ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาเฉลิมกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘นาฎศิลป์’ ด้วย ‘นาฏศิลป์’
บรรทัด 21:
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ กายสิทธิ์ ตันติเวชกุล ผู้จัดการในช่วง พ.ศ. 2486 - 2515 รวมเวลานานถึง 29 ปี <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ,หน้า 41-45</ref>
 
ปัจจุบัน ยังคงเปิดดำเนินการในชื่อ "'''เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์'''" ด้วยการบริหารของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด โดย [[มานิตย์ รัตนสุวรรณ]] และ นฤนล ล้อมทอง (ผู้จัดการ) ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2535 โดยขยายเวทีพร้อมติดตั้งระบบไฮโดรลิกเลื่อนขึ้นลงได้และปรับที่นั่งเหลือราว 600 ที่ <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ,หน้า 47</ref> ยกระดับให้เป็นโรงมหรสพแห่งชาติ ระยะแรกจัดแสดงนาฎศิลป์นาฏศิลป์ชั้นสูง ''"[[โขน]]"'' ผสมผสานเทคนิคทันสมัย รายการอื่นๆ เช่น ละครเวที เรื่องแรกคือ "[[ศรอนงค์]]" (ซึ่งเคยแสดง ณ ที่แห่งนี้ โดยคณะละครของ[[พระนางเธอลักษมีลาวัณ]] พระมเหสีใน[[รัชกาลที่ 6]]) โดย [[อารีย์ นักดนตรี]] ,"ศาลาเพลง" โดย [[นันทวัน สุวรรณปิยะศิริ]] ,งานของ[[มูลนิธิหนังไทย]]ในพระอุปถัมภ์ของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ]] ,งานรำลึกถึง[[มิตร ชัยบัญชา]] โดย [[ชมรมคนรักมิตร]] ฯลฯ <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า49 </ref> ตลอดจนฉายภาพยนตร์และการแสดงมหรสพสำคัญในบางโอกาส ได้แก่ การฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์โลกเรื่อง [[สุริโยไท]] ซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์ เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2544]] และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่อง [[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี]] ทั้งสองเรื่องเป็นผลงานกำกับของ[[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]]
 
== ที่อยู่ ==