ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต่อมทอนซิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ย้ายไปรวมในบทความ ทอนซิลอักเสบ
บรรทัด 2:
 
== ลักษณะ ==
ต่อมทอนซิล (Tonsil) เป็น[[ต่อมน้ำเหลือง]] 2 ต่อมที่ตั้งอยู่ในช่องปาก มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรค ที่จะเข้าสู่ร่างกายทางช่องทางเดินอาหารว่าเป็นด่านแรก หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกันแต่ไม่ใช่ส่วนที่สำคัญ หน้าที่หลักคือ การทำลายเชื้อโรคในช่องปากมากกว่า เป็นกับดักของเชื้อโรค ต่อมทอนซิลจะทำงานร่วมกับต่อมน้ำเหลืองอีก 2 ต่อมบริเวณคอ คือ ต่อมอดีนอยด์และต่อมน้ำเหลืองที่โคนลิ้น ต่อมอดีนอยด์และต่อมทอนซิลจะหลั่งอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่ลงมาในลำคอ เพื่อคอยต่อสู้กับเชื้อโรคที่มาทางจมูกและลำคอ ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ด้านระบบภูมิคุ้มกันมากที่สุดเมื่ออายุ 4-10 ปี หลังจากนั้นจะมีขนาดเล็กลง แต่ยังทำงานเกือบตลอดชีวิต ถ้าต่อม[[ทอนซิลอักเสบ|ทอนซิลมีการอักเสบ]]บ่อยๆ การอักเสบจะทำให้เม็ดเลือดขาวในต่อมทอนซิลลดลง ต่อมทอนซิลจะฆ่าเชื้อโรคและสร้างภูมิคุ้มกันได้ลดลง และในบางครั้งแทนที่ต่อมทอนซิลจะเป็นที่กินเชื้อโรค แต่กลับกลายเป็นที่เก็บเชื้อโรคแทน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ
 
ต่อมทอนซิล (Tonsil) เป็น[[ต่อมน้ำเหลือง]] 2 ต่อมที่ตั้งอยู่ในช่องปาก มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรค ที่จะเข้าสู่ร่างกายทางช่องทางเดินอาหารว่าเป็นด่านแรก หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกันแต่ไม่ใช่ส่วนที่สำคัญ หน้าที่หลักคือ การทำลายเชื้อโรคในช่องปากมากกว่า เป็นกับดักของเชื้อโรค ต่อมทอนซิลจะทำงานร่วมกับต่อมน้ำเหลืองอีก 2 ต่อมบริเวณคอ คือ ต่อมอดีนอยด์และต่อมน้ำเหลืองที่โคนลิ้น ต่อมอดีนอยด์และต่อมทอนซิลจะหลั่งอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่ลงมาในลำคอ เพื่อคอยต่อสู้กับเชื้อโรคที่มาทางจมูกและลำคอ ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ด้านระบบภูมิคุ้มกันมากที่สุดเมื่ออายุ 4-10 ปี หลังจากนั้นจะมีขนาดเล็กลง แต่ยังทำงานเกือบตลอดชีวิต ถ้าต่อมทอนซิลมีการอักเสบบ่อยๆ การอักเสบจะทำให้เม็ดเลือดขาวในต่อมทอนซิลลดลง ต่อมทอนซิลจะฆ่าเชื้อโรคและสร้างภูมิคุ้มกันได้ลดลง และในบางครั้งแทนที่ต่อมทอนซิลจะเป็นที่กินเชื้อโรค แต่กลับกลายเป็นที่เก็บเชื้อโรคแทน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ
 
 
== โรคที่เกี่ยวกับทอนซิล ==
โรคของต่อมทอนซิลส่วนใหญ่จะเป็นโรคติดเชื้อ[[แบคทีเรีย]]และเชื้อ[[ไวรัส]] ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อ[[วัณโรค]] ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบคทีเรียทั่วไป โรคของต่อมทอนซิลไม่ได้มีแต่โรคติดเชื้ออย่างเดียวบางรายอาจเกิดเป็นโรค[[มะเร็ง]]ได้ด้วย
 
=== โรคต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) ===
[[ไฟล์:Tonsillitis.jpg|thumb|250px|ต่อมทอนซิลที่กำลังอักเสบ]]
อาการของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่วนใหญ่ก็จะไม่รุนแรงมากก็จะเป็นไข้เจ็บคอ แต่ก็มีส่วนน้อยอีกเหมือนกันเช่น โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส หรือไวรัสบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ การอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากว่าต่อมทอนซิลอยู่ในช่องปากพอดี ถ้าเกิดว่ามีการอักเสบและโตมากก็จะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจได้
 
นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนทางภูมิคุ้มกัน เกิดภายหลังจากติดเชื้อแบคทีเรีย ชนิดสเตร็ปโตคอคคัส จะทำให้เกิดโรคหัวใจ(Rheumatic Heart Disease)และโรคไตอักเสบ(Postinfectious Glomerulonephritis)
 
เชื้อเบต้า สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อหัวใจของเด็ก โดยที่เชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่างๆ และมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย เรียกว่า "ไข้รูมาติก" โดยทั่วไปจะพบภายหลังคออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษาภายใน 1 - 4 สัปดาห์ ทั้งนี้เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือปล่อยให้อาการกำเริบซ้ำๆ จะทำให้หัวใจอักเสบเรื้อรัง และในที่สุดหัวใจก็จะตีบและรั่ว หรือที่เรียกว่า "โรคหัวใจรูมาติก" บางรายอาจต้องได้รับการการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองและเวลาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เชื้อกลุ่มนี้ยังทำให้เกิดอาการไตอักเสบได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
 
'''ต่อมทอนซิล บางครั้งเมื่อมีการอักเสบแล้ว จะทำให้ต่อมทอนซิลโตขึ้นมาก''' ทำให้มีปัญหาได้ กรณีที่โตมากๆ จะรบกวนการนอน ทำให้เด็กนอนกรน นอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย บางครั้งรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งการที่ต่อมทอนซิลโตจนรบกวนการนอนหลับนั้น จะมีผลทำให้เด็กโตช้า มีผลต่อการเรียน และในรายที่เป็นมากๆ จะมีปัญหาโรคหัวใจ และโรคปอดตามมา ในรายที่เป็นมากๆ มักจะพบมีต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย นอกจากนี้การที่หายใจทางปากเป็นเวลานานๆ จะทำให้โครงหน้าเปลี่ยนไป กระดูกส่วนกลางของใบหน้าเจริญน้อยลง มีการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีผลไปตลอดชีวิตของเด็ก
 
'''ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน 10 ปี''' เพราะหลัง 10 ปีไปแล้วก็จะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยก่อน 20 ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบนั้นก็จะมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาการที่แตกต่างจากเด็กธรรมดาคือ จะมีการกลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บคอ คนไข้เด็กก็จะมีอาการน้ำลายไหลเนื่องจากกลืนลำบากและน้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมาให้สังเกตเห็น หรือเจ็บคอมากๆ ก็จะมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เจ็บอยู่ อาการของโรคต่อมทอนซิลจะรุนแรงกว่าโรคเจ็บคอหวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิลอักเสบส่วนใหญ่จะไม่พบคนไข้ในวัยกลางคนไปแล้ว ถ้าพบหลังจากนั้นคนไข้มีต่อมทอนซิลอักเสบหรือเจ็บข้างใดข้างหนึ่งให้นึกถึงโรคมะเร็งของต่อมทอนซิลไว้ด้วย
 
=== การรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ===
การรักษาทอนซิลอักเสบโดยทั่วไปจะใช้ยาต้านการอักเสบ anti-inflammatory drugs เช่น ไอบูโปรเฟน ibuprofen เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และคนไข้ส่วนใหญ่ก็จะหายได้หรืออาการดีขึ้นจากการให้ยา หรือหากมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีการรักษาโดยการใช้[[ยาปฏิชีวนะ]] สำหรับยาปฏิชีวนะก็มีหลายชนิดแนะนำว่าควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งและรับประทานให้นานพอ เช่น 7-10 วัน การรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแล้วต้องให้การรักษาแบบประคับประคองรวมด้วย เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ดื่มน้ำมากๆ หรืออาจต้องให้น้ำเกลือถ้าผู้ป่วยทานอาหารไม่ค่อยได้ และให้ทานอาหารอ่อนๆ
 
'''ในกรณีที่ต่อมทอนซิลมีการอักเสบบ่อยครั้ง ผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ตัดทอนซิลออก''' หลายคนสงสัยว่าหากตัดต่อมทอมซิลนี้ออกแล้ว อาจมีผลกระทบต่อระบบการป้องกันโรคของร่างกาย หรือมีผลเสียอย่างอื่น ๆ ตามมาหรือไม่ โดยที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของคนเราไม่ได้มีเฉพาะต่อมทอนซิล แต่มีอวัยวะอื่นด้วยเช่น ตับ ม้าม ไขกระดูก และระบบต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น การผ่าตัดต่อมทอนซิลออกเพียงอย่างเดียว จึงไม่มีผลกระทบต่อระบบการป้องกันโรคแต่อย่างใด มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าหลังจากตัดต่อมทอนซิลแล้ว ภูมิคุ้มกันจะลดลงชั่วคราว
แต่ไม่พบว่าเด็กติดเชื้อบ่อยขึ้นกว่าปกติ
 
นอกจากนี้ที่บริเวณคอยังมีต่อมน้ำเหลืองอีกหลายร้อยต่อม ซึ่งจะช่วยกันทำงานหลังจากตัดต่อมทอนซิลไปแล้ว ดังนั้นถ้าเด็กมีอาการตามข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด การผ่าตัดก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็จำเป็นต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ซึ่งได้แก่ ต่อมทอนซิลที่มีการอักเสบเรื้อรังและบ่อยครั้ง ต่อมที่มีการโตขึ้นมากจนมีผลกระทบต่อการหายใจและการกลืนอาหาร หรือกรณีที่เกิดโรคแทรกซ้อนมีการลุกลามไปยังหูชั้นกลาง ซึ่งถือเป็นเหตุผลอันควรที่จะทำได้ สำหรับการผ่าตัดต่อมทอนซิลในปัจจุบัน สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
 
== อ้างอิง ==