ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเห็นพ้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FESTH (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
FESTH (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
== '''ความหมาย''' ==
รากศัพท์ของคำว่าฉันทามติ (Consensus) มาจาก[[ภาษาลาติน]]ว่า cōnsēnsus หรือ cōnsentiō หมายถึง ความรู้สึกร่วมกัน (feel together) โดย[[พจนานุกรม]]ฉบับ [http://www.merriam-webster.com/dictionary/consensus Merriam-Webster’s Collegiate Dictionary] ให้ความหมายฉันทามติไว้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันที่มีลักษณะเป็นการยอมรับแบบเอกฉันท์ ([https://en.wikipedia.org/wiki/Unanimity unanimity]) หัวใจของฉันทามติมีสาระสำคัญอยู่ที่การประนีประนอมระหว่างกัน และจัดกระบวนการให้คนใน[[สังคม]]หรือ[[ชุมชน]]มี[[สิทธิ]]ในการแสดงความคิดเห็น เป้าหมายของฉันทามติมีเพื่อเป็นเครื่องรับประกันว่าสมาชิกทุกคนใน[[ชุมชน]]จะสามารถแสดงความคิดเห็นและหาข้อตกลงร่วมกันได้ (http://www.merriam-webster.com/dictionary/consensus)
ฉันทามติ มักเชื่อมโยงกับการตัดสินใจ ([https://en.wikipedia.org/wiki/Consensus_decision-making consensus decision making]) ซึ่งหมายถึงกระบวนการตัดสินใจโดยกลุ่มคนที่เน้นความยินยอมและเห็นชอบร่วมกันจากผู้มีส่วนร่วมทุกคน ดังนั้น ฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจจึงหมายถึงทางออกแห่งปัญหาซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ถึงแม้อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในใจของคนทุกคน<ref>Read, James H. (2011). “Consensus”. In George Thomas Kurian et al. The Encyclopedia of Political Science. Washington, D.C.: CQ Press.</ref>
 
บรรทัด 32:
ในเชิงการนำไปใช้พบตัวอย่างเช่น ในเอกสารแผนพัฒนาการเมืองของสภาพัฒนาการเมืองเห็นว่า การสร้างกระบวนการแสวงหาฉันทามติในการหาข้อสรุปหรือมติที่ “ทุกคน” ที่เกี่ยวข้องยอมรับด้วยความเต็มใจโดยไม่มองข้ามความคิดเห็นหรือข้อคัดค้านของคนส่วนน้อย หลายครั้งจึงพบว่า “ญัตติสาธารณะ” และการริเริ่มหรือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ทางการเมืองอาจถูกอ้างว่าได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนนอกสภา เช่น การขับไล่[[เผด็จการทหาร]] หรือเผด็จการระบอบรัฐสภา [[รัฐธรรมนูญ|การร่างรัฐธรรมนูญ]] รวมทั้งการปฏิรูปการเมือง เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง สังคมไทยยังไม่เคยนำกระบวนการตัดสินใจแบบเห็นพ้องต้องกันอย่างฉันทามติมาใช้อย่างเป็นทางการเลย<ref>“แผนพัฒนาการเมือง” (2555). สภาพัฒนาการเมือง. เข้าถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ใน http://www.pdc.go.th/th/images/stories/file/Council_for_Political_Development/inside.pdf. </ref>
 
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าการใช้คำว่าฉันทามติใน[[สังคมไทย]]ยังมีปัญหาในการทำความเข้าใจใน 2 ระดับดังนี้
 
# ปัญหาระดับการนิยาม เป็นปัญหาในการให้ความหมายที่เน้นเรื่องของเสียงข้างน้อย ไม่ใช่เรื่องของ “กระบวนการ” เพราะฉันทามติในความหมายสากลไม่ได้สนใจเสียงข้างน้อยแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะสนใจทั้งกระบวนการไม่ว่าจะมีเสียงขนาดไหน ก็มี[[สิทธิ]]ที่จะแสดงความคิดเห็นและอภิปรายถกเถียงเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันได้
# ปัญหาระดับการปฏิบัติ ฉันทามติมักถูกใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามเสียงข้างมาก และไม่สนใจกติกาของ[[สังคม]] ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาระดับสากลเช่นเดียวกัน เพราะคำว่า consensus ที่ต้องการให้ทุกเสียงมีความหมายอาจจะถูกนำไปบิดเบือนให้กลายเป็นเสียงข้างน้อยเท่านั้นที่มีความหมาย หรือกล่าวได้ว่าเกิดเผด็จการเสียงข้างน้อย ([https://en.wikipedia.org/wiki/Tyranny_of_the_majority minority tyranny])
 
<br />
'''ข้อสังเกตที่ควรเพิ่มเติม'''
 
การทำความเข้าใจและนำคำว่าฉันทามติไปใช้ จึงต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ “กระบวนการ” ในการอภิปรายถกเถียงที่สมาชิกทุกคนใน[[สังคม]]หรือ[[ชุมชน]]สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เน้นที่ผลลัพธ์จากการตัดสินใจ แต่เน้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประนีประนอมระหว่างกัน จนทำให้เกิดข้อตกลงร่วมกันที่สามารถยอมรับได้ทุกฝ่าย ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดหรือมี[[ประสิทธิภาพ]]สูงสุด แต่จะเป็นกระบวนการที่ลดความขัดแย้งได้ดีที่สุด
 
== อ้างอิง ==