ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jiraporn muangporm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
นักเคมีใช้องค์ความรู้นี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสมบัติของสสารที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน รวมถึงสร้างและสังเคราะห์สสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปริมาณมาก ๆ และสร้างสสารจำลองและกระบวนการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักเคมีอาจมีความรู้เฉพาะในระเบียบย่อยใด ๆ ของเคมีก็ได้ นัก[[วัสดุศาสตร์]]และช่างโลหะ<!--metallurgist--> มีพื้นฐานความรู้และทักษะทางเคมีเหมือนกัน งานของนักเคมีมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของ[[วิศวกรรมเคมี]] ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการประเมินค่าของ[[โรงงานเคมี]]ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุด และทำงานในระดับเคมีอุตสาหกรรมในการพัฒนากระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
 
 
::'''นักเคมีโลกที่ควรรู้'''
*พาราเซลซัส (Paracelsus) แพทย์ผู้เริ่มการรักษาไข้โดยใช้สารเคมี
[[ไฟล์:Paracelsus.jpg|150px|thumbnail|left|พาราเซลซัส]]
:พ.ศ.2036-2084
ในงานเทศกาลเซนต์จอห์นประจำปี พ.ศ. 2066 ที่มหาวิทยาลัยเซิลในสวิตเซอร์แลนด์มการจุดไฟกองใหญ่ให้ความสว่างไสวไปทั่วสนามของมหาวิทยาลัย ทันใดนั้น พาราเซลซัล (Paracelss)
ผู้ที่มีชื่อเต็มว่า Philipps Arelis Theorphasts Bombast von Hohenheim และเป็นอาจารย์สอนเคมีกับแพทย์ศาสตร์ ได้เดินเข้ามา ในมือถือตำรา''Canon of Medicine''
ที่ปราชญ์อาวิเซนนา (Avicenna) เขียนพร้อมตะโกนเสยงดังลั่นว่า บรรดาแพทย์ เช๋น อาวิเซนนา, กาเลน(Galen),ราซ๊ส (Rhazes) หรือผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากเมืองโคโลญ เวียนนา หรือปารีส ไม่ว่าจะตั้งรกราก ในลุ่มแม่น้ำไรน์ แซง หรือดานูบ ไม่ว่าจะเป็นชาวกรีก อาหรับ หรือยิว ล้วนเป็นคนโง่เง่าเบาปัญญามาก และไม่รู้จริงเทียบเท่าพาราเซลซัสเลย เมื่อสิ้นเสียงบริภาษ เขาก็โยนตำราแพทย์ที่อาวิเซนนาเขียนเล่มนั้นเข้ากองไฟ และกว่าคำอธิษฐานว่า ขอให้ตำราสลายเป็นจุณ พร้อมความทุกข์ของมวลมนุษย์
 
 
 
 
*บอยล์ (Boyle) ผู้วางรากฐานของวิชาเคมี
[[ไฟล์:Robert Boyle.jpg|150px|thumbnail|left|บอยล์]]
:พ.ศ. 2170 – 2234
ครั้งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคของ ไอแซก นิวตัน ส่วนครึ่งหลังคือช่วงเวลาที่ โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Bolye) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษ ในฐานะผู้ค้นพบกฎของบอยล์ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาณของแก๊สขณะอุณหภูมิคงที่และเป็นผู้เรียบเรียงหนังสือชื่อ The Sceptical Chymist เมื่อปี พ.ศ. 2204 ซึ่งเป็นตำราที่วางรากฐานของวิชาเคมีให้เป็นระบบ จากที่ไม่มีวิธีการที่แน่นอน และไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่อาชีพนักเคมีก็ไม่มี เพราะตามปกติเภสัชกรอังกฤษจะปรุงยาโดยการนำสารประกอบต่างๆ มาผสมปนกันให้คนไข้กิน ในสมัยนั้นคนขายยาถึงถูกเรียกว่า chemist (ปัจจุบัน chemist คือนักเคมี ส่วนเภสัชกรเรียก pharmacist) แต่สำหรับบอยล์ เขามีความคิดว่าเคมีเป็นวิทยาการที่มีอะไรๆมากกว่าการปรุงยา ในช่วงเวลาที่บอยล์ยังมีชีวิตอยู่ เขามีเพื่อนเป็นนักวิทยาศาสตร์หลายคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ประหลาดใจที่ความสำเร็จของบอยล์จะถูกบดบังโดยผลงานของนิวตันจนทำให้โลกแทบไม่ตระหนักในความสำคัญของบอยล์เลย
 
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==