ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระต่าย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 2:
'''กระต่าย''' ({{lang-en|Rabbit}}) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] [[Lagomorpha|อันดับกระต่าย]] (Lagomorpha) ในวงศ์ [[Leporidae]]
 
กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับ[[สัตว์ฟันแทะ]] (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็น[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]ต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า <math> (1\tfrac{2}{2}, C\tfrac{0}{0}, P\tfrac{3}{2}, M\tfrac{2}{3}) X 2 = 28</math>
 
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่ง[[วิวัฒนาการ]]มาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 [[นิ้ว (อวัยวะ)|นิ้ว]] ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วย[[กล้ามเนื้อ]] จึงสามารถ[[กระโดด]]ได้เป็นอย่างดี เคยมีการประกวดการกระโดดของกระต่ายที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ กระต่ายตัวที่กระโดดได้สูงที่สุดกระโดดได้สูงถึง 99.5 เซนติเมตรเลยทีเดียว<ref name="wite"/> ใต้ฝ่าตีนของกระต่ายมีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย นอกจากนี้แล้วตาของกระต่ายยังมีหนังตาหรือเปลือกตาถึง 3 ชั้นด้วยกัน<ref>''Pets 101 : Pet Guide'', สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556</ref> ดวงตาของกระต่ายมีลักษณะกลมโต ทำให้กระต่ายสามารถเหลือบมองภาพด้านหลังได้โดยที่ไม่ต้องหันหัวเลย กระต่ายจัดเป็นสัตว์ที่มีระบบการมองเห็นที่ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาก แต่กระต่ายสามารถมองเห็นสีได้เพียงแค่ 2 สีเท่านั้น คือ สีเขียวและสีน้ำเงิน และจะยิ่งมองได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด <ref name="wite"/>
บรรทัด 8:
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กิน[[พืช]]เป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ [[หญ้า]]และพืช[[ผัก]]ชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายจะอยู่ที่ 2-3 ปี หรือเต็มที่ก็ 5-10 ปี นับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก โดยปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ตัว กระต่ายในธรรมชาติ มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็น[[ทุ่งหญ้า]]มากกว่า[[ป่าดิบ|ป่าทึบ]] โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็สามารถวิ่งและกระโดดได้เลย เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่ เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้ โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา นอกจากนี้แล้วตามธรรมชาติของกระต่าย ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายป่าหรือกระต่ายบ้าน จะมีพฤติกรรมกินมูลของตัวเองที่ขับถ่ายออกมา มูลลักษณะนี้ถูกเรียกว่า "มูลพวงองุ่น" เป็นมูลซึ่งยังมีสารอาหารอยู่ ที่กระต่ายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมสารอาหารไปได้หมด จึงต้องกินเข้าไปในร่างกายอีกครั้งเพื่อดูดซึมสารอาหารให้หมด <ref name="wite"/>
 
กระต่ายกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง[[อาร์กติก|เขตอาร์กติก]] ยกเว้น[[โอเชียเนีย]]และ[[ทวีปออสเตรเลีย]] ใน[[ประเทศไทย]]พบกระต่ายที่เป็น[[สัตว์ป่า|กระต่ายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ]]เพียงชนิดเดียว คือ [[กระต่ายป่า]] (''Lepus peguensis'') <ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง=ชุติอร กาญวัฒนกิจ
| ชื่อหนังสือ=สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
| URL=
| จังหวัด=กรุงเทพฯ
| พิมพ์ที่= กองทุนสัตว์ป่าโลก. สำนักงานประเทศไทย
| ปี=2543
| ISBN=974-87081-5-2
 
| จำนวนหน้า=256
| หน้า=150
}}
</ref>
 
กระต่ายโดยธรรมชาติ เป็นสัตว์ที่อยู่สุดปลายของ[[ห่วงโซ่อาหาร]] ด้วยเป็นอาหารของ[[สัตว์กินเนื้อ]]ชนิดต่าง ๆ เช่น [[หมาป่า]], [[หมาจิ้งจอก]], [[แมวป่า]], [[เสือ]]ชนิดต่าง ๆ, [[หมาใน]], [[ชะมด]], [[เพียงพอน]] รวมถึง[[งู]]ขนาดใหญ่ด้วย เช่น [[วงศ์งูเหลือม|งูหลามและงูเหลือม]]
บรรทัด 31:
นอกจากนี้แล้วในทาง[[โหราศาสตร์]] กระต่ายยังเป็นตัวแทนของ[[นักษัตร]]ลำดับที่ 4 คือ [[ปีเถาะ]] ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นกระต่าย <ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-20-search.asp เถาะ น.ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref>
[[ภาพ:Oryctolagus cuniculus Rcdo.jpg|thumb|[[กระต่ายยุโรป]] ที่เป็น[[wild type|ต้นสายพันธุ์]]ของกระต่ายบ้านที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน]]
และยังได้กลายมาเป็นต้นแบบของตัวการ์ตูนหลากหลายตัว เช่น [[โรเจอร์ แรบบิท ตูนพิลึกโลก|โรเจอร์ แรบบิท]], [[บักส์ บันนี]] ที่ได้ต้นแบบมาจาก[[กระต่ายป่า]]ที่ปราดเปรียว หรือ[[มาชิมาโร่]] ของเกาหลีใต้ที่เป็นสื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต <ref>[http://english.chosun.com/english/contents/magazine/2001/Attraction200106_4.html (อังกฤษ) 'Mashimaro, ' an Off and On Line Hit]</ref>
โดยตัวละครการ์ตูนกระต่ายตัวแรกของโลก มีชื่อว่า "[[ออสวอลด์]]" ปรากฏตัวในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง ''[[Oswald the Lucky Rabbit]]'' เมื่อปี ค.ศ. 1927 จากการสร้างสรรค์ของ[[วอลต์ ดิสนีย์]]<ref name="wite"/>
 
ในปัจจุบัน กระต่ายได้กลายมาเป็น[[สัตว์เลี้ยง]]ของมนุษย์ทั้งในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจเพื่อรับประทานเนื้อ โดยกระต่ายชนิดที่นำมาพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น โดยมากจะเป็นชนิด [[Oryctolagus cuniculus|กระต่ายยุโรป]] (''Oryctolagus cuniculus'') ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมใน[[ทวีปยุโรป]]<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp กระต่าย ๑ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]</ref> ซึ่งกระต่ายสายพันธุ์สวยงามนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายมากมาย โดยมีขนาดแตกต่างกันออกไปตามขนาดและลักษณะลำตัว เช่น [[เนเธอร์แลนด์ดวอฟ]], [[กระต่ายพันธุ์โปลิช|โปลิช]], [[ฮอลแลนด์ลอป]] ซึ่งเป็นกระต่ายขนาดเล็ก และ[[อิงลิชลอป]] ที่เป็นกระต่ายขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยมีองค์กรที่ทำการรองรับและจัดมาตรฐานสายพันธุ์กระต่ายในระดับสากล คือ [[สมาคมผู้พัฒนาสายพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา]] (ARBA) กระต่ายสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ [[คอนทิเนนทัล ไจแอนท์]] ที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีน้ำหนักมากได้ถึง 20 กิโลกรัม และมีขนาดพอ ๆ กับสุนัขขนาดกลางตัวหนึ่ง และสถิติกระต่ายที่มีอายุยืนที่สุดในโลก คือ 16 ปี 14 วัน เป็นกระต่ายสายพันธุ์[[เจอร์ซี วูลลี]] ที่เป็นกระต่ายสายพันธุ์ขนยาว ชื่อ "ดู" (Do) <ref name="wite">{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=CdP-wN-yPhw|title=แฟนพันธุ์แท้ 2014 คนรักกระต่าย|date=2 May 2014|accessdate=3 May 2014|publisher=แฟนพันธุ์แท้}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commonscatคอมมอนส์-หมวดหมู่|Rabbit breeds|กระต่าย}}
* [http://www.bunnyonline.com/ เว็บไซต์กระต่ายออนไลน์ {{th}}]
* [http://www.jprabbitry.com/ เว็บไซต์บ้านกระต่ายเจพี {{th}}]
[[หมวดหมู่:กระต่าย|กระต่าย]]
[[หมวดหมู่:เนื้อสัตว์]]