ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังลดาวัลย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 5892203 สร้างโดย 27.55.90.119 (พูดคุย)
บรรทัด 31:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:วังลดาวัลย์_3.jpg‎|thumb|250px|right|ห้องภายในวังลดาวัลย์]]
สร้างขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2449]] ตามพระราชประสงค์ของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์]] (ต้นราชสกุลยุคล) เมื่อคราวใกล้จะสำเร็จการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ประเทศอังกฤษ โดยพระราชทานนาม “วังลดาวัลย์” ตามพระนามเดิมของ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี]] ผู้เป็นพระอัยกาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ โดยมี[[พระสถิตย์นิมานการ]] เจ้ากรมโยธาธิการ เป็นผู้จัดการเรื่องแปลน ซึ่งขณะนั้นกรมโยธาธิการได้จ้างช่างชาวต่างประเทศออกแบบพระที่นั่ง พระตำหนัก ตำแหน่งและอาคารต่าง ๆ ฉะนั้น ตำหนักหลังนี้คงออกแบบโดยนายช่างชาวต่างประเทศ โดยมีนาย[[จี บรูโน]] เป็นผู้รับเหมาการก่อสร้าง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ เจ้าของวังลดาวัลย์นั้นโปรดการ[[ดนตรี]] [[นาฏศิลป์]] และศิลปะการแสดงแทบทุกแขนง ทำให้วังลดาวัลย์เปรียบเสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่ง แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ [[2 เมษายน]] [[พ.ศ. 2475]] วังนี้ตกอยู่ในการดูแลของพระชายา คือ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล]] ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]เป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] ใน [[พ.ศ. 2475]] ทำให้วังลดาวัลย์ถูกทอดทิ้ง
 
ต่อมาในช่วง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]รัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นเคยเช่าใช้เป็นหอวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเคยใช้เป็นที่พำนักของกองกำลังทหารจากสหประชาชาติ ครั้นในช่วงปลายสงคราม [[พ.ศ. 2488]] ปัจจุบัน[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ได้ติดต่อขอซื้อวังลดาวัลย์จากพระทายาทเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นที่ประทับของต่างชาติ ราชสกุล ฉัตรธนาชาลสิริวังลดาวัลย์จึงอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตั้งแต่นั้นมา
 
== รูปแบบสถาปัตยกรรม ==