ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบดาวคู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘สเปกโตรสโกปี’ ด้วย ‘สเปกโทรสโกปี’
บรรทัด 3:
'''ดาวคู่''' ({{lang-en|Binary star}}) คือ[[ระบบดาว]]ที่มี[[ดาวฤกษ์]]สองดวงโคจรไปรอบๆ จุด[[ศูนย์กลางมวล]]ของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น '''ดาวเพื่อน''' ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่<ref>[http://thaiastro.nectec.or.th/news/2006/news20060202.html ดาวเดี่ยวมีมากกว่าดาวคู่]</ref> มีความสำคัญต่อการศึกษา[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]] เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมิน[[มวล]]ของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่
 
ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับ[[ดาวแฝด]] (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มี[[แรงดึงดูด]]ระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้[[สเปกโตโทรสโกปี]] ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary)
 
ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า [[ระบบดาวหลายดวง]] ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) [[ดาวซิริอุส]] และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ)