ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 16:
| จำนวนนักศึกษา = ระดับปริญญาบัณฑิต 8,100 คน ระดับบัณฑิตศึกษา 4,382 คน
| พนักงาน = 3,600 คน
| เนื้อที่ = 350 [[เอเคอร์]] หรือ 1.4[[ตารางกิโลเมตร]]
| เว็บไซต์ = [http://www.anu.edu.au/ www.anu.edu.au]
}}
'''มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย''' ({{lang-en|The Australian National University}} หรือ ANU) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี [[ค.ศ. 1946]] (พ.ศ. 2503) ตั้งอยู่ ณ กรุง[[แคนเบอร์รา]] เมืองหลวงของ[[ประเทศออสเตรเลีย]] มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียมีความโดดเด่นในด้านการวิจัยเป็นหลัก และถูกจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศออสเตรเลีย[http://www.topuniversities.com/university_rankings/results/2008/overall_rankings/top_100_universities/] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ 8 แห่งของออสเตรเลีย ([http://www.go8.edu.au/ Group of Eight]), สมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก ([http://www.iaruni.org/ Association of Pacific Rim Universities]) และ พันธมิตรมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยระหว่างประเทศ ([http://www.apru.org/ International Alliance of Research Universities])
 
 
== ประวัติ ==
มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียก่อตั้งเมื่อ [[ค.ศ. 1946]] โดยรัฐบาลออสเตรเลีย ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศที่ทุ่มเทในด้านการวิจัยเป็นหลัก อันปรากฏอยู่ในภารกิจของมหาลัยที่จะพัฒนาการวิจัยระดับหลังปริญญาตรี เพื่อสนองตอบต่อและที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาที่มีความสำคัญต่อออสเตรเลียในด้านต่าง ๆ ในปี [[ค.ศ. 1960]] มหาวิทยาลัยได้ขยายการเรียนการสอนให้ครอบคลุมระดับปริญญาตรี โดยควบรวมกับ Canberra University College อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยคงแยกการดำเนินงานของทั้งสองส่วนต่อไป โดยให้สถาบันการศึกษาขั้นสูง (Institute of Advanced Studies) เน้นการวิจัยและการศึกษาระดับหลังปริญญาตรีต่อไป และให้[[คณะ]]ต่าง ๆ จัดการเรียนการสอน[[ระดับปริญญาตรี]]เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ยังจัดตั้ง[[วิทยาลัย]] และศูนย์การศึกษาเฉพาะทางขึ้นอีกหลายแห่งในภายหลังเช่นกัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเป็นมหาวิทยลัยแห่งเดียวในประเทศที่มีธรรมนูญและโครงสร้าง ซึ่งกำหนดตามพระราชบัญญัติแห่งสภาเครือจักรภพ (Act of the Commonwealth Parliament) ซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่นที่จัดตั้งตามรัฐบัญญัติของแต่ละรัฐหรือสภารัฐเท่านั้น
 
== โครงสร้างการจัดการศึกษา ==
เส้น 31 ⟶ 30:
มหาวิทยาลัยจัดให้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูง (Institutes of Advanced Studies) เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยในระดับหลังปริญญาตรี ประกอบด้วยบัณฑิตวิทยาลัยการวิจัย (Research School) และศูนย์ศึกษาต่าง ๆ 11 แห่ง คือ
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านดาราศาสตร์และดาราฟิสิกส์''' ([http://msowww.anu.edu.au/ Research School of Astronomy and Astrophysics] - RSAA) เป็นสถาบันชั้นนำของออสเตรเลียในการค้นคว้าวิจัยด้าน[[ดาราศาสตร์]]และนอกพิภพ สถาบันแห่งนี้ดำเนินงานหอสังเกตการ 2 แห่ง คือ หอสังเกตการณ์บนเขาสตรอมโล (Mount Stromlo Observatory) และ หอสังเกตการณ์ไซดิ่งสปริงค์ (Siding Spring Observatory)
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ''' ([http://www.rsbs.anu.edu.au/ Research School of Biological Sciences] - RSBS) เป็นสถาบันชั้นนำในการวิจัยด้านชีววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับ[[การเกษตร]] [[สิ่งแวดล้อม]] [[สาธารณสุข]] และ[[เทคโนโลยีชีวภาพ]]
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านเคมี''' ([http://rsc.anu.edu.au/ Research School of Chemistry] - RSC) ดำเนินการค้นคว้าวิจัยด้านเคมี โดยเน้นสาขาที่สำคัญต่อประเทศ ผลงานวิจัยของสถาบันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการทั่วโลก
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อันเกี่ยวกับโลก''' ([http://wwwrses.anu.edu.au/ Research School of Earth Sciences] - RSES) เป็นสถาบันหนึ่งในสิบแห่งชั้นนำของโลกในการวิจัยโครงการศึกษาธรณีวิทยาและโลก
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านแปซิฟิกและเอเซียศึกษา''' ([http://rspas.anu.edu.au/ Research School of Pacific and Asian Studies] - RSPAS) เป็นสถาบันชั้นนำของออสเตรเลียและมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ที่ค้นคว้าวิจัยและฝึกนักวิจัยให้มีความเชี่ยวชาญอาณาบริเวณเอเซียแปซิฟิก โดยเน้นภูมิภาค [[เอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ]] [[เอเซียตะวันออกเฉียงใต้]] [[เอเซียใต้]] และแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ โดยทั้งนี้ได้มีการเน้นการศึกษาวิจัยผ่านสาขาวิชาสำคัญ ได้แก่ [[มานุษยวิทยา]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ]] และ[[การจัดการทรัพยากร]] เป็นต้น
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านสังคมศาสตร์''' ([http://rsss.anu.edu.au/ Research School of Social Sciences] - RSSS) เป็นสถาบันชั้นนำในการวิจัยทั้งในเชิงทฤษฏีและเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับ [[ประชากรศาสตร์]] [[สังคมวิทยา]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[ประวัติศาสตร์]] [[นิติศาสตร์]] [[ปรัชญา]] [[รัฐศาสตร์]] และทฤษฏีทางสังคมและการเมือง
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์''' ([http://wwwrsphysse.anu.edu.au/ Research School of Physical Sciences and Engineering] - RSPhysSE) สถาบันแห่งนี้ทำการวิจัยในหลายสาขาตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานจนถึงการประยุกต์ ซึ่งรวมถึงงานด้านทฤษฏีและการทดลอง สาขาที่เน้นได้แก่ [[วัสดุศาสตร์]]และ[[วิศวกรรมวัสดุ]] เลเซอร์ ศาสตร์ด้านพฤติกรรมแสงแบบไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear optics) โฟตอนศาสตร์ [[นาโนเทคโนโลยี]] อะตอมและโมเลกุลฟิสิกส์ นิวเคลียร์
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านการแพทย์ จอห์น เคอร์ติน''' ([http://jcsmr.anu.edu.au/ John Curtin School of Medical Research] - JCSMR) ก่อตั้งเมื่อปี [[ค.ศ. 1948]] โดยดำริของ [[ศาสตราจารย์]] โฮวาร์ด ฟลอรี่ (Howard Florey) ผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบล]] และ นายกรัฐมนตรีจอห์น เคอร์ติน ที่ผ่านมามีบุคคลสองท่านจากสถาบันแห่งนี้ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว
เส้น 49 ⟶ 48:
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สารสนเทศ''' ([http://rsise.anu.edu.au/ Research School of Information Science and Engineering] - RSISE) เน้นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับวิทยาการด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
 
* '''ศูนย์ศึกษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม''' ([http://cres.anu.edu.au/index.php Centre for Resource and Environmental Studeies] - CRES) มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบสหวิทยาการ โดยใช้มุมมองหลากหลายทั้งจากด้านเศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์ดิน ชลศาสตร์ และนิเวศวิทยา
 
* '''สถาบันคณิตศาสตร์''' ([http://wwwmaths.anu.edu.au/about/overview.html Mathematical Sciences Institute] - MSI) เน้นการสนับสนุนและพัฒนาการวิจัย การสอน และการให้คำปรึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ซึ่งรวมถึง คณิตศาสตร์ สถิติ คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ และ การคำนวณทางคณิตศาสตร์
เส้น 56 ⟶ 55:
ปัจจุบันคณะต่าง ๆ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ แต่บางคณะยังคงมีการเรียนการสอนและการวิจัยระดับหลังปริญญาตรีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน นับตั้งแต่มีระบบวิทยาลัย ระบบคณะได้ถูกลดความสำคัญลง และถูกจัดให้อยู่ภายใต้หน่วยการเรียนการสอนของวิทยาลัยที่สังกัด เดิม ANU มีทั้งหมด 7 คณะ ได้แก่ [http://arts.anu.edu.au/ คณะศิลปศาสตร์] [http://asianstudies.anu.edu.au/ คณะเอเซียศึกษา] [http://ecocomm.anu.edu.au/ คณะเศรษฐศาสตร์และการพาณิชย์] [http://feit.anu.edu.au/ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ] [http://law.anu.edu.au/ คณะนิติศาสตร์] [http://science.anu.edu.au/ คณะวิทยาศาสตร์] และ [http://medicalschool.anu.edu.au/ คณะแพทยศาสตร์]
 
== หน่วยการศึกษาอื่น ๆ ==
หน่วยการศึกษาอื่น ๆ หรือ ศูนย์ศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัย (University Centres) เป็นการจัดตั้งขึ้นตามวรรคที่ 7 (2) ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มักจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยการศึกษาวิจัยเฉพาะด้านที่สำคัญและอยู่ในความต้องการของประเทศ รวมทั้งบางแห่งอาจมีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาด้วย ซึ่งสามารถดึงทรัพยากรบุคคลที่เดิมสังกัดในคณะและสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่าง ๆ มาเป็นประโยชน์เพื่อการนี้ได้ด้วย ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย ศูนย์ศึกษา/วิจัย และสถาบันต่าง ๆ คือ
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเมืองการปกครอง ครอว์ฟอร์ด''' ([http://www.crawford.anu.edu.au/ Crawford School of Economics and Government]) ถือเป็นบัณฑิตวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของออสเตรเลียในด้านการวิจัยและศึกษา[[นโยบายสาธารณะ]]และการเมืองการปกครอง ซึ่งมีการจัดการศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัยในแบบ[[สหวิทยาการ]] ([[interdisciplinary]]) ทั้งในสาขา[[รัฐศาสตร์]] [[เศรษฐศาสตร์]] และ[[สังคมศาสตร์]]แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับ [[:en: economic policy|นโยบายเศรษฐกิจ]] [[:en: fiscal policy|นโยบายการคลัง]] [[:en:trade policy|นโยบายการค้า]] [[:en:environmental policy|นโยบายสิ่งแวดล้อม]]และ[[:en:resource management|การจัดสรรทรัพยากร]] และ[[:en:social policy|นโยบายสังคม]]และ[[:en:education policy|การศึกษา]] เป็นต้น รวมถึง การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้าน[[:en:governance|การเมืองการปกครอง]] [[:en: political institution|สถาบันทางการเมือง]], [[:en:political development|การพัฒนาการทางการเมือง]], [[ประชาธิปไตย]], [[การบริหารรัฐกิจ]], [[:en:economic development| การพัฒนาการทางเศรษฐกิจ]], [[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ]], [[:en:international cooperation|ความร่วมมือระหว่างประเทศ]], [[:en:regionalism|ภูมิภาคนิยม]]และ[[:en:regionalisation|การบูรณาการในภูมิภาค]] โดยเน้นภูมิภาค[[เอเซีย]]และ[[แปซิฟิก]]เป็นหลัก นอกจากนั้นยังเป็นสถาบันที่จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่บรรดาข้าราชการจากประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียในการนำไปพัฒนาการบริหารประเทศในด้านเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายสาธารณะด้านต่าง ๆ อีกด้วย
 
* '''บัณฑิตวิทยาลัยการทูตเอเซียและแปซิฟิก''' ([http://apcd.anu.edu.au/ Asia-Pacific College of Diplomacy]) จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาขั้นสูง และการแลกเปลี่ยนแนวความคิดที่เกี่ยวกับการทูตระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รวมทั้ง เป็นศูนย์ในการฝึกอบรมและสัมมนาด้านการทูตของออสเตรเลียกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอีกด้วย
เส้น 69 ⟶ 68:
* '''ศูนย์ระบาดวิทยาและสาธารณสุขประชากรแห่งชาติ''' ([http://nceph.anu.edu.au/ National Centre for Epidemiology and Population Health]) มุ่งเน้นศึกษาวิจัยเพื่อทำความเข้าใจรูปแบบ (pattern) ของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร รวมทั้งโรคระบาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียและภูมิภาคใกล้เคียง และบริเวณอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการวางนโยบายที่เหมาะสมให้เกิดดุลยภาพในการให้การบริการสุขภาพ ความเป็นธรรม และสนองตอบต่อการยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
 
* '''สถาบันวิจัยสาธารณสุขมูลฐานแห่งออสเตรเลีย''' ([http://www.anu.edu.au/aphcri/ Australian Primary Health Care Research Institute]) จัดต้งขึ้นเพื่อเป็นผู้นำในศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่มาตรการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพในการบริการสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเน้นในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับ การจัดองค์กร ค่าใช้จ่าย การให้บริการ และผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติการ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในขั้นที่สูงขึ้น
 
* '''ศูนย์วิจัยสุขภาพจิต''' ([http://cmhr.anu.edu.au/ Centre for Mental Health Research]) มุ่งศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตและภาวะสูงวัย การถดถอยทางจิต การเข้าสู่ภาวะสูงวัยอย่างสร้างสรรค์ การเกษียณอายุและความสามารถในการเคลื่อนที่ ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะแนวทางและนโยบายที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อสังคมและประเทศ
เส้น 75 ⟶ 74:
* '''ศูนย์การพัฒนาการศึกษาและวิธีการทางการศึกษา''' ([http://www.anu.edu.au/CEDAM/ Centre for Educational Development and Academic Methods]) เน้นการวิจัยด้านการศึกษาในระดับสูง และแนววิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับวงการวิชาการและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
 
* '''ศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์''' ([http://online.anu.edu.au/HRC/ Humanities Research Centre]) จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นการวิจัยทางมนุษยศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้ง พยายามให้เกิดการประสานแนวทางการศึกษาระหว่างสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจสังคมและมนุษย์ ทั้งนี้ในแต่ละปี ศูนย์ฯ จะตั้งหัวข้อในการศึกษาวิจัยที่แตกต่างกันไป
 
* '''ศูนย์วิจัยข้ามวัฒนธรรม''' ([http://www.anu.edu.au/culture/ Centre for Cross-Cultural Research]) เน้นการวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาวิธีการแบบใหม่ โดยบูรณาการวิธีการวิจัยแบบดั่งเดิมเข้ามาด้วย เพื่อเข้าใจและชี้ให้เห็นแนวทางที่หลากหลายที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ต่าง ๆ
 
* '''ศูนย์ศึกษาชนพื้นเมืองแห่งชาติ''' ([http://law.anu.edu.au/ncis/ National Centre for Indigenous Studies]) ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย โดยเน้นประเด็นด้าน การมีส่วนร่วม การบริหารงาน และนโยบายสาธารณะในกิจการที่เกี่ยวกับชนพื้นเมือง รวมถึงประเด็นข้ามชาติต่าง ๆ ประเด็นด้านกฎหมาย สิทธิ ประเด็นทางสังคม และการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ความกินดีอยู่ดี และความปลอดภัยของชนพื้นเมือง
เส้น 89 ⟶ 88:
== สหวิทยาลัย ==
 
การก่อตั้งระบบสหวิทยาลัย (Colleges) เพิ่งริเริ่มได้ไม่นานมานี้ โดยค่อย ๆ เริ่มการประสานงานกันตั้งแต่ปี 2006 และเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปีถัดมา ในปัจจุบัน มีสถาบันวิจัย คณะ และศูนย์ต่าง ๆ เข้ามาอยู่ภายในสหวิทยาลัยทั้ง 7 แห่ง และคาดว่าระบบสหวิทยาลัยนี้จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารการศึกษาต่อไป เพื่อให้การวิจัยและการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกันมีการร่วมมือ และแบ่งสรรการใช้ทรัพยาการร่วมกัน โดยเฉพาะบุคลากรทางวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและมุ่งสู่ความเป็นเลิศต่อไป ปัจจุบันประกอบด้วย
 
* '''สหวิทยาลัยศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์''' ([http://cass.anu.edu.au/ College of Arts and Social Sciences]) ประกอบด้วย คณะศิลปศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านสังคมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการศึกษาและวิธีการทางการศึกษา และ ศูนย์ศึกษาวิจัยนโยบายเศรษฐกิจชนพื้นเมือง
 
* '''สหวิทยาลัยเอเซียและแปซิฟิก''' ([http://asiapacific.anu.edu.au/ College of Asia and the Pacific]) ประกอบด้วยหน่วยการศึกษาวิจัยที่เน้นด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยครอว์ฟอร์ดว่าด้วยเศรษฐศาสตร์และการเมืองการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาว่าด้วยการระหว่างประเทศ การเมืองและยุทธศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษาว่าด้วยการควบคุม ความยุติธรรมและการทูต, และ วิทยาลัยการศึกษาว่าด้วยวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภาษา
 
* '''สหวิทยาลัยธุรกิจและเศรษฐศาสตร์''' ([http://cbe.anu.edu.au/ College of Business and Economics]) ประกอบด้วย คณะเศรษฐศาสตร์และการพาณิชย์ และ บัณฑิตวิทยาลัยแห่งชาติด้านการจัดการ
 
* '''สหวิทยาลัยวิศวกรรศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์''' ([http://cecs.anu.edu.au/ College of Engineering and Computer Science]) ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สารสนเทศและวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
* '''สหวิทยาลัยนิติศาสตร์''' ([http://law.anu.edu.au/ College of Law])
 
* '''สหวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข''' ([http://cmhs.anu.edu.au/ College of Medicine and Health Science]) ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์, ศูนย์ศึกษาวิจัยเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขแห่งออสเตรเลีย, สถาบันวิจัยสาธารณสุขมูลฐานแห่งออสเตรเลีย, ศูนย์วิจัยสุขภาพจิต, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านการแพทย์ จอห์น เคอร์ติน, ศูนย์ศึกษาระบาดวิทยาและสุขภาพประชากรแห่งชาติ และ ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุขเมนซี่
 
* '''สหวิทยาลัยวิทยาศาสตร์''' ([http://cos.anu.edu.au/ College of Science]) เป็นวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยหน่วยงานการเรียนการสอนและการวิจัยต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านดาราศาสตร์และดาราฟิสิกส์, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านด้านเคมี, บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อันเกี่ยวกับโลก และ บัณฑิตวิทยาลัยการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์
เส้น 107 ⟶ 106:
== อันดับมหาวิทยาลัย ==
การจัดอันดับโดยสถาบันต่าง ๆ ได้พิจารณาความสำเร็จทั้งในด้านวิชาการ การวิจัย การเรียนการสอน การยอมรับจากสังคมทั้งวงการวิชาการและตลาดแรงงาน และความพร้อมในการบริการการศึกษา ซึ่งผลการจัดอันดับ สามารถกล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของออสเตรเลีย และทั้งเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงชั้นแนวหน้าทั้งในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก และระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้แยกตามหน่วยงานที่ทำการจัดลำดับที่เป็นที่นิยมในการอ้างอิง ตัวอย่างเช่น
* วารสาร [[ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์]]ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดอันดับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของโลก ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยมากกว่า 200 แห่ง ปรากฏว่า ANU ได้รับการจัดอันดับ 16 ตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปี 2008 (ยกเว้นในปี 2005 อยู่ในอันดับที่ 23) ทั้งนี้ ในปี 2008 THES-QS ได้แยกอันดับในสาขาต่าง ๆ ซึ่ง ANU ได้รับอันดับ 12 ในสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อันดับ 14 ในสาขาสังคมศาสตร์ อันดับ 21 ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ อันดับ 36 ในสาขาเทคโนโลยี และอันดับ 37 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์
 
* [[นิตยสารนิวส์วีค]] (Newsweek) ในปี 2006 ได้จัดให้มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 38 จาก 100 อันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
 
* [[มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง]] ในปี 2007 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียอยู่ในอันดับที่ 57 จาก 500 อันดับทั่วโลก ทั้งนี้ ANU เคยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 54, 56, 53 และ 49 ในปี 2006, 2005, 2004 และ 2003 ตามลำดับ
เส้น 115 ⟶ 114:
* นักศึกษาสามารถเลือกพักนอกเขตมหาวิทยาลัยได้ที่'UniGardens<ref name="ANU student accommodation, UniGardens, Canberra">[http://unigardens.com.au Australian National University accommodation], official website</ref>' ใน Belconnen
 
{{Commonscatคอมมอนส์-หมวดหมู่|Australian National University}}
 
== อ้างอิง ==