ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jiraporn muangporm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jiraporn muangporm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
*บอยล์ (Boyle) ผู้วางรากฐานของวิชาเคมี
[[ไฟล์:Robert Boyle.jpg|150px|thumbnail|left|บอยล์]]
:พ.ศ. 2170 – 2234
ครั้งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นยุคของ ไอแซก นิวตัน ส่วนครึ่งหลังคือช่วงเวลาที่ โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Bolye) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษ ในฐานะผู้ค้นพบกฎของบอยล์ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับปริมาณของแก๊สขณะอุณหภูมิคงที่และเป็นผู้เรียบเรียงหนังสือชื่อ The Sceptical Chymist เมื่อปี พ.ศ. 2204 ซึ่งเป็นตำราที่วางรากฐานของวิชาเคมีให้เป็นระบบ จากที่ไม่มีวิธีการที่แน่นอน และไม่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่อาชีพนักเคมีก็ไม่มี เพราะตามปกติเภสัชกรอังกฤษจะปรุงยาโดยการนำสารประกอบต่างๆ มาผสมปนกันให้คนไข้กิน ในสมัยนั้นคนขายยาถึงถูกเรียกว่า chemist (ปัจจุบัน chemist คือนักเคมี ส่วนเภสัชกรเรียก pharmacist) แต่สำหรับบอยล์ เขามีความคิดว่าเคมีเป็นวิทยาการที่มีอะไรๆมากกว่าการปรุงยา ในช่วงเวลาที่บอยล์ยังมีชีวิตอยู่ เขามีเพื่อนเป็นนักวิทยาศาสตร์หลายคน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ประหลาดใจที่ความสำเร็จของบอยล์จะถูกบดบังโดยผลงานของนิวตันจนทำให้โลกแทบไม่ตระหนักในความสำคัญของบอยล์เลย
 
 
 
 
*คาเวนดิช (Cavendish) ผู้พบธาตุไฮโดรเจน
[[ไฟล์:Cavendish Henry signature.jpg|150px|thumbnail|left|คาเวนดิช]]
:พ.ศ. 2274 – 2353
ในอดีตเมื่อ 4 ศตวรรษก่อนที่ เฮนรี คาเวนดิช (Henry Cavendish) จะเกิด บรรพบุรุษหลายท่านของสกุลคาเวนดิชมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเคยเป็นคนสำคัญของประเทศ เช่น ในปี พ.ศ. 1909 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ตที่ 3 แห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งให้ จอห์น เดอ คาเวนดิช (John de Cavendish) เป็นประธานศาลฏีกา อีก 2 ศตวรรษต่อมา โทมัส คาเวนดิช (Thomas Cavendish) ผู้เป็นโจรสลัดก็มีชื่อเสยงในฐานะชาวอังกฤษคนที่ 2 ที่ได้เดินทางรอบโลก และเมื่อถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2274 (ตรงกับรัชสมัยพระภูมินทราชา) เลดี้แอนน์ คาเวนดิช (Lady Anne Cavendish) ก็ให้ได้กำเนิด เฮนรี คาเวนดิช ที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ที่เธอไปพักรักษาครรภ์และฟื้นฟูสุขภาพโดยมี ลอร์ด ชาร์ล์ คาเวนดิช (Lord Charles Cavendish) ผู้เป็นสามีอยู่ดูแลด้วย แต่ทารกสกุลคาเวนดิชคนน้ เมื่อเติบใหญ่หาได้มักใหญ่ใฝ่อำนาจเหมือน บรรพบุรุษไม่ เพราะ เฮนรี คาเวนดิช ไม่มีความทะเยอทะยานในการแสวงหาตำแหน่งหรือหน้าที่ทางการเมืองเลย กลับอุทิศชีวิตให้วิทยาศาสตร์อย่างเงียบๆ และมีผลงานที่สำคัญ คือ พบธาตุไฮโดรเจน และเป็นบุคคลแรกที่ชั่งหาน้ำหนักของโลก
 
 
 
 
*พริสต์ลีย์ (Priestley) ผู้พบออกซิเจน
[[ไฟล์:Priestley.jpg|150px|thumbnail|left|พริสต์ย์]]
:พ.ศ. 2276 – 2347
เมื่อ โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) กับผู้โดยสารประมาณอีก 100 คน เดินทางด้วนเรือเดินสมุทรชื่อ แซมซัน ถึงท่าเรือนิวยอร์ก ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2337 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ New York American Daily Advertiser ได้เขียนบทความแสดงความเห็นว่า วันหนึ่งในอนาคต ชาวอังกฤษทุกคนจะสำนึกผิดที่ได้ขับไล่ไสส่งและทำลายทรัพย์สินของพริสต์ลีย์ นักเคมีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ รวมถึงได้ตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏผู้ทรยศต่อราชบัลลังด้วย ทั้งๆที่ในยุคนั้นพริสต์ลีย์นับเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เทียบได้กับ อองตวน ลาวัวซีเย ของฝรั่งเศส และ คาร์ล วิลเฮล์ม ซีเลอ (Karl Wilhelm Scheele) ของสวีเดน โจเซฟ พริสต์ลีย์ เกิดที่ตำบลเบอร์ทอลล์ใกล้เมืองลีดล์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2276 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์) บิดาเจมส์ มีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อ ส่วนมารดา แมรี เสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุยังน้อย ครอบครัวนี้มีลูก 6 คน โดยพริสต์ลีย์ เป็นบุตรคนหัวปี เมื่อบรรดาลูกๆขาดแม่ พริสต์ลีย์จึงถูกป้าและลุงนำไปเลี้ยงในบรรยากาศที่อบอวลด้วยศาสนา จนเด็กฃายพริสต์ลีย์คิดว่า เมื่อโตขึ้นจะบวชเรียนและเป็นนักเทศน์