ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าจานซิต้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[Fileไฟล์:Statue of Kyan Sit Thar.JPG|thumb|พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าจานสิตา ภายใน[[อานันทวิหาร]]]]
'''พระเจ้าจานสิตา''' ({{lang-en|Kyanzittha}}, {{lang-my|ကျန်စစ်သား}}; [[พ.ศ. 1627]] - [[พ.ศ. 1656]]) เป็นกษัตริย์พม่าใน[[อาณาจักรพุกาม|ราชวงศ์พุกาม]] ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ|พระเจ้าอโนรธา]] แห่งราชวงศ์พุกามเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุง[[พุทธศาสนา]]จนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อีกทั้งพระองค์ยังได้รับการยอมรับจากทั้งชาวพม่าและชาว[[มอญ]]
 
พระเจ้าจานสิตา มิได้มีเชื้อสายกษัตริย์ แต่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในพระเจ้าอโนรธา เมื่อ[[พระเจ้าซอลู]] พระโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนา อำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมือง[[หงสาวดี|พะโค]] ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อการ[[กบฏ]]ขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลง อยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จานสิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และ[[พระชินอรหันต์]] ที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
 
เมื่อขึ้นครองราชย์ พระเจ้าจานสิถามีพระนามว่า ''ศรีตรีภูวทิตย์ธรรมราชา'' ใน[[ภาษาสันสกฤต]] ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากพระเจ้าจานสิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของ[[พระโพธิสัตว์]] และเป็นองค์อวตารของ[[พระวิษณุ]]ของ[[ปยู|ชาวพยู]]อีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม
 
ในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี [[พ.ศ. 1638]] พระองค์ทรงส่งคณะทูตและช่างฝีมือเดินทางไป[[พุทธคยา]] เพื่อไปซ่อมแซมวัดศรีพัชรัส หรือ วัดวัสชราสนะ ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นสถานที่[[พระพุทธเจ้า]] ทรง[[ตรัสรู้]]ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ พระเจ้าจานสิตาทรงซื้อที่ดินกัลปนาให้แก่วัด ขุดอ่างเก็บน้ำ สร้างเขื่อน เพื่อประโยชน์ในการปลูกข้าว ถวายตะเกียงเทียนจำนวนมาก และทรงกัลปนาข้าทาสให้กับวัดอีกด้วย ซึ่งได้ปรากฏความตอนนี้และปรากฏนามของพระองค์ในจารึกซ่อมแซ่มพุทธคยาด้วย
 
นอกจากนี้แล้วมี[[พระสงฆ์]]นิกาย[[มหายาน]]จากทางตะวันออกเฉียงเหนือของ[[อินเดีย]]หลบหนีอิทธิพลของ
บรรทัด 13:
ด้านความสัมพันธ์กับ[[จีน]] ในปี [[พ.ศ. 1649]] ทรงส่งคณะทูตไปยังเมือง[[ไคเฟิง]] ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีนสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] [[ฮ่องเต้]]ราชวงศ์ซ้องทรงให้การต้อนรับคณะทูตจากอาณาจักรพุกามเทียบเท่ากับทูตของ[[อาณาจักรเจนละ]]
 
ในรัชสมัยนี้จึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้พุกามเป็นที่รู้จักของดินแดนต่าง ๆ
 
พระเจ้าจานสิตาถึงแก่สวรรคตในปี [[พ.ศ. 1656]] ผู้ที่ได้ครองราชย์เป็นลำดับถัดไป คือ [[พระเจ้าอลองสิธู]] ซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดา (หลานตา) ของพระองค์
 
ในกลางปี [[พ.ศ. 2551]] ทางพม่าได้มีการสร้าง[[ภาพยนตร์]]ชีวประวัติของพระองค์ ในชื่อเรื่อง "Kyansit Min" นับเป็นภาพยนตร์ในแบบสากลเรื่องแรกของพม่าอีกด้วย
บรรทัด 23:
 
== อ้างอิง ==
* หนังสือบุเรงนอง กะยอดินนรธา โดย ดร.[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] ISBN 974-323-512-4
* [http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2521.20;wap2 2550 - แบคแพค ตะลุยพม่า!!]