ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
แหล่งอ้างอิงที่ใช้แนวคิดส่วนตนในการเขียน
บรรทัด 5:
จากหลักฐาน พฤติกรรมรักร่วมเพศมาตั้งแต่ในอดีต ในทางพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลได้มีเรื่องกล่าวขานเกี่ยวข้องไว้พอสมควร ทั้งในส่วน[[พุทธชาดก]] อีกทั้งภาพพฤติกรรมรักร่วมเพศที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ในประเทศไทย
 
นอกจากนี้ในพระไตรปิฎก ยังได้ระบุคำสำคัญอย่าง "กะเทย" หรือ "บันเดาะ" หรือ "บันเฑาะก์" ที่มีความหมายว่า "ชายที่มีราคะจัด ชอบประพฤตินอกรีตในการเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้ประพฤติตาม" และยังบัญญัติบุคคลที่ไม่สามารถบวชได้ในทางพุทธศาสนา "บันเฑาะก์" เป็นข้อห้ามที่ไม่ยินยอมให้บวช และใน[[ไตรภูมิพระร่วง]] ยังกล่าวถึงคน คนที่เกิดเป็นกะเทยเนื่องจากผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ คือ เป็นชายที่ผิดเมียผู้อื่น ซึ่งหากตกนรกปีนต้นงิ้วแล้ว ยังต้องไปเกิดเป็นกะเทยอีก 1000 ชาติ จึงจะพ้นกรรม<ref>[http://gotoknow.org/blog/thaikm/151017 กะเทย / บั๊ณเฑาะก์ / ขันที / นักเทษ] gotoknow.org</ref>
 
คำว่ากะเทย (เขียนว่า "กเทย") ยังพบอยู่ใน "พะจะนะพาสาไท" ที่เขียนโดย [[พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์|บาทหลวงปาลเลอกัวซ์]] ในปี พ.ศ. 2397 โดยเป็นคำแปลของคำภาษาอังกฤษว่า "Hermaphrodite"<ref>ปาลเลอกัวร์, พะจะนะพาสาไท (พระนคร : ม.ป.ท., 2397) </ref>