ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เป้น’ ด้วย ‘เป็น’
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กบฎ’ ด้วย ‘กบฏ’
บรรทัด 52:
รัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งมีความก้าวหน้าที่แตกต่างในภาพรวมที่ค่อยๆกว้างขึ้นระหว่างพระนางและรัชทายาทที่ทรงแต่งตั้ง เจ้าชาย(ราส)ตาฟารี มาคอนเนน เจ้าชายตาฟารีทรงเป็นนักปฏิรูป ทรงเชื่อว่าเอธิโอเปียจำต้องเปิดประเทศสู่โลกเพื่อให้อยู่รอดได้ ในเรื่องนี้พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางหนุ่มมากมาย อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเป็นนักอนุรักษนิยมทรเชื่อในการปกปักรักษาวัฒนธรรมประเพณีเอธิโอเปีย พระนางทรงได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากคริสตจักรในความเชื่อนี้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเริ่มถอนพระองค์จากบทบาททางการเมืองอย่างช้าๆ และทรงปล่อยให้อำนาจของเจ้าชายตาฟารีมีมากขึ้นและมากขึ้น ภายใต้การบริหารราชการของเจ้าชายตาฟารี ทรงนำเอธิโอเปียเข้าร่วม[[สันนิบาตชาติ]]และทรงประกาศยกเลิกระบบ[[ทาส]] สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงเอาพระทัยใส่ในกิจกรรมทางศาสนา ดังเช่น ทรงสร้างโบสถ์มากมาย
 
ในปีพ.ศ. 2471 เกิดการลุกฮือเล็กน้อยเพื่อต่อต้านการปฏิรูปของเจ้าชายตาฟารี ใน[[การรัฐประหารเอธิโอเปียปีพ.ศ. 2471]]โดยฝ่ายสนับสนุนสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู แต่ไม่สำเร็จ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูทรงถูกบังคับให้ยอมรับเจ้าชายตาฟารี ผู้ซึ่งตอนนี้สามารถควบคุมรัฐบาลส่วนใหญ่ได้แล้ว ด้วยตำแหน่ง ''เนกัส'' (กษัตริย์) ในขณะที่เนกัสตาฟารีทรงอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู (ซึ่งตอนนี้ยังทรงเป็น ''Negiste Negest'', "ราชินีแห่งปวงราชันย์" หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ) ตอนนี้เนกัสตาฟารีสามารถปกครองเอธิโอเปียอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพยายามหลายครั้งเพื่อมีอำนาจแทนที่พระองค์ แต่ทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จ ในปีพ.ศ. 2473 พระสวามีของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู เจ้าชาย(ราส)กักซา เวลเลทรงก่อกบฎกบฏใน[[กบฎกบฏกักซา เวลเล]]เพื่อต่อต้านเนกัสตาฟารีที่[[เบเกมเดอร์]]เพื่อยุติการสำเร็จราชการของเนกัสตาฟารีทั้งๆที่พระมเหสีทรงทั้งอ้อนวอนและมีพระราชโองการให้พระองค์หยุดต่อต้าน แต่เจ้าชายกักซา เวลเลทรงพ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในสนามรบโดยกองทัพปฏิรูปเอธิโอเปียใน[[สมรภูมิอันเชม]]ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2473
===เสด็จสวรรคต กรณีเหตุสวรรคต และการสืบราชบัลลังก์===
ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2473 หลังจากเจ้าชายกักซา เวลเลสิ้นพระชนม์ในสนามรบ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เป็นที่รู้กันในทุกวันนี้ว่าทรงพระประชวรด้วยโรค[[เบาหวาน]]และทรงพระประชวนหนักด้วย[[ไข้รากสาดน้อย]]แต่ในระดับสากลไม่เห็นด้วยกับสาเหตุการเสด็จสวรรคตของพระนาง ตามประวัติศาสตร์ที่เป็นที่นิยมบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูเสด็จสวรรคตจากพระอาการช็อกและความเสียพระทัยที่ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามี แต่ตามบันทึกอื่นๆโต้แย้งบันทึกนี้ ซึ่งบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูไม่ทรงได้รับทราบผลการสู้รบก่อนที่จะเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน จากหลักฐานของคณะทูตในกรุงแอดดิส อบาบารายงานว่าในช่วงนั้นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูซึ่งทรงพระประชวรทรงแช่พระองค์ในภาชนะขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เย็นในการรักษาพระอาการประชวรของพระนางแต่พระวรกายของพระนางช็อกและและพระนางเสด็จสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน<ref>{{Ref Ethiopia|Henze-2000|pages= p. 205}}</ref> ช่วงเวลาการเสด็จสวรรคตของพระนางเกิดในทันทีหลังจากข่าวผลการสู้รบได้มาถึงในกรุงแอดดิส อบาบาได้ก่อให้เกิดการพิจารณาว่าเป็นสาเหตุที่พระนางเสด็จสวรรคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์รัชทายาทของพระนางโดยฝ่ายอนุรักษนิยม สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีทรงถูกกล่าวหาว่าเมื่อการจลาจลถูกปราบปรามอย่างเด็ดขาด พระองค์หรือผู้สนับสนุนพระองค์จะรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นในการวางยาพิษปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตู การพิจารณาทฤษฎีการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน