม เป็นฐานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสามารถกำหนดเห็นพระไตรลักษณ์ของรูปนาม(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป) ได้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งด้วยความเร็วช้าๆ อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากรูปนามนี้เป็นพาหนะสำคัญอย่างเดียว ที่ใช้นำไปสู่อารมณ์พระนิพพาน
 
 
* '''สังขารุเบกขาญาณ''' หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
'''ญาณที่ ๑๑. สังขารุเบกขาญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไปไหนก็ไม่พ้น เพราะมีแต่การปรากฏของรูปนาม จิตจึงกำหนดรู้ด้วยความวางเฉยได้ และไม่ยินดียินร้ายในรูปนามใดๆ ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙ ของญาณ ๗๓) และในคัมภีร์อรรถกถาเช่นกัน ญาณนี้จัดว่าได้ถึงที่สุดแล้ว และมีอีกชื่อว่า สิขาปัตตสังขารุเปกขา เพราะเป็นสุดยอดของโลกียญาณ
 
เส้น 207 ⟶ 223:
หลังจากคำอธิษฐาน คำขออโหสิกรรมและคำถอนพุทธภูมิ ผู้ปฏิบัติที่มีอินทรีย์ ๕ สมดุลแล้วสภาวะธรรมจะเริ่มพัฒนา และเกิดสภาวะธรรมของรูปนามใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิมทันที ทำให้ก้าวหน้าต่อไปสู่ญาณที่สูงขึ้น
 
 
* '''สัจจานุโลมิกญาณ''' หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ)
'''ญาณที่ ๑๒. อนุโลมญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็น ในการคล้อยตามรูปนาม จากลำดับญาณเริ่มต้น จนถึงญาณสูงสุด (น้อยไปหามาก) ซึ่งญาณนี้มีอีกชื่อว่าสัจจานุโลมิกญาณ ญาณนี้ได้ปรากฏในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๔๑ ของญาณ ๗๓) ที่เรียกว่า ขันติญาณ ส่วนในคัมภีร์อรรถกถาใช้ชื่อเดียวกันว่า อนุโลมญาณ สัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ เหมือนกันกับขันติญาณ เนื่องจากญาณนี้อยู่ติดกับอริยมรรค จึงมีชื่ออีกอย่างว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ที่หมายถึงวิปัสสนาที่กำลัง จะเข้าถึงอริยมรรค ประกอบด้วยญาณทั้ง ๓ คือสังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณ
 
โยคีที่ติดค้างอยู่ในญาณที่ ๑๑ หลังจากอธิษฐานจิตถอนพุทธภูมิ และขอขมาแล้ว โยคีจะเกิดสภาวธรรมใหม่ๆ ทำให้จิตเคลื่อน ขึ้นสู่ญาณที่ ๑๒ ได้ เมื่อจิตได้ใช้พาหนะ คือรูปนามที่พัฒนาจนปัญญามาถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ด้วยกำลังที่ยังไม่เพียงพอ ที่จะสลัดทิ้งรูปนาม ในการเข้าสู่อารมณ์พระนิพพาน จิตต้องอาศัยความบริบูรณ์ในการทบทวนของญาณ โดยถอยกลับไปเริ่มต้น ในญาณต่ำขึ้นไปสู่ญาณสูง ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ(๔) ถึงสังขารุเบกขาญาณ(๑๑) ที่โยคีเคยผ่านมาแล้วอีกรอบหนึ่ง โดยมีรูปนามหรือสังขารเป็นอารมณ์ และจะไม่ถอยกลับสู่ญาณเบื้องต่ำอีกแล้ว จากนั้นจิตจะรวบรวมพละกำลังเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการที่ประชุมพร้อมกัน และมีอินทรีย์เต็มเปี่ยมจากธรรมสมังคี เสมอกันในขณะจิตเดียว เพื่อเป็นฐานผลักดันจิตให้เคลื่อนเข้าสู่อารมณ์พระนิพพาน
 
 
* '''โคตรภูญาณ''' หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
'''ญาณที่ ๑๓. โคตรภูญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน ที่ตัดขาดจากโคตรปุถุชน เปลี่ยนเป็นโคตรอริยชน ญาณนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๑๐ ของ ญาณ ๗๓)
 
เส้น 233 ⟶ 245:
๓. รูปนามแสดงให้เห็นถึงความไม่มีตัวตน โดยรูปนามจะแผ่วเบาละเอียดจนถึงที่สุด สำหรับผู้ที่เคยสะสมบารมีทางปัญญามาก่อน เรียกว่าเข้าทาง'''อนัตต'''า ด้วยการหลุดพ้นทาง '''สุญญตวิโมกข์'''
 
 
* '''มัคคญาณ''' หมายถึง ญาณใน[[อริยมรรค]]
'''ญาณที่ ๑๔. มัคคญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็น พระนิพพาน และตัดกิเลสได้ ญาณนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๑๑ ของญาณ ๗๓) โดยที่โยคีได้เสวย และเข้าถึงอารมณ์พระนิพพานเป็นครั้งแรก รูปนามจะดับไปหมดในญาณนี้ หมดความสงสัยในพระรัตนตรัยโดยสิ้นเชิง และมีศีล ๕ มั่นคงเป็นนิจ
 
เส้น 249 ⟶ 259:
๓. '''อนุสัยกิเลส''' เป็นกิเลสอย่างละเอียดซึ่งอยู่ในจิตตสันดาน ขณะใดไม่มีอารมณ์กระทบ ขณะนั้นกิเลสชนิดนี้ ก็จะสงบนิ่งอยู่ในใจ ไม่แสดงอาการออกมาให้ตนเองหรือคนอื่นรู้ได้ แต่เมื่อมีอารมณ์กระทบจึงจะแสดงอาการออกมา กิเลสชนิดนี้สามารถประหารได้ด้วยปัญญา หรือมัคคญาณ เป็นการประหารอย่างเด็ดขาดเรียกว่า สมุจเฉทปหาน
 
* '''ผลญาณ''' หมายถึง ญาณอริยผล
'''ญาณที่ ๑๕. ผลญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็น พระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข ญาณนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค(ญาณที่ ๑๒ ของญาณ ๗๓) โยคีที่ถึงญาณนี้ แม้กิเลสจะถูกประหารไปได้อย่างเด็ดขาด ด้วยมัคคญาณ แต่อำนาจของกิเลสยังคงเหลืออยู่ ผู้ที่มีโทสะและโลภะมาก ก่อนเข้าปฏิบัติจะรู้ชัดเจนว่าตัวเองมีโทสะ และโลภะลดลงไปอย่างมาก แต่ผู้ที่เคยมีโทสะและโลภะน้อย อาจสังเกตเห็นการพัฒนาจิตหรือผลที่ได้ไม่ค่อยชัดเจนก็มี
 
เส้น 293 ⟶ 302:
การเข้านิโรธในมนุษยภูมินั้นเข้าได้เพียง ๗ วัน แต่ในรูปพรหมนั้นไม่จำกัดเวลา ถ้าต้องการเข้านานเท่าใดก็ทำได้ แต่การเข้านิโรธสมาบัติต้องเข้าฌานก่อน โดยเข้าตั้งแต่ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌานและจตุตถฌาน(รูปฌาน ๔) แล้วต่ออรูปฌานอีก ๔ รวมเป็นสมาบัติ ๘ ประการ แล้วจึงเข้านิโรธสมาบัติ แต่ทุกๆ ฌานที่เข้าต้องมีวิปัสสนาประกอบไปด้วยเสมอ
 
 
* '''ปัจจเวกขณญาณ''' หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)
'''ญาณที่ ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ''' ปัญญาของจิตที่กำหนดจนรู้เห็น โดยสำรวจทบทวนย้อนหลัง เพื่อดูความเป็นมา และผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติรวม ๕ ประการของพระโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี คือมรรคจิต, ผลจิต, นิพพาน, กิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ แต่สำหรับพระอรหันต์จะทำการทบทวนเพียง ๔ ประการแรก ยกเว้นกิเลสที่ยังเหลืออยู่ เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว ญาณนี้ปรากฏในพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๓ - วิมุตติญาณ และญาณที่ ๑๔ - ปัจจเวกขณญาณ ของญาณ ๗๓)
เส้น 348 ⟶ 355:
'''ธรรมะพิเศษเบื้องสูงอันใด ที่ข้าพเจ้ายังไม่ได้พบ ขอให้พบ ให้ถึงเทอญ'''” (อธิษฐาน ๓ รอบ)
 
== วิปัสสนาญาณ9 ==
 
แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าใน[[วิปัสสนา]] หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งใน [[วิสุทธิ]] 7) ที่บรรยายคัมภีร์ใน[[วิสุทธิมรรค]] แต่ในคัมภีร์[[อภิธัมมัตถสังคหะ]] นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น) เมื่อ[[โพชฌงค์]]เจริญบริบูรณ์ครบ 7 ข้อ จิตจึงมีกำลังสามารถเห็นวิปัสสนาญาณได้ และใช้วิปัสสนาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นเครื่องมือนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน
 
*วิปัสสนาญาณคือ'''อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ''' '''ภังคานุปัสสนาญาณ''' นั้นเห็นอนิจจัง
*วิปัสสนาญาณคือ'''ภยตูปัฏฐานญาณ''' '''อาทีนวานุปัสสนาญาณ''' '''นิพพิทานุปัสสนาญาณ''' นั้นเห็นทุกขัง
*วิปัสสนาญาณคือ'''มุจจิตุกัมยตาญาณ''' '''ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ''' '''สังขารุเบกขาญาณ''' นั้นเห็นอนัตตา
 
== ญาณ16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7==
*นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
*นามรูปปัจจยปริคคหญาณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
*สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
*วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
*โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
 
== ลักษณะ 3 อย่างในญาณ 16 ==
 
#สภาวะลักษณะ เห็นลักษณะที่ปรากฏจากความเป็นไปของธาตุ ปรากฏตั้งแต่ยังไม่ได้ญาณถึงนามรูปปัจจยปริคหญาณ
#สังขตลักษณะ เห็นลักษณะคือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ปรากฏตั้งแต่สัมมสนญาณ
#สามัญญลักษณะ เห็นลักษณะทั้งสามหรือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏตั้งแต่อุทธยัพพยญาณ
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ญาณ"