ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
จอข่อง
บรรทัด 5:
รัฐสภาประกอบด้วย [[สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส|สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภาฝรั่งเศส|วุฒิสภา]] เพื่อทำหน้าที่ผ่านร่างกฎหมายและงบประมาณ รวมทั้งตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ผ่านทางการถามกระทู้สดในรัฐสภา โดยมีสภารัฐธรรมนูญ ("Conseil Consitutionnel") มีหน้าที่รับรองให้บทบัญญัติต่าง ๆ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิกสภารัฐธรรมนูญ จะได้รับการคัดเลือกจากประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา อนึ่ง อดีตประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภารัฐธรรมนูญด้วย
 
ระบบตุลาการ ซึ่งเป็นแบบ[[ซีวิลลอว์ (ระบบกฎหมาย)|ระบบกฎหมาย]]โดยสืบทอดจาก[[ประมวลกฎหมายนโปเลียน]] แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ศาลแพ่งและอาญา (ดูแลคดีแพ่งและอาญา) และศาลปกครอง (ดูแลเรื่องการใช้อำนาจรัฐ) โดยแต่ละฝ่ายจะมีศาลสูงสุด คือ ศาลยุติธรรมสูงสุด (ศาลฎีกา) สำหรับคดีความทางแพ่งและอาญา และ[[ศาลปกครองสูงสุด|ศาลปกครองสูงสุด (ประเทศฝรั่งเศส)]] สำหรับคดีด้านปกครอง โดยรฐบาลฝรั่งเศสรวมถึงหน่วยงานและองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกหลายทางด้วย
 
ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบ[[รัฐเดี่ยว]] และแบ่งการปกครองย่อยเป็น[[แคว้นในประเทศฝรั่งเศส|แคว้น (région)]] [[จังหวัดในประเทศฝรั่งเศส|จังหวัด (départements)]] และ[[เทศบาลในประเทศฝรั่งเศส|เทศบาล (communes)]] ซึ่งจะมีขอบเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นของตนทั้งด้านการคลังและงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลกลางไม่สามารถเข้ามาแทรกแทรงได้
บรรทัด 11:
เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสเป็นสมาชิกก่อตั้งของ[[ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป]] (European Coal and Steel Community) ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาเป็น[[สหภาพยุโรป]] ดังนั้นประเทศฝรั่งเศสจึงต้องถ่ายโอน[[อำนาจอธิปไตย]]บางส่วนให้กับสหภาพยุโรปตามรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพยุโรป และรัฐบาลฝรั่งเศสจำต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎข้อบังคับแห่งสหภาพยุโรป
 
== รัฐธรรมนูญ ==
{{Main|รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส}}
 
บรรทัด 20:
โดยหลักการที่บรรจุในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ ได้แก่ หลักความเสมอภาคทางกฎหมาย และการไม่ยอมรับชนชั้นทางสังคม ซึ่งได้มีมาแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส การสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ [[เสรีภาพในการพูด]] และ [[เสรีภาพในการแสดงออก]] ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนา การรับรองการถือครองทรัพย์สินและป้องกันจากการยึดทรัพย์ตามอำเภอใจ และความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐบาลต่อประชาชน
 
== ฝ่ายบริหาร ==
 
เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสใช้ระบบการปกครองแบบ[[ระบอบกึ่งประธานาธิบดี|กึ่งประธานาธิบดี]] ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องได้รับเสียงจากการเลือกตั้งเป็นจำนวนอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
 
ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมานตรี ซึ่งโดยกฎหมายไม่สามารถปลดนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่งได้ โดยหากนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคการเมืองฝ่ายเดียวกัน ประธานาธิบดีสามารถเจรจาให้นายกรัฐมนตรีลาออกได้ ประธานาธิบดียังมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และเลขาธิการรัฐมนตรี โดยเมื่อพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นของประธานาธิบดี ทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารและควบคุมการทำงานของรัฐบาลตามนโยบายของประธานาธิบดี โดยในทุกสมัยแม้ในพรรคการเมืองเดียวกัน ก็ยังมีความเห็นต่างกัน
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อประธานาธิบดีไม่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมากในรัฐสภา (ต่างขั้วการเมืองกัน) จะทำให้อำนาจในการบริหารลดลงไปมาก เนื่องด้วยประธานาธิบดีจะต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากในรัฐสภา ซึ่งมักจะทำงานตามพรรคเสียงข้างมากในรัฐสภา ในกรณีนี้ประธานาธิบดีสามารถจะใช้อำนาจยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่เพื่อเป็นการคานอำนาจการต่อรอง โดยจะมีการแบ่งอำนาจกันระหว่างสองขั้ว คือระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี หรือที่เรียกว่า "Cohabitation" ในช่วงก่อนปีค.ศ.2002 ได้พบเหตุการณ์เช่นนี้บ่อย ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดี Jacques Chirac เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรี Lionel Jospin รัฐบาลและเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายซ้าย ตั้งแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปีค.ศ.2000 เพื่อลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีจาก 7 ปีเหลือแค่ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอายุของสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ "Cohabitation" ขึ้น
 
=== รัฐบาล ===
 
รัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดี มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารราชการ และกองทัพ (ในประเทศฝรั่งเศส จะใช้คำว่า "gouvernement" เพื่อหมายถึงคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐบาลโดยรวม ซึ่งคล้ายกับการใช้คำว่า "cabinet" ซึ่งไม่พบเห็นการใช้คำนี้เรียก)
บรรทัด 34:
รัฐบาลจะต้องรายงานต่อรัฐสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรสามารถขอยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อถอดถอนคณะรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติเพื่อผลักดันให้รัฐบาลจะต้องแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากในสภา รัฐมนตรีจะต้องตอบกระทู้จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยวาจาและลายลักษณ์อักษร ซึ่งเรียกว่า "questions au gouvernement" นอกจากนั้น รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้ออภิปราย จะต้องเข้าร่วมประชุมสภาเพื่อตอบคำถามต่อสมาชิกรัฐสภา
 
คณะรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆต่าง ๆ ไม่สามารถออกกฎหมายได้โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่รัฐมนตรีสามารถออกกฎข้อบังคับ หรือพระราชกฤษฎีกา (décrets d'application) ได้โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีสามารถเสนอยกร่างกฎหมายได้ต่อรัฐสภา โดยส่วนมากเสียงข้างมากในสภามักเป็นของคณะรัฐมนตรี ร่างกฎหมายเหล่านี้จึงมักจะผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ในหลายกรณีที่ความเห็นข้างมากในสภา แตกต่างกันกับฝ่ายบริหารอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะทำให้เกิดแก้ไขร่างฯอยู่เสมอ
 
นายกรัฐมนตรีจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรสำหรับการลงมติรับร่างกฎหมาย ภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 49-3 กฎหมายจะถือว่ามีผลบังคับใช้เว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรจะยื่นเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้รับความเห็นชอบจากสภา นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งและถือว่าร่างกฎหมายที่รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบนั้นตกไป
 
ในคณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยสมาชิก 3 ระดับด้วยกัน มีรัฐมนตรีว่าการ (ministres) เป็นผู้มีอาวุโสที่สุดในคณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (ministres délégués) มีหน้าที่ช่วยรัฐมนตรีดูแลงานในกำกับ และเลขานุการรัฐมนตรี (secrétaires d'État) ช่วยกำกับดูแลงานส่วนที่สำคัญรองลงไป และจะต้องเข้าร่วมประชุมรัฐบาลเป็นบางครั้งเท่านั้น โดยในยุคก่อนหน้า[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญต่าง ๆ จะถูกเรียกว่า "มีนิสทร์เดตา" (ministres d'État หรือ secretary of state) ซึ่งยังคงใช้เรียกรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญอย่างลำลองมาถึงปัจจุบัน
 
จำนวนกระทรวง และบทบาทความรับผิดชอบของรัฐมนตรีจะแตกต่างกันในแต่ละรัฐบาล โดยมักจะเรียกชื่อต่างกันไปตามลักษณะงานที่ดูแลรับผิดชอบ อาทิเช่น
บรรทัด 52:
คณะรัฐมนตรีจะมีประชุมประจำสัปดาห์ทุกวันพุธ ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประธานการประชุม ณ [[พระราชวังเอลีเซ]]
 
== ฝ่ายนิติบัญญัติ ==
 
ระบบรัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบไปด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
 
การประชุมรัฐสภาแบ่งเป็นสมัยประชุมทั้งสิ้น 9 เดือนต่อ 1 ปี ในกรณีจำเป็น ประธานาธิบดีสามารถขอเพิ่มวาระการประชุมได้ แม้ว่าอำนาจบริหารของฝ่ายนิติบัญญติจะถูกตัดออกจากสมัยสาธารณรัฐที่ 4 แต่สภาผู้แทนราษฎรยังสามารถยุบรัฐบาลได้โดยใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งกรณียังไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่การแสดงความรับผิดชอบ โดยญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่สามารถเสนอได้คือญัตติที่มีสมาชิกจำนวน 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้เสนอ เมื่อมีการเสนอญัตติ สภาก็จะทำการอภิปรายและลงมติตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ การอภิปรายต้องจัดขึ้นภายใน 3 วันเป็นอย่างช้า โดยวันดังกล่าวหมายถึงวันที่เป็นวันประชุม ส่วนการลงมตินั้นต้องไม่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงหลังการเสนอญัตติ ญัตติจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อญัตตินั้นได้คะแนนเสียงข้างมากของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
บรรทัด 64:
สมาชิกรัฐสภาได้รับอภิสิทธิ์ต่อการจับกุม ในระหว่างสมัยวาระประชุม โดยทั้งสองสภาสมารถตั้งคณะกรรมาธิการชั่วคราวเพื่อทำการสอบสวนได้
 
=== สภาผู้แทนราษฎร ===
{{Main|สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส}}
 
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 577 คน โดยมาจากการเลือกตั้ง โดยดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยจะสิ้นสุดวาระในวันอังคารของสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ปีที่ 5 นับแต่วันเลือกตั้ง
 
สภาผู้แทนราษฎรสามารถยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อคณะรัฐมนตรีได้ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากของสภา โดยในกรณีที่ประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีอยู่คนละขั้วกัน จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หรือเรียกว่า "cohabitation" ในขณะที่มีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยฝ่ายค้านในรัฐสภา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายบริหารบริหารราชการอย่างไม่เหมาะสมหรือบกพร่อง แต่ในกรณีปกติ พรรคเสียงข้างมากหรือพรรคร่วมรัฐบาลจะคอยป้องกันไม่ให้รัฐบาลถูกยุบโดยสภาผู้แทนราษฎร
 
=== วุฒิสภา ===
{{Main|วุฒิสภาฝรั่งเศส}}
 
สมาชิกวุฒิสภาถูกสรรหาทางอ้อม กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่นที่เรียกว่า “คณะผู้เลือกตั้ง” (un collège électoral) ซึ่งประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาภาค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งสิ้นประมาณ 145,000 คน จากนั้นคณะผู้เลือกตั้งเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
 
สมาชิก[[วุฒิสภาฝรั่งเศส]]นั้นมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยมีการเลือกตั้ง 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุกๆทุก ๆ 3 ปีตามชุดของ สมาชิกวุฒิสภาที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชุด ในปัจจุบันวุฒิสภาประกอบไปด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 348 คน
 
วุฒิสภามีสิทธิเสนอร่างกฎหมายและร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายได้เช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรี โดยการตรากฎหมายดังกล่าวต้องไม่เพิ่มรายจ่ายของรัฐหรือทำให้รายได้ของรัฐลดลงและต้องไม่แทรกแซงอำนาจในการตรากฎหมายของรัฐบาลหรืออำนาจซึ่งรัฐบาลได้รับการอนุญาตจากรัฐสภาให้เป็นผู้ตรารัฐกำหนด (ordonnance)
บรรทัด 84:
ตั้งแต่การเริ่มต้นของสาธารณรัฐที่ 5 เป็นต้นมา วุฒิสภามักจะมีเสียงข้างมากโดยกลุ่มขวา เนื่องจากจำนวนของเมืองเล็กในฝรั่งเศสที่มีมากกว่าเมืองใหญ่
 
=== กระบวนการร่างกฎหมาย ===
 
กระบวนการร่างกฎหมายเริ่มต้นจากพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรี (ที่ประชุมเห็นพ้อง) หรือโดยสมาชิกรัฐสภา เพื่อตรากฎหมาย โดยร่างกฎหมายต้องผ่านการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ก่อนที่จะนำเข้าสู่สภาฯ โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 เป็นต้นมา มีการเพิ่มข้อบังคับให้ร่างกฎหมายจะต้องผ่านการศึกษาถึงผลกระทบ ที่มีต่อกฎหมายแห่งประชาคมยุโรป เศรษฐกิจ สังคม การคลัง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 
ในประเทศฝรั่งเศส การร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (navette) ซึ่งนายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการร่วมกัน" (commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกับของไทย กล่าวคือ คณะกรรมาธิการร่วมกันของฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรอาจนำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกันหรือร่างที่ผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งอาจมีการแปรญัตติโดยความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว มาเป็นร่างที่ใช้ในการพิจารณาก็ได้
 
ร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จะถูกลงนามโดยประธานาธิบดี ในระหว่างนี้ ประธานาธิบดี หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 60 คน หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 60 คน สามารถยื่นตีความว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยพิจารณาโดยสภารัฐธรรมนูญก่อนนำมาบังคับใช้ โดยตามกฎหมาย ประธานาธิบดีสามารถลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีเพื่อยื่นร่างกฎหมายกลับไปยังรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้หนึ่งครั้งต่อร่างกฎหมาย โดยเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาฯ แล้ว ประธานาธิบดีต้องลงนามคู่กับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และส่งตีพิมพ์เพื่อบังคับใช้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
 
== ฝ่ายตุลาการ ==
 
อำนาจฝ่ายตุลาการเป็นอิสระไม่ขึ้นตรง และใช้ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ในประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ[[ซีวิลลอว์]]หรือกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล แต่อย่างไรก็ตาม แนวคำพิพากษาของศาลยังถือว่ามีน้ำหนักในการพิจารณาคดีความ
 
กฎหมายฝรั่งเศสได้แบ่งเป็นสองส่วนสำคัญ คือ กฎหมายแพ่งและอาญา และกฎหมายปกครอง
 
=== ศาลคดีแพ่งและอาญา ===
 
ระบบศาลของฝรั่งเศส จะไต่สวนคดีความทั้งด้านแพ่งและอาญา โดยแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาตามลำดับ
บรรทัด 108:
การพิจารณาคดีความโดยลูกขุน จะสงวนไว้ในกรณีคดีอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งเป็นคดีความในอำนาจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยข้าหลวงพิเศษ "Courts of Assizes" อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 3 ท่าน และคณะลูกขุนจำนวน 9 ท่าน (12 ท่านในกรณีอุทธรณ์) โดยจะร่วมกันพิจารณาคำพิพากษานั้น ๆ (รวมทั้งกำหนดโทษ) โดยคณะลูกขุนจะเลือกจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยระบบสุ่ม
 
ในกรณีทั่วไป ผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิพากษาโดยอาชีพ ยกเว้นศาลอาญาเฉพาะเยาวชน อันจะประกอบไปด้วยผู้พิพากษา 1 ท่าน และผู้พิพากษาสมทบอีก 2 ท่าน ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกคัดเลือกเข้ามาที่ไม่ได้มีอาชีพเป็นผู้พิพากษา ศาลเฉพาะด้านอื่นๆอื่น ๆ ก็มักจะประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสาขานั้น อาทิเช่น คณะตุลาการด้านแรงงาน ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสหภาพแรงงานจำนวนเท่าๆเท่า ๆ กับจากสหภาพนายจ้าง ซึ่งยังพบการใช้กับคณะตุลาการด้านอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
 
โดยก่อนเข้าสู่การพิจารณาของระบบศาล จะใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) โดยเมื่อเข้าสู่ศาลแล้ว จะใช้ระบบกล่าวหา (Adversary System) โดยผู้ที่ถูกกล่าวหา (จำเลย) จะถือว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิด (ตามคำพิพากษา)
บรรทัด 114:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
 
{{กระทรวงในประเทศฝรั่งเศส}}