ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็มควอเทียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
* '''อาคารกลาสควอเทียร์ (The Glass Quartier)''' หรืออาคาร B (ด้านหน้าฝั่งธนาคารออมสินสาขาพร้อมพงษ์) เป็นที่ตั้งของร้านค้าระดับกลาง-บน ร้านค้าแฟชั่น ศูนย์อาหาร ศูนย์ประชุมเอนกประสงค์ ศูนย์ออกกำลังกายเวอร์จินแอคทีฟ ฟิตเนส ความสูง 3 ชั้น และอาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ (อาคารสมัชชาวานิช 3) ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานความสูง 30 ชั้น บริหารงานโดยกลุ่มภิรัชบุรี มีห้องรับรองกลางที่ชั้น M โดยเริ่มนับชั้นอาคารสำนักงานที่ชั้น 15 และมีลิฟต์โดยสารความเร็วสูง เช่นเดียวกับอาคารระฟ้าทั่วไป นอกจากนี้ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์รวมถึงจุดชมทัศนียภาพ หรือ สกายคลิฟฟ์ที่ชั้นดาดฟ้า และห้องรับรองส่วนตัวอยู่ที่ชั้น 45 จุดเด่นคือตกแต่งอาคารด้วยกระจกทั้งหมดตั้งแต่ด้านหน้าอาคารยาวไปจนถึงอาคารวอเตอร์ฟอลควอเทียร์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นกิจกรรมภายในอาคารได้จากฝั่งซอยสุขุมวิท 37 ทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของเอ็มโพริโอ อาร์มานี่ คาเฟ่ สาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ภายในตกแต่งด้วยสีสันฉูดฉาด ตัดกับสีขาวทองอันเป็นสัญลักษณ์กลางของศูนย์ฯ
 
* '''อาคารวอเตอร์ฟอลควอเทียร์ (The Waterfall Quartier)''' หรืออาคาร C (ด้านหลัง) เป็นที่ตั้งของลานจอดรถตั้งแต่ชั้น B ถึงชั้น 3 นอกจากนี้ยังมี กูร์เมต์ มาร์เก็ต คิวเรเตอร์ แหล่งรวมสินค้าแฟชั่นจากนักออกแบบชาวไทย คิว สเตเดียม ที่เป็นเสมือนส่วนห้างสรรพสินค้าของศูนย์ฯ สถาบันการเงิน โรงภาพยนตร์[[ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต]] และโรงภาพยนตร์โตโยต้าไอแมกซ์ ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จุดเด่นคืออาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของควอเทียร์ฟอล น้ำตกประดิษฐ์ที่สูงที่สุดในเอเชีย ที่จะเริ่มต้นน้ำจากชั้น 4 ของอาคาร C และไหลมาจนถึงทางเดินชั้น G ระหว่างอาคาร A และอาคาร B ภายในตกแต่งแนวฮิปชิค เน้นการตัดสีระหว่างสีขาว-ดำ นอกจากนี้ยังมีจอ LED เกลียว ความสูง 3 ชั้นตั้งอยู่ด้วย
 
ซึ่งอาคารศูนย์การค้าทั้งสามอาคารจะมีสะพานเชื่อมถึงกันทุกชั้น และชั้นเอ็มยังมีทางเชื่อมไปยัง[[สถานีพร้อมพงษ์|เอ็มดิสทริค สเตชัน]] และอาคาร[[เอ็มโพเรียม]] นอกจากนี้ทางเดินระหว่างอาคารที่ชั้น G จะตกแต่งให้เป็นแนวธรรมชาติตลอดทางคั่นกลางด้วยทางไหลของน้ำจากควอเทียร์ฟอล เสมือนว่าเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างศูนย์การค้ากับอาคารสำนักงาน ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวจะไม่อนุญาตให้นำรถเข้าออกเด็ดขาด ซึ่งรถที่จะเข้าลานจอดรถ ต้องอ้อมเข้าทางด้านหลังของอาคารกลาสควอเทียร์ หรือใช้ซอยสุขุมวิท 37 แทน