ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีรพงษ์ รามางกูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
 
== ประวัติและชาติภูมิ ==
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เดิมชื่อนายประดับ บุคคละ เกิดวันที่ [[1 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2486]] ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร หรือนายประดิษฐ์ บุคคละ และนางบุญศรี รามางกูร (สกุลเดิม เกิดเล็ก) '''เชื้อสายฝ่ายคุณปู่เป็นเจ้านายเมือง[[ธาตุพนม]] เชื้อสายฝ่ายคุณย่าเป็นเจ้านายเมือง[[เรณูนคร]]''' คุณปู่ของดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีนามว่า เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) เป็นผู้ตั้งสกุลรามางกูรแห่งอำเภอธาตุพนม เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของอาชญาหลวงกลางน้อยศรีมงคล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมคนที่ 2 กับอาชญานางบุษดี รามางกูร ธิดาหมื่นนำรวง กรมการเมืองธาตุพนม หลานสาวของกวานหลวงอามาตย์ อดีตนายกองข้าโอกาสพระธาตุพนมและอดีตกวานเวียงชะโนด ในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร คุณย่าของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีนามว่าอาชญานางสูนทอง รามางกูร (สกุลเดิม บัวสาย) ธิดาของอาชญานางผายี บัวสาย หลานของเพียพรรณละบุตร์ (พัน บัวสาย) กับอาชญานางซืม บัวสาย แห่งอำเภอเรณูนคร ต้นตระกูลฝ่ายคุณปู่ชื่อ [[ขุนรามราชรามางกูร]] (ราม รามางกูร) หรือเจ้าพ่อขุนรามเจ้าเมืองธาตุพนม (เมืองพนม) องค์แรก<ref>http://viratts.wordpress.com/</ref> กับอาชญานางสิริบุญมา ธิดาเจ้าอุปละ (ศรีสุมังค์) แห่งนครจำปาศักดิ์ ต้นตระกูลฝ่ายคุณย่าชื่อ เจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) อุปฮาตคนแรกแห่งเมืองเรณูนคร กับอาชญานางเอื้อยกก พี่สาวของ[[พระแก้วโกมล]] (เพชร โกพลรัตน์) และพระแก้วโกมล (สาย แก้วมณีชัย) เจ้าเมืองเรณูนคร (เมืองเว) คนแรกและคนที่สอง
 
ตระกูลฝ่ายบิดาของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร นับได้ว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองธาตุพนม นายกอง และเจ้านายชั้นสูง (เจ้าขุนโอกาส) ผู้ดูแลรักษาพระบรมธาตุพนมมาหลายชั่วอายุคน<ref>http://th.wikipedia.org/wiki/</ref> รับราชกาลในเมืองนครจำปาศักดิ์ และสืบเชื้อสายปฐมวงศ์จากราชวงศ์เวียงจันทน์สายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร เมื่อวัยเยาว์นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีอาชีพทำนา ที่[[อำเภอบางบ่อ]] ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรักแล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม [[จังหวัดนครพนม]] โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ที่ธาตุพนม ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามเจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) พี่ชายคนโต ได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร (ป.ธ. 3, พระราชทานเพลิง) ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม รวมถึง ดร. วีรพงษ์ ต้องเปลี่ยนสกุลจากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน เมื่อวัยเยาว์ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4 ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2496 เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่[[โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย]] จากนั้นศึกษาต่อที่[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] แผนกวิทยาศาสตร์ รุ่นเดียวกับ ศ. สุรศักดิ์ นานานุกูล ดร. เมธี ครองแก้ว และศิริบุญ เนาถิ่นสุข จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรกจาก[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ต่อมาได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต ร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นานจึงได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ (Economatrix) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณะบดีคณะเศรษฐศาสตร์ หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลลาวในการวางแผนเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบทุนนิยม ตามนโยบายเปิดประเทศ เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน
 
ดร. วีรพงษ์ รามางกูร มีพี่น้องทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่