ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอินโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AlphamaBot (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กบฎ’ ด้วย ‘กบฏ’
บรรทัด 41:
 
== รัฐประหารพระเจ้าอินโจ ==
พระเจ้าอินโจ เดิมพระนามว่า '''องค์ชายนึงยาง''' ({{lang-ko|능양군 綾陽君}}) เป็นพระโอรสของโตองค์ชายจองวอน ({{lang-ko|정원군 定遠君}}) ซึ่งองค์ชายจองวอนนั้นเป็นพระโอรสของ[[พระเจ้าซอนโจ]]กับพระสนมอินบิน ตระกูลคิม เนื่องจากพระสนมอินบินเป็นพระสนมองค์โปรดของพระเจ้าซอนโจ พระเจ้าซอนโจจึงมีพระประสงค์จะให้พระโอรสของสนมอินบินได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งโจซอนต่อจากพระองค์ แต่ทว่าในขณะนั้นมีองค์ชายรัชทายาทผู้สืบทอดอยู่แล้วคือ องค์ชายควังแฮ ดังนั้นในรัชสมัยขององค์ชายควังแฮ องค์ชายจองวอนและพระโอรสจึงเป็นที่เพ่งเล็งอยู่เสมอ ใน[[ค.ศ. 1615]] พระอนุชาขององค์ชายนึงยางคือ องค์ชายนึงชัง ({{lang-ko|능창군 綾昌君}}) ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎกบฏต่อพระเจ้าควังแฮและถูกสำเร็จโทษด้วยยาพิษ
 
ในรัชสมัยของพระเจ้าควังแฮขุนนางกลุ่มเหนือใหญ่ หรือ ''แทบุก'' ({{lang-ko|대북 大北}}) เรืองอำนาจ ผลักดันให้มีการสำเร็จโทษองค์ชายยองชัง ({{lang-ko|영창대군 永昌大君}}) รวมทั้งปลดและกักขังพระพันปีอินมก ({{lang-ko|인목대비 仁穆大妃}}) ใน[[ค.ศ. 1623]] กลุ่มขุนนางฝ่ายตะวันตกได้แก่ ลีควี ({{lang-ko|이귀 李貴}}) คิมยู ({{lang-ko|김유 金瑬}}) คิมจาจอม ({{lang-ko|김자점 金自點}}) ฯลฯ กระทำการรัฐประหารล้มอำนาจของพระเจ้าควังแฮและขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่ ในข้อหาที่ว่าพระเจ้าควังแฮทรงเข่นฆ่าพี่น้องและทารุณกรรมพระมารดาเลี้ยง จึงทำการ "ยึดอำนาจเพื่อความถูกต้อง"<ref>Jae-eun Kang. ''The Land of Scholars: Two Thousand Years of Korean Confucianism''.</ref> เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าอินโจ หรือ ''อินโจ-บันจอง'' ({{lang-ko|인조반정 仁祖反正}}) องค์ชายควังแฮทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะคังฮวา และคณะรัฐประหารฝ่ายตะวันตกได้อัญเชิญองค์ชายนึงยางขึ้นครองราชย์แทนที่ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วพระเจ้าอินโจทรงตั้งพระบิดาคือองค์ชายจองวอนให้มีสถานะเสมอเหมือนกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าวอนจง ({{lang-ko|원종 元宗}})
 
== กบฏของลีควาล ==
หลังจากพระเจ้าอินโจเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียงสิบเดือน ก็เกิดเหตุการณกบฎกบฏขึ้นเมื่อ ลีควาล ({{lang-ko|이괄 李适}}) เป็นขุนพลซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการรัฐประหารเมื่อ[[ค.ศ. 1623]] ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังชายแดนทางตอนเหนือ ไว้สำหรับป้องกันการรุกรานของราชวงศ์โฮ่วจิน (ราชวงศ์ชิง) แต่ลีควาลกลับมองว่าตำแหน่งทหารชายแดนนั้นเป็นตำแหน่งที่ต้อยต่ำ ไม่เหมาะสมแก่คุณความดีความชอบของตนเองที่ได้เคยกระทำไว้ จึงเกิดความไม่พอใจและใช้กองกำลังชายแดนเหนืออันมากมายมหาศาลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของตนเอง บุกไปยังเมืองฮันซองใน[[ค.ศ. 1624]] พระเจ้าอินโจพร้อมทั้งพระราชวงศ์เสด็จหลบหนีออกมาฝ่าวงล้อมของกบฎกบฏไปประทับที่เมืองคงจูทางตอนใต้ของนครฮันซอง ลีควาลสามารถตีนครฮันซองได้และตั้งองค์ชายฮึงอันพระปิตุลาของพระเจ้าอินโจเป็นกษัตริย์ชั่วคราว ฝ่ายพระเจ้าอินโจนายพล จางมัน ({{lang-ko|장만 張晩}}) ได้รวบรวมทัพเข้าบุกยึดเมืองหลวงคืนจากลีควาลได้สำเร็จ นายพลลีควาลได้ถูกทหารผู้ทรยศของตนเองสังหาร
 
== การรุกรานของแมนจู ==
บรรทัด 52:
ในรัชสมัยของพระเจ้าอินโจ ชนเผ่าแมนจูในแมนจูเรียภายใต้การนำของ[[จักรพรรดิหวงไถจี๋|ฮงไทจิ]] (Hong Taiji) กำลังสะสมขยายอำนาจคุกคามจักรวรรดิจีนราชวงศ์หมิง แม้ว่าอาณาจักรโจซอนจะมีฐานะเป็นประเทศราชของจักรวรรดิจีนจึงต้องให้การสนับสนุนฝ่ายราชวงศ์หมิงในการทำสงครามกับชาวแมนจู แต่ในรัชสมัยขององค์ชายควังแฮได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางมาโดยตลอด และอาณาจักรโจซอนไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะขัดขวางการขยายอำนาจของฮงไทจิ แต่ในรัชสมัยของพระเจ้าอินโจขุนนางฝ่ายตะวันตกครอบครองราชสำนัก มีความเห็นว่าราชวงศ์หมิงเคยมีบุญคุณต่อโจซอนในช่วง[[การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141)]] จึงสมควรที่จะทดแทนบุญคุณโดยให้การสนับสนุนราชวงศ์หมิงอย่างเต็มที่ โดยฝ่ายโจซอนได้ให้การสนับสนุนนายพล เหมาเหวินหลง ({{lang-zh|毛文龍 Mao Wenlong}}) ขุนพลของจีนประจำ [[คาบสมุทรเหลียวตง]]
 
ขุนนางเกาหลีคนหนึ่งชื่อว่า ฮันยุน ({{lang-ko|한윤}}) มีส่วนร่วมในการกบฎกบฏของลีควาลในค.ศ. 1624 หลบหนีไปยังเมืองเสิ่นหยาง (Shenyang) อันเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จินในขณะนั้น และได้พบกับนายพลคังฮงนิป ({{lang-ko|강홍립 姜弘立}}) นายพลชาวเกาหลีผู้ที่ตกเป็นเชลยของพวกแมนจู ฮันยุนได้กล่าวแก่นายพลคังว่า ครอบครัวของนายพลคังในโจซอนได้ถูกประหารชีวิตไปจนหมดสิ้นด้วยเหตุที่นายพลคังมาเข้าพวกกับแมนจู<ref>James B. Palais. ''Confucian Statecraft and Korean Institutions: Yu Hyŏngwŏn and the Late Choson dynasty.''</ref> ด้วยความโกรธแค้นนายพลคังฮงนิปจึงเสนอต่อฮงไทจิให้ยกทัพเข้ารุกรานโจซอน เพื่อล้มล้างขุนนางฝ่ายตะวันตกออกไปและคืนราชบัลลังก์ให้แก่องค์ชายควังแฮ (องค์ชายควังแฮยังมีพระชนม์ชีพอยู่บนเกาะคังฮวา) ฮงไทจิจึงส่งเจ้าชายอามิน (Amin) ผู้เป็นลุง ยกทัพแมนจูเข้ารุกรานอาณาจักรโจซอนในปีค.ศ. 1627 โดยมีนายพลคังฮงนิปเป็นผู้นำทาง เรียกว่า '''การรุกรานเกาหลีของแมนจูครั้งที่หนึ่ง''' (First Manchu Invasion of Korea) หรือ '''การรุกรานปีจองมโย''' ({{lang-ko|정묘호란 丁卯胡亂}})
 
อันดับแรกทัพแมนจูได้เข้าบุกยึดทำลายฐานที่มั่นของเหมาเหวินหลง ริมแม่น้ำยาลูชายแดนทางเหนือ เป็นการเปิดเส้นทางให้กองทัพของเจ้าชายอามินและคังฮงนิปยกทัพเข้ามาในโจซอนได้ ฝ่ายโจซอนส่งแม่ทัพจางมันไปต้านทานการรุกรานที่ชายแดนทางเหนือแต่ไม่สำเร็จ เมื่อคังฮงนิปนำทัพของเจ้าชายอามินรุกคืบลงมาทางใต้เรื่อยๆ ฝ่ายราชสำนักโจซอนวิตกว่าจะเสียเมืองฮันซอง (กรุง[[โซล]]) ให้แก่พวกแมนจู พระเจ้าอินโจพร้อมทั้งพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงเสด็จลี้ภัยมาอยู่ที่เกาะคังฮวา ฝ่ายแมนจูเห็นว่าฝ่ายโจซอนมีความเกรงกลัวทัพแมนจูถึงเพียงนี้จึงเปิดโต๊ะเจรจา ทัพแมนจูจะยอมถอยกลับไปถ้าหากโจซอนเลิกส่งบรรณาการให้แก่ราชวงศ์หมิง เลิกการใช้ศักราชนามปีตามพระนามของฮ่องเต้ต้าหมิง และให้สัตย์สาบานว่าจะไม่รุกล้ำอาณาเขตซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์กันเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ฝ่ายโจซอนจึงยอมรับข้อตกลง