ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เป้น’ ด้วย ‘เป็น’
บรรทัด 27:
หลังจากกลับสู่กัมพูชาใน พ.ศ. 2496 พล พตได้เข้าร่วมงานกับเวียดมิญในพื้นที่ชนบทของจังหวัดกำปงจาม เมื่อสงครามสิ้นสุด เขาเข้าสู่พนมเปญพร้อมกับกลุ่มของตู สามุต ซึ่งเขากลายเป็นจุดเชื่อมต่อกับพรรคที่ถูกกฎหมาย เอียง ซารี และฮู ยวนกลับมาเป็นครูในโรงเรียนมัธยมเอกชนที่ฮู ยวนช่วยในการก่อตั้งขึ้น เขียว สัมพันกลับจากปารีสใน พ.ศ. 2502 และไปสอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยพนมเปญ และได้ออกหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายเป็นภาษาฝรั่งเศส ในชื่อ ''L'Observateur'' และถูกสั่งปิดในปีต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจของพระนโรดม สีหนุจับเขียว สัมพันเปลื้องผ้าและถ่ายรูปโชว์ในที่สาธารณะ เขียว สัมพัน ฮู นิม และฮูยวนถูกบังคับให้เข้าร่วม
=== การแตกแยกภายในพรรค ===
เมื่อ พ.ศ. 2498 พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรแบ่งออกเป็นสองขั้วคือฝ่ายในเมืองนำโดยตู สามุต และฝ่ายชนบทนำโดยเซียว เฮง ทั้งสองกลุ่มต้องการปฏิวัติแต่มีเป้าหมายต่างกัน ฝ่ายในเมืองเป็นกลุ่มที่เน้นความร่วมมือกับเวียดนามเหนือและยอมรับว่าพระนโรดม สีหนุเป็นผู้ที่ช่วยให้กัมพูชาได้รับเอกราช จากฝรั่งเศส เป้นเป็นผู้นำที่เป็นกลาง กลุ่มนี้หวังว่าพระนโรดม สีหนุจะแยกตัวออกจากฝ่ายขวา และปรับมาร่วมมือกับฝ่ายซ้ายได้ การที่[[เจ้าสีหนุ]] ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางและไม่ได้รับความไว้วางใจจาก[[สหรัฐอเมริกา]]ในขณะนั้น<ref>สาเหตุที่ทำให้เจ้าสีหนุเลือกที่จะดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง เป็นผลมาจากพระองค์ผิดหวังกับท่าทีของกลุ่มประเทศตะวันตกที่มีต่อกัมพูชา โดยเฉพาะ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่เอาใจใส่แต่ไทยและเวียดนามใต้ โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของกัมพูชา และไม่เห็นด้วยกับเหตุผลที่พระองค์ต้องการเอกราชกลับคืนสู่กัมพูชา ในขณะเดียวกัน [[จีน]]กับ[[สหภาพโซเวียต]] ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ กลับแสดงท่าทีที่เป็นมิตรและให้กำลังใจแก่พระองค์มากกว่า จึงทำให้พระองค์หันมาสนับสนุนนโยบายเป็นกลางและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และคิดว่ากัมพูชาควรถ่วงดุลอำนาจกับอเมริกาโดยเป็นมิตรกับฝ่ายตรงข้ามของอเมริกาแทน ดู เสาวรส ณ บางช้าง. “เขมร : นโรดมสีหนุ วีรชนแห่งเขมร, ” ''วีรชนเอเชีย : Asian Heroes'', สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2545.) หน้า 52 – 53</ref> จะทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้เพื่อ “ปลดปล่อย” [[เวียดนามใต้]] และมีแนวโน้มว่าพระองค์จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายเป็นแบบฝ่ายซ้ายแทน อีกกลุ่มหนึ่งเน้นความสำคัญของชนบท และต้องการกำจัดชนชั้นนายทุนให้หมดไป ฝ่ายชนบท ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังที่ในท้องที่ชนบทต่าง ๆ กลับสนับสนุนในมีการต่อสู้เพื่อล้มล้าง “[[ระบบขุนนาง]]” ของเจ้าสีหนุโดยเร็วที่สุด
 
ใน พ.ศ. 2502 เซียว เฮงยอมมอบตัวต่อรัฐบาลและให้ข้อมูลที่ตั้งพรรคในเขตชนบท ทำให้รัฐบาลทำลายที่ตั้งของพรรคได้ถึง 90% ส่งผลให้ใน [[พ.ศ. 2503]] จำนวนกองกำลังคอมมิวนิสต์ในกรุงพนมเปญและเมืองอื่น ๆ ของกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจของตู สามุตเป็นส่วนใหญ่ เหลือสมาชิกไม่ถึงร้อยคนใน พ.ศ. 2503