ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แปะก๊วย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
}}
[[ไฟล์:Ginkgo biloba MHNT.BOT.2010.13.1.jpg|thumb|''Ginkgo biloba'']]
'''แปะก๊วย''' ({{Zh-all|银杏}} ;{{zh|白果}}, ({{ญี่ปุ่น|イチョウ}}) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศ[[จีน]] (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนคร[[เซี่ยงไฮ้]]) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้าย[[ใบพัด]] แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกาย[[เซน]] เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัย[[คามากุระ]]มีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
 
* แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นใน[[ยุคเพอร์เมียน]] เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาใน[[ธรณีกาล|มหายุค]][[มีโซโซอิก]] จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
 
* สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "'''ลูกไม้สีเงิน'''" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ ([[นกเป็ดน้ำ]]เป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) หรือ "ไป๋กั่ว" ในสำเนียงจีนกลาง ({{zh|白果}}) ซึ่งแปลว่า "ลูกขาว" ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วน[[ภาษาญี่ปุ่น]]จะเรียกว่า '''อิโจว''' มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ '''คินนัน''' ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของ[[เฟิร์น]]ที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบ[[มงกุฎ]]ทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาว[[ฝรั่งเศส]] ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง [[แพนด้า]]แห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ
 
* สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิด[[โรคเบาหวาน]]ขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือ[[โรคความจำเสื่อม]] ที่เรียกว่า [[อัลไซเมอร์]] (Alzheimer disease)