ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิมศิริ ศิริแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เหรีญ’ ด้วย ‘เหรียญ’
บรรทัด 44:
ปี [[พ.ศ. 2554]] พิมศิริลงแข่งในรายการยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยต้องปะทะกับคู่แข่งอย่าง[[ประภาวดี เจริญรัตนธารากุล]] ที่เพิ่งออกจากแคมป์เก็บตัวทีมชาติ ผลปรากฏว่าพิมศิริสามารถคว้าเหรียญทองได้ และทำลายสถิติประเทศไทยท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และน้ำหนักรวม ของ[[วันดี คำเอี่ยม]] ลงได้ที่น้ำหนัก 136 และ 237 กิโลกรัมตามลำดับ ปลายปีเดียวกันเธอเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก และได้รับเหรียญรางวัลเป็นครั้งแรก คือเหรียญทองแดง
 
ในปี [[พ.ศ. 2555]] พิมศิริ เป็น 1 ใน 4 นักยกน้ำหนักหญิงไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา[[โอลิมปิกฤดูร้อน 2012]] ในการยกท่าสแตตซ์ เธอทำผลงานได้ไม่ดีนัก ยกติดเพียงครั้งเดียวคือในครั้งแรก ที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม เป็นอันดับ 10 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด แต่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก เธอสามารถยกได้ถึง 136 กิโลกรัม ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสอง และคว้าเหรียญเงินในที่สุด โดยถือเป็นเหรีญเหรียญรางวัลแรกของไทยในการแข่งขันครั้งนี้<ref>[http://www.thairath.co.th/content/sport/280059 เหรียญมาแล้ว! 'พิมศิริ'ประเดิมคว้าเงินยกน้ำหนัก]</ref> หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พิมศิริทำผลงานได้ไม่ดีหนักในรายหารถัดมา โดยคว้าเหรียญทองแดง ในการแข่งขัน[[กีฬามหาวิทยาลัยโลก]] [[พ.ศ. 2556]] พร้อมกับมีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หลังจากนั้นพิมศิริได้ย้ายขึ้นไปทำการแข่งขันในรุ่นน้อยกว่า 63 กิโลกรัม และคว้าเหรียญทองในการแข่งขัน[[ซีเกมส์ 2013]]
 
ถัดมาในปี [[พ.ศ. 2557]] พิมศิริสามารถทำลายสถิติประเทศไทย ท่าคลีนแอนด์เจิร์กของ[[ปวีณา ทองสุข]] ลงได้ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยยกได้ 143 กฺโลกรัม แม้เธอจะสามารถทำสถิติได้ดีขึ้น แต่ในการแข่งขันระดับนานาชาติ พิมศิริยังไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีได้ โดยเธอไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดๆได้จากการแข่งขัน[[เอเชียนเกมส์ 2014]] และยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก โดยได้เพียงอันดับ 5 จากทั้งสองรายการ