ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชอร์ล็อก โฮมส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
เวลานั้นโฮมส์เป็นนักสืบอยู่แล้ว ส่วนหมอวอตสันเพียงต้องการพักผ่อนหลังจากเกษียนตัวเองจากสงครามอัฟกานิสถาน ในช่วงแรกหมอวอตสันรู้สึกว่าโฮมส์ช่างเป็นคนแปลกประหลาด แต่ต่อมาเมื่อคุ้นเคยขึ้น วอตสันจึงเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของสิ่งที่โฮมส์ทำ นับแต่นั้นหมอวอตสันได้ร่วมในการสืบสวนคดีของโฮมส์หลายต่อหลายครั้ง และเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้อ่าน เนื้อเรื่อง ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ที่โคนัน ดอยล์ ประพันธ์นั้น สมมติขึ้นว่าเป็นการเล่าเรื่องจากสมุดบันทึกของหมอวอตสัน ซึ่งเขาส่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์บ้างบางตอน เพราะต้องการเผยแพร่กิตติคุณความสามารถของโฮมส์ให้โลกรู้
 
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1888 ระหว่างการสืบสวนคดี ''จัตวาลักษณ์ (The Sign of Four) '' หมอวอตสันได้รู้จักกับ มิสแมรี มอร์สแตนด์มอร์สตัน ซึ่งเป็นเจ้าทุกข์ หลังเสร็จสิ้นคดี ทั้งสองได้แต่งงานกัน และหมอวอตสันย้ายออกจากห้องเช่า 221 บี ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา เมื่อภรรยาเสียชีวิต หมอวอตสันจึงได้ย้ายกลับมาอยู่กับโฮมส์อีกครั้ง<ref name="timeline" />
 
โฮมส์และหมอวอตสันได้ร่วมสืบคดีด้วยกันเป็นเพื่อนคู่หู รวมคดีที่โฮมส์สะสางทั้งสิ้นมากกว่าหนึ่งพันคดี<ref name="resume">[http://www.magicdragon.com/SherlockHolmes/resumes/Holmes.html Sherlock Holmes' Resume]</ref> บางปีโฮมส์มีคดีมากมายจนทำไม่ทัน บางปีก็ว่างจนโฮมส์ต้องหันไปพึ่ง[[โคเคน]] ช่วงปีที่โฮมส์มีงานยุ่งที่สุดคือ ปี ค.ศ. 1894-1901 โฮมส์มีโอกาสได้ถวายการรับใช้[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]] เมื่อปี ค.ศ. 1895 เหตุการณ์นี้ปรากฏในตอน ''แผนผังเรือดำน้ำ (The Bruce-Partington Plan)'' ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 โฮมส์มีโอกาสได้รับยศอัศวินแต่เขาปฏิเสธ<ref name="resume" />