ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jiraporn muangporm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
นักเคมีใช้องค์ความรู้นี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสมบัติของสสารที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน รวมถึงสร้างและสังเคราะห์สสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปริมาณมาก ๆ และสร้างสสารจำลองและกระบวนการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักเคมีอาจมีความรู้เฉพาะในระเบียบย่อยใด ๆ ของเคมีก็ได้ นัก[[วัสดุศาสตร์]]และช่างโลหะ<!--metallurgist--> มีพื้นฐานความรู้และทักษะทางเคมีเหมือนกัน งานของนักเคมีมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของ[[วิศวกรรมเคมี]] ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการประเมินค่าของ[[โรงงานเคมี]]ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุด และทำงานในระดับเคมีอุตสาหกรรมในการพัฒนากระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
 
::'''นักเคมีโลกที่ควรรู้'''
 
*พาราเซลซัส (Paracelsus) แพทย์ผู้เริ่มการรักษาไข้โดยใช้สารเคมี
[[ไฟล์:Paracelsus.jpg|150px|thumbnail|left|พาราเซลซัส]]
ในงานเทศกาลเซนต์จอห์นประจำปี พ.ศ. 2066 ที่มหาวิทยาลัยเซิลในสวิตเซอร์แลนด์มการจุดไฟกองใหญ่ให้ความสว่างไสวไปทั่วสนามของมหาวิทยาลัย ทันใดนั้น พาราเซลซัล (Paracelss)
ผู้ที่มีชื่อเต็มว่า Philipps Arelis Theorphasts Bombast von Hohenheim และเป็นอาจารย์สอนเคมีกับแพทย์ศาสตร์ ได้เดินเข้ามา ในมือถือตำรา''Canon of Medicine''
ที่ปราชญ์อาวิเซนนา (Avicenna) เขียนพร้อมตะโกนเสยงดังลั่นว่า บรรดาแพทย์ เช๋น อาวิเซนนา, กาเลน(Galen),ราซ๊ส (Rhazes) หรือผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากเมืองโคโลญ เวียนนา หรือปารีส ไม่ว่าจะตั้งรกราก ในลุ่มแม่น้ำไรน์ แซง หรือดานูบ ไม่ว่าจะเป็นชาวกรีก อาหรับ หรือยิว ล้วนเป็นคนโง่เง่าเบาปัญญามาก และไม่รู้จริงเทียบเท่าพาราเซลซัสเลย เมื่อสิ้นเสียงบริภาษ เขาก็โยนตำราแพทย์ที่อาวิเซนนาเขียนเล่มนั้นเข้ากองไฟ และกว่าคำอธิษฐานว่า ขอให้ตำราสลายเป็นจุณ พร้อมความทุกข์ของมวลมนุษย์
 
 
 
 
*บอยล์ (Boyle) ผู้วางรากฐานของวิชาเคมี
[[ไฟล์:Robert Boyle.jpg|150px|thumbnail|left|บอยล์]]
:พ.ศ. 2170 – 2234
ครั้งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคของ ไอแซก นิวตัน ส่วนครึ่งหลังคือช่วงเวลาที่ โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Bolye) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษ ในฐานะผู้ค้นพบกฎของบอยล์ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาณของแก๊สขณะอุณหภูมิคงที่และเป็นผู้เรียบเรียงหนังสือชื่อ The Sceptical Chymist เมื่อปี พ.ศ. 2204 ซึ่งเป็นตำราที่วางรากฐานของวิชาเคมีให้เป็นระบบ จากที่ไม่มีวิธีการที่แน่นอน และไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่อาชีพนักเคมีก็ไม่มี เพราะตามปกติเภสัชกรอังกฤษจะปรุงยาโดยการนำสารประกอบต่างๆ มาผสมปนกันให้คนไข้กิน ในสมัยนั้นคนขายยาถึงถูกเรียกว่า chemist (ปัจจุบัน chemist คือนักเคมี ส่วนเภสัชกรเรียก pharmacist) แต่สำหรับบอยล์ เขามีความคิดว่าเคมีเป็นวิทยาการที่มีอะไรๆมากกว่าการปรุงยา ในช่วงเวลาที่บอยล์ยังมีชีวิตอยู่ เขามีเพื่อนเป็นนักวิทยาศาสตร์หลายคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ประหลาดใจที่ความสำเร็จของบอยล์จะถูกบดบังโดยผลงานของนิวตันจนทำให้โลกแทบไม่ตระหนักในความสำคัญของบอยล์เลย
 
 
 
 
*คาเวนดิช (Cavendish) ผู้พบธาตุไฮโดรเจน
[[ไฟล์:Cavendish Henry signature.jpg|150px|thumbnail|left|คาเวนดิช]]
:พ.ศ. 2274 – 2353
ในอดีตเมื่อ 4 ศตวรรษก่อนที่ เฮนรี คาเวนดิช (Henry Cavendish) จะเกิด บรรพบุรุษหลายท่านของสกุลคาเวนดิชมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเคยเป็นคนสำคัญของประเทศ เช่น ในปี พ.ศ. 1909 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ตที่ 3 แห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งให้ จอห์น เดอ คาเวนดิช (John de Cavendish) เป็นประธานศาลฏีกา อีก 2 ศตวรรษต่อมา โทมัส คาเวนดิช (Thomas Cavendish) ผู้เป็นโจรสลัดก็มีชื่อเสยงในฐานะชาวอังกฤษคนที่ 2 ที่ได้เดินทางรอบโลก และเมื่อถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2274 (ตรงกับรัชสมัยพระภูมินทราชา) เลดี้แอนน์ คาเวนดิช (Lady Anne Cavendish) ก็ให้ได้กำเนิด เฮนรี คาเวนดิช ที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ที่เธอไปพักรักษาครรภ์และฟื้นฟูสุขภาพโดยมี ลอร์ด ชาร์ล์ คาเวนดิช (Lord Charles Cavendish) ผู้เป็นสามีอยู่ดูแลด้วย แต่ทารกสกุลคาเวนดิชคนน้ เมื่อเติบใหญ่หาได้มักใหญ่ใฝ่อำนาจเหมือน บรรพบุรุษไม่ เพราะ เฮนรี คาเวนดิช ไม่มีความทะเยอทะยานในการแสวงหาตำแหน่งหรือหน้าที่ทางการเมืองเลย กลับอุทิศชีวิตให้วิทยาศาสตร์อย่างเงียบๆ และมีผลงานที่สำคัญ คือ พบธาตุไฮโดรเจน และเป็นบุคคลแรกที่ชั่งหาน้ำหนักของโลก
 
 
 
 
*พริสต์ลีย์ (Priestley) ผู้พบออกซิเจน
[[ไฟล์:Priestley.jpg|150px|thumbnail|left|พริสต์ย์]]
:พ.ศ. 2276 – 2347
เมื่อ โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) กับผู้โดยสารประมาณอีก 100 คน เดินทางด้วนเรือเดินสมุทรชื่อ แซมซัน ถึงท่าเรือนิวยอร์ก ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2337 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ New York American Daily Advertiser ได้เขียนบทความแสดงความเห็นว่า วันหนึ่งในอนาคต ชาวอังกฤษทุกคนจะสำนึกผิดที่ได้ขับไล่ไสส่งและทำลายทรัพย์สินของพริสต์ลีย์ นักเคมีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ รวมถึงได้ตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏผู้ทรยศต่อราชบัลลังด้วย ทั้งๆที่ในยุคนั้นพริสต์ลีย์นับเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เทียบได้กับ อองตวน ลาวัวซีเย ของฝรั่งเศส และ คาร์ล วิลเฮล์ม ซีเลอ (Karl Wilhelm Scheele) ของสวีเดน โจเซฟ พริสต์ลีย์ เกิดที่ตำบลเบอร์ทอลล์ใกล้เมืองลีดล์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2276 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์) บิดาเจมส์ มีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อ ส่วนมารดา แมรี เสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ครอบครัวนี้มีลูก 6 คน โดยพริสต์ลีย์ เป็นบุตรคนหัวปี เมื่อบรรดาลูกๆขาดแม่ พริสต์ลีย์จึงถูกป้าและลุงนำไปเลี้ยงในบรรยากาศที่อบอวลด้วยศาสนา จนเด็กฃายพริสต์ลีย์คิดว่า เมื่อโตขึ้นจะบวชเรียนและเป็นนักเทศน์
 
 
 
 
*ลาวัวซีเย( Lavoisier)นักเคมีที่เสียชีวิตด้วยกิโยตีน
[[ไฟล์:Lavoisier.jpg|150px|thumbnail|left|ลาวัวซีเย]]
:พ.ศ.2286-2337
ยุโรปก่อนที่ลาวัวซีเยจะเกิด เป็นดินแดนที่ปราชญ์และประชาชนต่างพากันลุ่มหลงเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายจะเปลี่ยนโลหะชนิดหนึ่งให้เป็นอีกชนิดหนึ่ง เช่น เปลี่ยนตะกั่วที่มีราคาถูกให้เป็นทองคำที่มีราคาแพง แม้ในปี พ.ศ.2204 ที่ โรเบิร์ด บอยล์ ได้ให้แนวคิดเรื่องธาตุว่า ไม่สามารถแบ่งแยกเป็นธาตุอื่นได้แล้วก็ตาม สำหรับวิธีการเรียกชื่อของสารประกอบต่างๆ นั้นก็ยังสับสนมาก เช่น เกลือที่เราปัจจุบันเรียกว่าแมกนีเซียมคาร์บอเนต(mogneslum carbonate) คนฝรั่งเศสในสมัยนั้นมีชื่อเรียกที่ต่างกันเก้าชื่อ เช่น magnesle blanche,mognesla aeré dé Bergman และ Magnesie crayese เป็นต้น สำหรับเรื่องสาเหตุการสันบาปนั้น ผู้คนต่างก็เชื่อทฤษฎีโฟลจิสตันของ เกอร์ก ชทาห์ล (Georg Stahl) แพทย์ชาวเยอรมันผู้ได้แถลงในปี พ.ศ 2261 ว่า สารลุกไหม้เพราะมีสารอีกชนิดหนึ่งที่เรยกว่าโฟลจิสตัน ซึ่งเวลาเาโฟลจิสตันจะถูกขับออกมา ดังนั้นหลังการเผาน้ำหนักของสารที่เหลือจะน้อยลง เพราะตาชั่งในสมัยนั้นไม่มีความแม่นยำในการวัด ดังนั้นจึงไม่มีใครเคยเห็นว่า ถ้าชั่งอย่างรอบคอบน้ำหนักของสารที่เหลือจะเพิ่มขึ้น
 
 
 
 
*ดอนตัน (Dalton) ปราชญ์เคมี ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีอะตอม
[[ไฟล์:John Dalton.jpg|150px|thumbnail|left|ดอลตัน]]
:พ.ศ. 2309-2387
ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2377 เควกเกอร์ ชายวัย 66 ปี (Quaker คือ คนที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และไม่รับราชการทหารเพราะไม่คิดฆ่าใคร อีกทั้งชอบแต่งตัวง่าย ๆ มีถุงเท้า ผ้าพันคอสีขาว และถือไม้เท้า) เดินทางมาลอนดอนเพื่อให้เซอร์ฟรานวิส ชานเทรย์ (Sir Francis Chantrey) วาดภาพเหมือนสำหรับนำไปติดตั้งที่ Manchester Royai lnstitution เพราะบุคคลเดียวกันวันนี้เป็นทั้งสมาชิกของ Royai Society แห่งอังกฤษ และ French Academy of Sciences ดังนั้นเขาจึงเป็นบุคคลสำคัญของชาติที่สมควรได้เข้าเฝ้าพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งกรุงอังกฤษ เพราะพระองค์เคยพระราชทานเหรียญทองคำให้ในฐานะผู้มีลงานวิทยาศสตร์ดีเยี่ยม แต่ก็ติดปัญหาอีกเพราะ จอห์น ดอลตัน (John Dalton) เป็นเควกเกอร์ จึงทำให้การเข้าเฝ้าโดยการแต่งตัวแล้วประดับดาปเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดกับความเชื่อของเควกเกอร์ที่จะต้องไม่เป็นทหาร แต่เมื่อกษัตริย์ประราชประสงค์จะพบ เจ้าหน้าที่พระราชวังก็ต้องหาทางออก และพบว่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเพิ่งมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้ดอลตัน ดังนั้นการสวมเส้อคลุมปริญญาเวลาเข้าเฝ้าจึงเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง แม้เสื้อคลุมจะมีสีม่วงแต่ดอลตันผู้เป็นเควกเกอร์ที่ต้องแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีเรียบๆ ก็บอกว่าเสื้อนั้นสีเขียวใบไม้ต่างหาก ทั้งนี้เพราะดอลตันเป็นคนตาบอดสี และเมื่อได้เข้าเฝ้า พระเจ้าวิลเลียมทรงมีปฏิสันถารกับดอลตันนานนับชัวโมง
 
 
 
 
*มารี คูรี ( Marie Curie ) นักเคมีสตรี แห่งปีเคมีสากล 2554
[[ไฟล์:Marie Curie.jpg|150px|thumbnail|left|มารี คูรี]]
:พ.ศ. 2410 -2477
มาเรีย สโคดอฟสกา คูรี(Marie sklodowska Curie)หรือที่รู้จักกันในประเทศฝรั่งเศสว่า มารี คูรี เป็นนักเคมีฟิสิกส์ฝั่งเศสเชื้อชาติโปรแลนด์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีและสาขาฟิสิกส์ด้วยรางวัลศึกษาะรรมชาติของกรัมตรังสีและการพบธาตุเรเดียมและ โปโลเนียมนอกจากผลงานที่โด่งดังนี้แล้ว เธอยังเป็นสตรคนแรกที่ได้รับดุษฎีบัณฑิตและเป็นศาสตร์ตราจารย์สตรีคนแรกแห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปารีสด้วย เมื่อบุตรสาวของเธอชื่อ อีฟ คูรี(Eve Curie)เรียบเรียงหนังสือชีวประวัติเรื่อง Madame Curie ออกวางจำหน่ายเธอก็กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โลกรู้จักดีเป็นอันดับ 2 รองจาก อัลเบิร์ต ไอร์สไตร์
มาเรีย สโคดอฟสกา เกิดที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปรแลนด์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2410 ซึ่งเป็นเวลาที่โปรแลนด์กำลังถูกรัสเซียยึดครอง ชาวโปรแลนด์จำนวนมากที่ต่อต้านรัศเซียจะถูกฆ่า จำขังหรือถูกนิรเทศไปไซบีเรีย นอกจากนี้รัฐบาลรัสเซียยังบังคับใช้ให้นักเรียนโปรแลนด์ทุกคนต้องเรียนภาษารัสเซียเพื่อไม่ให้ชาวโปรแลนด์มีภาษาของตัวเอง และรัสเซียไม่สนับสนุนให้ชาวโปรแลนด์รับการศึกษาชั้นสูง ยิ่งเป้นสตรียิ่งไม่ให้โอกาสเลย เด็กหญิงมาเรียผู้ใฝ่รู้จึงคิดเดินทงไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยดราคอฟ ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ในความปกครองของของออสเตรีย แต่เมื่อเธอสมัครไปก็ได้รับคำตอบว่า เธอน่าจะเรียนคณะคหกรรมศาสตร์มากกว่า มาเรียจึงเปลี่ยนความตั้งใจไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสแทน โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปารีสเพราะเธอพูดภาษาฝรั่งเศสได้คล่อง และสตรียุโรป เช่น ผู้หญิงชาวอังกฤษ ที่ต้องการเรียนแพทย์ก็มักเลือกไปฝรั่งเศสเธอจึงสมัครไปที่ซอร์บอบน์และได้รับการตอบรับ
 
 
 
 
*เวอเลอร์ (Wöhler) ผู้บุกเบิกการสังเคราะห์สารอินทรีย์
[[ไฟล์:Friedrich woehler.jpg|150px|thumbnail|left|เวอเลอร์]]
:พ.ศ. 2343 -2425
นักเคมีเมื่อ200ปีก่อนเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกพลังชีวิต(Vital force)ซึ่งสิ่งไม่มีชีวิตไม่มี ดังนั้นสารใด ก็ตามที่มีในสิ่งมีชีวิตมนุษย์จะสังเคราะห์จากสิ่งไม่มีชีวิตไม่ได้นั่นคือ มนุษย์ไม่มีวันเก่งเท่าธรรมชาติ แม้แต่ปราชญ์เช่นแบร์ซีเลียสก็เคยปรารภว่า นักเคมีไม่สามารถสร้างสารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ได้ และเลโอโปลด์ เมลลิน (Leopold Gmelin)ผู้เป็นอาจารย์ของฟรีดริซ เวอเลอร์
(Friedrich Wöhler) ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่าไม่มีใครสามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้ แต่ ฟรีดริซ เวอเลอร์ วัย23ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการฝึกงานที่ห้องปฏิบัติงานเคมีของแบร์ซีเลียสที่สตอกโฮล์มเพื่อมาสอนที่โรงเรียนธุรกิจในนครเบอร์ลินกลับไม่เชื่อ เขาคิดว่าถ้าพระเจ้าสร้างกฎข้อห้ามนี้ มนุษย์ก็ต้องหาวิธีฝ่าฝืน ดังนั้นเวอเลอร์จึงคิดจะหา Vital force ให้จงได้ ซึ่งถ้าพบเขาก็จะทำให้วิทยาการเคมีก้าวหน้าเพราะนักเคมีจะใช้ Vital force ผลิตสารอินทรีย์ต่างๆได้หมดและความสำเร็จนี้จะยิ่งใหญ่เทียบเท่าความสำเร็จของลาวัวซีเยที่พบว่าสารโฟลจิสตันไม่มีในธรรมชาติ เวอเลอร์เริ่มทำงานโดยศึกษาผลงานของ มิเชล อูเซ แชฟเวิล นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้พบว่าไขมันที่มีในสัตว์และในพืชมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน ดังนั้นเขาจึงคิดว่า ความเชื่อที่ว่าพืชกับสัตว์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั้นไม่ถูกต้องและไม่สมควรเชื่ออีกต่อไป เวอเล่อร์เริ่มทำงานอย่างช้าๆโดยใช้สารอนินทรีย์ต่างๆทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก เขาจำได้ว่าเมื่อครั้งที่ไปฝึกงานที่ห้องปฏิบัติการของแบร์ซีเลียส เขาเคยสร้างผลึกสีขาวแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ในที่สุดหลังจากเพียรพยายามทดลองนาน4ปี เหตุการณ์มหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เมื่อเขาเห็นผลึกสีขาวรูปร่างคล้ายเข็มและมีสีสุกใสเหมือนผลึกที่รูแอล(Rouelie) อาจารย์เคมีของลาวัวซีเยเคยพบในปัสสาวะเมื่อ 50ปีก่อน และในเวลาต่อมา ฟูร์ครัวตั้งชื่อผลึกนั้นว่ายูเรีย และผลึกนี้จะพบเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น เวอเล่อร์มั่นใจว่าสิ่งที่เขาเห็นในห้องปฏิบัติการคือ ผลึกยูเรีย เพราะเขาเคยเขียนเรียงความเรื่องของเสียที่พบในปัสสาวะ เขาจึงรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะการสังเคราะห์ยูเรียได้ในห้องปฏิบัติการเป็นการทำลายความเชื่อเดิมที่ผิด และวิธีการของเขาจะเปิดประตูใหม่ให้นักเคมีสามารถสังเคราะห์สารอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งมีชีวิตอีกต่อไป
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==