ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เป้น’ ด้วย ‘เป็น’
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘สักการะบูชา’ ด้วย ‘สักการบูชา’
บรรทัด 213:
ประเพณีกำฟ้า
คำว่า "กำ" เป็นคำพวน หมายถึงการสักการะ
คำว่า "ฟ้า" หมายถึงเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน หรือผู้ที่อยู่สูงเทียมฟ้า คือพวกเทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจเห็นได้ คำว่า "กำฟ้า " หมายถึง การนับถือการสักการะสักการบูชาฟ้า ซึ่งจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า 1 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน มีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลยก็ได้ เสียบเข้าไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัดมีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจนถึงกลางคืน การละเล่นที่นิยมได้แก่ ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า นางด้ง ฯลฯ
 
งานบุญกำฟ้าในปัจจุบัน เศรษฐกิจได้สูงขึ้น การทำบุญต่าง ๆ ได้รวบรัดลงไป เหลือเพียงหลักใหญ่ ๆ และต่อมาในปัจจุบันในบางแห่ง ได้กลายเป็นวันทำบุญกุศลและงานรื่นเริงประจำปี จึงได้จัดงานนี้เพื่อนำประโยชน์ที่ได้เข้าไปทำสาธารณกุสล เป็นต้น