ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียร์ลีดดิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5218092 สร้างโดย 101.109.204.240 (พูดคุย)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เกมส์กีฬา’ ด้วย ‘เกมกีฬา’
บรรทัด 14:
การตะโกนของ Peebler ได้ย้ายมาที่มหาวิทยาลัยแห่งมินเนโซตา ตามเจ้าตัวในปี พ.ศ. 2441 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ Johny Campbell ได้กระโดดออกไปยืนหน้าผู้คนและเริ่มการเชียร์ของเขาเอง ซึ่งมันก็คือที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เองที่เป็นที่เริ่มต้นกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading) ให้เป็นรูปเป็นร่าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเชียร์ลีดเดอร์ก็ทำการเชียร์สนับสนุนทีมกีฬาอื่น ๆ เรื่อยมา
 
จะด้วยเหตุผลเดียวอันนี้หรือว่าอย่างอื่นด้วยไม่ทราบ บางโรงเรียนหรือว่าบางองค์กรขาดสปิริต อย่างเช่นงานชุมนุมบางงาน ครูจากฝ่ายพละชอบทำเสียงต่ำๆ พึมพัมๆ น่าเบื่ออยู่ในลำคอชวนพาท่านให้ผู้ชมง่วงนอน รวมไปถึงทีมกีฬาที่ดูน่าเบื่อตั้งแต่ถูกแนะนำตัวก่อนที่ลงเล่นแล้ว ไม่มีวงดนตรี ไม่มีการเอนเตอร์เทน ไม่มีการเชียร์...ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเกิดขึ้นมาเลย เชียร์ลีดดิ้ง (Cheerleading) สามารถที่จะเพิ่มสปิริตเข้าไปในงานนั้นๆได้อย่างมากมาย การจัดการทีมอาจจะใช้เวลาแค่เพียงนิดเดียวแต่ว่าจะก็ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักและยาวนาน แต่ว่าเพียงแค่การแสดงเพียงครั้งเดียวของเชียร์ลีดเดอร์นั้นก็สามารถที่จะเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในงานชุมนุมและเกมส์เกมกีฬาได้อย่างดี และเป็นความจริงที่ว่าทีมเชียร์มักจะทำอะไรที่แตกต่างขึ้นในโรงเรียน อย่างเช่นว่า ลายพิมพ์เท่ห์ๆ บนเสื้อที่เขียนว่า "ขาดเชียร์ลีดเดอร์ มันก็เป็นแค่เกมส์ธรรมดา" คนส่วนใหญ่ที่มางานกีฬาก็เพื่อที่จะชมเกมส์ บางคนก็จะมาเพื่อเอนเตอร์เทนและสร้างความน่าตื่นเต้นน่าสนใจให้กับงาน เมื่อคุณทราบอย่างนี้แล้ว งานที่ปราศจากการเอนเตอร์เทนเมนท์และไม่รวมเอาคนดูเข้าไปด้วย งานแข่งกีฬาก็มักอาจจะออกมาแบบจืดชืดเสมอ
 
ในญี่ปุ่นมีกลุ่มที่ทำหน้าที่นำกองเชียร์อยู่สองกลุ่ม คือ โอเอ็นดัน หรือ กลุ่มนำเชียร์ กับกลุ่มเชียร์ลีดเดอร์แบบในอเมริกา แรกเริ่มเป็นการรับอิทธิพลเข้ามาพร้อมกับกีฬาจากประเทศทางตะวันตก ในช่วง[[สมัยเมจิ]] (ค.ศ. 1868-1921) และหลังจากนั้นจากช่วงปี ค.ศ. 1890 เริ่มเกิดมีกลุ่มนำเชียร์ แต่งตัวเครื่องแบบนักเรียน นำเชียร์ด้วยการร้องตะโกนเพลง เชียร์ประกอบกับการตีกลอง โบกธงประจำสถาบัน ทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจในการแข่งขันกีฬา